ณเดชน์ คูกิมิยะ
ณเดชน์ คูกิมิยะ (ชื่อเล่น: แบรี่; 17 ธันวาคม 2534 – ) นักแสดงและนายแบบ
คำคม
[แก้ไข]ความรักไม่ใช่แค่คำพูด แต่มันคือการแสดงออก เช่น เราไม่จำเป็นต้องพูดว่าคิดถึงกันก็ได้ แต่เวลาคิดถึงให้โทร.หากัน ถามไถ่กันและกัน นี่ก็เป็นการแสดงความรักกันแบบหนึ่ง[1] | ||
— 'นิตยสาร สุดสัปดาห์' ฉบับที่ 630 วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2552 |
เกี่ยวกับตัวเอง
[แก้ไข]ชีวิตส่วนตัวเมื่อมีชื่อเสียง
[แก้ไข]อันดับแรกคือครอบครัวซึ่งเป็นกำลังใจที่ดี ทั้งคุณพ่อคุณแม่ และคนใกล้ตัวผม ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการ พี่เอ (ศุภชัย ศรีวิจิตร) และผู้ใหญ่หลาย ๆ คนที่ให้โอกาสผม ลูกค้าที่เราขายโฆษณา รวมถึงแฟนคลับ และทุกคนที่ผมได้ร่วมงานด้วย ไม่เว้นแม้กระทั่ง ช่างแต่งหน้า ช่างไฟ ช่างกล้อง พวกเขาเป็นแรงผลัดดันทำให้ผมมายืนอยู่ตรงนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกเหนือจากการที่เราเป็นตัวของตัวเอง มีส่วนช่วยทำให้เราสร้างรากฐานที่มั่นคง
ทุกอย่างเข้ามาเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ชื่อเสียงและเงินทอง ยอมรับว่าช่วงแรกก็ปรับตัวไม่ทันเหมือนกัน ก็พยายามไม่กดดันตัวเอง หรือทำให้เรารู้สึกว่ามีภาระ ช่วงที่เข้าวงการมาได้ปีกว่า ๆ ยอมรับว่าเคยรู้สึกหลงระเริงกับชื่อเสียงเหมือนกัน อย่างตอนเราแต่งตัวดี ๆ ไปงานอีเวนท์แล้วมีเสียงกรี๊ดกร๊าดจากแฟน ๆ มันจะเป็นความรู้สึกแวบเดียว แต่พอเรารู้สึกตัวว่าเรารู้สึกแบบนั้น ผมมั่นใจว่าตัวเองสามารถตัดออกได้ไม่ยาก
การดำเนินชีวิตมันอยู่ที่เราจัดสรรเวลา หากเราจัดสรรเวลาได้ลงตัว ทุกอย่างก็ไม่ยากจนเกินไป | ||
— 'หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก' คอลัมน์ บันเทิงวันเสาร์ |
บทบาทและหน้าที่
[แก้ไข]ความรู้สึกผม ถ้าเราคิดยังไงเราก็ทำอย่างนั้น ที่สำคัญต้อง
คิดดี คิดใส คิดให้ถูก | ||
— 'หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก' ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2554 |
ถ้าเราคิดดี ทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตก็จะดี ผมว่าการวางตัวที่ดี คือการเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่สิ่งที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ คือสิ่งที่ทุกคนสามารถสัมผัสตัวตนของผมได้ เพราะผมไม่ใช่ซูเปอร์สตาร์ ผมเป็นแค่นักแสดงคนหนึ่ง
ปัญหาและอุปสรรคการทำงาน
[แก้ไข]ปล่อยวาง อย่าไปคิดมาก แต่ถ้าคิดแล้วต้องหาทางออก เคยได้ยินเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มั้ย ผมแก้ปัญหาด้วยวิธีแบบนั้น เพราะคุณแม่ชอบเข้าวัดฟังธรรม ตอนเด็ก ๆ จะพาผมไปสวดมนต์ เดินจงกรม บางครั้งผมก็แอบหลับ แอบไปวิ่งเล่น ทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่วันหนึ่งที่ชีวิตมีปัญหา คำสอนเหล่านี้จะดังเข้ามาในหัวเอง รวมทั้งคำสอนของพ่อกับแม่ด้วย เพราะผมมีอะไรจะปรึกษาแม่ตลอด แม่ผมทำธุรกิจต้องดูแลคนเยอะ แม่จะรู้ว่าโลกภายนอกนอกเป็นยังไง และคอยสอนผมเสมอ
มารไม่มี บารมีไม่เกิด | ||
— 'หนังสือพิมพ์ ข่าวสด' ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 |
บุพการี
[แก้ไข]คืออย่างที่บอกว่าเป็นการให้เกียรติ เพราะว่าตั้งแต่ผมเกิดมา ผมก็อยู่กับคุณแม่และก็ปะป๊ามาตลอด ทุกคนรักผมและนี่ก็คือความรักที่ผมมอบให้ทุกคน คือการทำงานและก็การที่ผมบอกว่าผมเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น และถ้าผมออกมาพูดตั้งแต่แรกว่าผมไม่ใช่แบบนี้จริง ๆ ก็คงไม่มีใครมาสนใจหรอก[2]