เกษม ดวงแพงมาต

จาก วิกิคำคม
(เปลี่ยนทางจาก พระเกษม อาจิณฺณสีโล)
w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ

เกษม ดวงแพงมาต[1] เป็นอดีตพระภิกษุสงฆ์ของไทยผู้เป็นที่รู้จักจากคดีหมิ่นศาสนาและคลิปแสดงการกระทำไม่เหมาะสมต่อพระพุทธรูป ต่อมาพระเกษมยอมรับว่าได้เสพเมถุนทางเวจมรรคกับลูกศิษย์ชายคนหนึ่ง[2]

คำคม [3][แก้ไข]
“ ผมจะนับถือพระพุทธศาสนา ตามที่มีปรากฏเป็นหลักฐานให้ศึกษาค้นคว้าได้ในพระไตรปิฎกของนิกายเถรวาท ซึ่งที่วัดสามแยกนี้มีอยู่ถึง 3 ฉบับ 3 สำนักพิมพ์คือ 1. ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย 2. ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 3. ฉบับ ส.ธรรมภักดี(ปุ้ย แสงฉาย) เพื่อจะแสดงให้ชาวพุทธเห็นว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไรกันแน่ ”
พระเกษม อาจิณฺณสีโล

คำสอน กรณีเหยียดหยามศาสนา มาตรา 206 [4][แก้ไข]

“ ในสมัยที่ข้าพเจ้าศึกษาคำขอบวชเพื่อเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปี พุทธศักราช 2529 ข้าพเจ้าก็ได้ฝึกกราบและเปล่งคำขอบวชด้วยเสียงอันดัง พร้อมกับได้อ่านดูคำขอบวชที่แปลเป็นภาษาไทยด้วยและเห็นว่าในความหมายของคำขอบวชนั้น ไม่มีบอกให้กราบพระพุทธรูปเลย แต่มีบอกให้กราบระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานไปนานแล้ว ดังมีคำบาลีว่า “ สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภควันตัง สรณัง คัจฉามิ ” ซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม ว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า” โดยไม่มีบอกให้ไปกราบขอให้พระพุทธรูปเป็นที่พึ่งสักแห่งเลย ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้พิจารณาถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่ข้าพเจ้าเข้าไปศึกษาคำประกาศในการขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้เพียง 3 วันเท่านั้นเอง ครั้นต่อมา เมื่อข้าพเจ้าได้บวชเข้ามาเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้ถามพระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าคือ พระครูพิมลปรีชาญาณ ( พิมพ์ พหุชาคโร ) เกี่ยวกับเรื่องการกราบไหว้พระพุทธรูปทองเหลือง – ทองแดงนี้ มีความถูก –ผิดประการใด? อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าก็ตอบว่า “กูพามึงทำอะไร มึงก็ทำไปตาม ๆ กูก็แล้วกัน เขากราบพระพุทธรูปกันมาตั้งเป็นพันปีแล้ว มึงจะมาถามกูทำไม รีบ ๆ ศึกษาเล่าเรียนเข้า” เมื่อเป็นเช่นนี้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ถามไถ่ท่านมาก แต่ก็คิดว่าคำประกาศในการขอบวชกับการกระทำ และความคิดมันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นว่าไม่ไปในแนวทางเดียวกันเลยคือ ให้กราบพระพุทธรูป แต่ให้กล่าวคำประกาศถึงพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานนานแล้วเป็นที่พึ่ง (ในพุทธบัญญัติให้กราบพระสงฆ์ผู้เป็นเถระและให้ระลึกถึง พุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นที่พึ่ง) เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าไม่ไปในแนวทางเดียวกันเช่นนี้ ก็ตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานนานแล้วเป็นที่พึ่ง ส่วนพระพุทธรูปนั้น ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใด และภายในใจก็ปฏิเสธพระพุทธรูปอยู่ตลอดมา ต่อมา ก็มีผู้คนมากมายหลายชนชั้นถามข้าพเจ้า ถึงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูป ทองเหลือง – ทองแดงทั้งหลาย แม้ในขณะที่ข้าพเจ้าบวชได้ไม่นานก็มีผู้ถามเรื่องนี้ เพราะมีพระภิกษุรูปหนึ่งเอาเหรียญพระพุทธรูปมาให้ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็ปฏิเสธและตำหนิเหรียญ อีกทั้งตำหนิผู้ที่ทำเหรียญพระพุทธรูปขึ้นมานั้นด้วย ทั้งชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรต่างก็แปลกใจที่เห็นข้าพเจ้าทั้งไม่สนใจเหรียญ ทั้งปฏิเสธเหรียญพร้อมกับตำหนิเหรียญอีกด้วย แม้แต่พระธาตุที่มีเพื่อนภิกษุเอามาให้ ข้าพเจ้าก็บอกไปว่า “ถ้าหากข้าพเจ้าไม่สามารถทำกระดูกของตนเองให้เป็นพระธาตุได้ ข้าพเจ้าก็จะไม่เอาพระธาตุของท่านผู้ใดมาเก็บไว้ให้หนักหรอก” เพื่อนภิกษุที่เอาพระธาตุมาให้นั้น ท่านก็ถามข้าพเจ้าว่า “ไม่เคารพพระธาตุเหรอ?” ข้าพเจ้าก็ตอบว่า “ข้าพเจ้าเคารพพระธาตุ แต่จะให้พระธาตุมาช่วยเรา มันเป็นไปไม่ได้หรอก” และบางครั้ง มีชาวบ้านห้วยยางทองที่ข้าพเจ้าไปเกี่ยวข้อง และอาศัยพวกเขาอยู่ไม่เคยเห็นพระธาตุ ก็อยากรู้จักพระธาตุว่าเป็นอย่างไร ? ข้าพเจ้าก็ไปขอเอาพระธาตุจากผู้ที่มีพระธาตุเพื่อนำมาให้ชาวบ้านที่ไม่เคยเห็นพระธาตุดู และก็เคยให้พระธาตุแก่ชาวบ้านห้วยยางทองเพื่อนำไปไว้กราบไหว้เป็นการส่วนตัวก็มี แต่มาระยะหลังนี้พวกชาวบ้านก็นำพระธาตุมาไว้ที่วัดสามแยกกันหมด เพราะพวกเขาได้เรียนรู้ว่าพระธาตุนั้นเป็นสมบัติของส่วนกลางสำหรับโลกธาตุทั้งหลายทั้งชาวทิพย์และชาวมนุษย์ โดยเฉพาะชาวพุทธทั้งหลายจะถือว่าพระธาตุเป็นสิ่งมงคลประจำพระพุทธศาสนา และในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็สอนว่า “พระธาตุของท่านผู้ประเสริฐทั้งหลายต้องเป็นสมบัติของส่วนกลางเท่านั้น” ส่วนเรื่องพระพุทธรูปนั้น ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าที่ปฏิเสธพระพุทธรูปนี้ ก็ไม่ทราบว่าเป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่? แต่มาในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อข้าพเจ้าเห็นผู้คนเขานับถือกราบไหว้บูชา พระพุทธรูป แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นผู้คนเขาค้าขายพระพุทธรูป ซึ่งมีทั้งแบบรูป, เหรียญ, รูปถ่าย, รูปหล่อ, รูปปั้น, รูปแกะสลัก ก็เป็นเรื่องที่ขัดเคืองในความรู้สึกของข้าพเจ้ามาก เมื่อข้าพเจ้าบวชได้พรรษาที่ 2 จึงได้ค้นดูในพระไตรปิฎก ก็ได้พบเรื่อง “บุคคลผู้เอก” ซึ่งมีพระบาลีกล่าวไว้ว่าดังนี้ “ เอกปุคฺคโล ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม อปฺปฏิภาโค อปฺปฏิปุคฺคโล อสโม อสมสโม ทิปทาน อคฺโค กตโม เอกปุคฺคโล ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทโธ อย โข ภิกฺขเว เอกปุคฺคโล โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม อปฺปฏิภาโค อปฺปฏิปุคฺคโล อสโม อสมสโม ทิปทาน อคฺโคติฯ . ” แปลว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สองของใคร ไม่มีใครเหมือน ไม่มีรูปปั้น, รูปหล่อที่เปรียบเหมือน ไม่มีรูปร่างใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครและอะไรเสมอได้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งปวง ( ทั้งคน, เทพ, พรหม ) ผู้เอกนี้เป็นไฉน คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นไม่เป็นที่สองของใคร ไม่มีใครเหมือน ไม่มีรูปปั้น, รูปหล่อที่เปรียบเหมือน ไม่มีรูปร่างใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครและอะไรเสมอได้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งปวง ” เมื่ออ่านพระสูตรนั้นแล้วก็เข้าใจว่า รูปร่างที่มีจิตใจครอบครองเติบโตขึ้นมาด้วยอาหารและการทะนุถนอมเลี้ยงดูทั้งปวง ก็ยังวิเศษสูงสุดเหมือนพระพุทธเจ้าไม่ได้ ส่วนรูปเหรียญ, รูปถ่าย, รูปหล่อ, รูปปั้น, รูปแกะสลักนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเลย เพราะมันไม่มีจิตใจและไม่มีความคิดในตัวของมันเอง และมันก็ไม่สามารถจะช่วยใครได้เลย ความรู้สึกของข้าพเจ้าในตอนนั้นมีทั้งหงุดหงิด อึดอัด เอือมระอาและรังเกียจสิ่งเหล่านี้มาก แต่เมื่อคิดจะหาวิธีแก้ไข ข้าพเจ้าก็มองไม่เห็นวิถีทางที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้คนทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ได้ จึงได้หาบทสรุปให้ตัวเองในขณะนั้นก่อนว่า “ถึงแม้เราจะไม่นับถือ ไม่เคารพในพระพุทธรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่นับเข้าในพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าในนิกายเถรวาทนี้ก็ตามเถิด แต่เราก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย เมื่อครูบาอาจารย์พากราบพระพุทธรูปก็จะกราบตาม ๆ ท่านไป แต่ความรู้สึกนึกคิดของเรา ก็จะระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งก็คือความรู้อันประเสริฐสุดของพระองค์โน้น” ต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช 2531 ข้าพเจ้ากลับมาจากการอยู่จำพรรษาที่จังหวัดมุกดาหาร กลับมาอยู่ที่บ้านหนองโอน ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของข้าพเจ้า ก็หมายใจว่าจะปั้นพระพุทธรูปขึ้นมา จากนั้นก็จะพาผู้คนกราบไหว้แล้วก็จะถามผู้คนเหล่านั้นว่า “ อาตมาเป็นผู้ปั้นพระพุทธรูปนี้ขึ้นมา เมื่อเรากราบไหว้ขอพึ่งพระพุทธรูปนี้อยู่ พระพุทธรูปนี้จะช่วยเราได้ไหม ? ” ถ้าผู้คนตอบว่า “ พระพุทธรูปช่วยได้ซิ ” ข้าพเจ้าก็จะบอกว่า “ ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงดู พระพุทธรูปนี้จะสามารถช่วยตัวเองได้ไหม จะป้องกันตัวเองได้ไหม เพราะอาตมาจะเอาค้อนมาทุบมันให้แหลก ” ข้าพเจ้าจึงเริ่มปั้นพระพุทธรูปขึ้น เมื่อแห้งดีแล้วก็นำเข้าไปเผาในเตาเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง และทนทาน เมื่อเผาได้ที่ดีแล้วก็ปล่อยไว้ให้เย็น แต่พระพุทธรูปปั้นนั้น เมื่อเย็นลงแล้ว ก็แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ข้าพเจ้าก็คิดว่า เทวดาและชาวทิพย์ทั้งหลายคงขัดขวางไม่ให้ข้าพเจ้ากระทำการสั่งสอนผู้คนในลักษณะนี้ในเวลาเช่นนั้น และในที่สุดก็ได้ล้มเลิกความคิดนี้ไป นอกจากนี้ เมื่อข้าพเจ้าบวชเข้ามาเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็ชอบอ่านบทสวดมนต์ต่าง ๆ แบบแปลเป็นภาษาไทย มากกว่าที่จะสวดมนต์เป็นภาษาบาลีแต่เพียงอย่างเดียว ข้าพเจ้าก็สวดมนต์เป็นภาษาบาลีได้หลายบท แต่เมื่อข้าพเจ้าแปลบทสวดมนต์ที่ชื่อว่า “ อนัตตลักขณสูตร ” ตรงข้อความที่ว่า “ ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺน อชฺชตฺต วา พหิทฺธาวา โอฬาริก วา สุขุม วา หีน วา ปณีต วา ยนฺทูเร สนฺติเกวา สพฺพ รูปํ เนต มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ เอวเมต ยถาภูต สมฺมปฺปญฺญาย ทฎฺฐพฺพ ” แปลว่า “ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ตาม อนาคตก็ตาม ปัจจุบันก็ตาม ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อันใด มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหลายก็สักแต่ว่ารูป นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ” พระพุทธเจ้าท่านเน้นให้เห็นความเป็นจริงตามที่ท่านสอนนี้เท่านั้นจึงจะชื่อว่าเห็นชอบ ถ้าเห็นเป็นอย่างอื่นนอกจากนี้ก็เป็นเห็นผิด เมื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ทำไมชาวพุทธทั้งหลายในโลกนี้จึงประพฤติปฏิบัติขัดกับคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มีปรากฏเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนในพระไตรปิฎก ซึ่งถือเป็นพินัยกรรมสำหรับชาวพุทธที่สำคัญมาก ๆ หรือว่าผู้ที่ไม่มีความขัดเคือง แม้จะปฏิบัติผิดไปจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ให้เขาถือของเขาไปเช่นนั้น ส่วนเราเกิดความขัดเคืองในข้อปฏิบัติที่ผิดไปจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ถือของเราไปอย่างนี้ เมื่อเราคิดว่ารูปทั้งหลายมันจะต้องเสื่อมโทรมไม่ช้าก็เร็ว เพราะฉะนั้น เราต้องเรียนรู้มันเท่านั้น ไม่ว่ารูปใครหรือรูปอะไรก็ตาม มหาภูตรูปทั้งสี่คือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ ทั้งที่มีอยู่ในจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นๆ ในสถานที่อันไกลโพ้นโน้นก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นต้องไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่ได้เป็นนั่นเป็นนี่กับสรรพสิ่งใด ๆ เลย แม้แต่ร่างกายของเราและสิ่งที่แข็งแกร่งคือกระดูกในร่างกายที่น่าจะเป็นของเรา มันก็ไม่ยอมเป็นของเรา แม้เราจะยึดมั่นว่ามันเป็นของเรา แต่มันก็ไม่เคยเชื่อฟังความต้องการของเราหรอก ฉะนั้น เราจะต้องเรียนรู้ต่อไป เมื่อคิดได้ดังนี้ ข้าพเจ้าก็ค้นคว้าตามตำราพระไตรปิฎกมากขึ้นเรื่อย ๆ และก็แปลเป็นไทยพร้อมกับตีความหมายไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับเรื่องรูปร่างทั้งหลายทั้งปวง จะอ่านดูพระสูตรไหน ๆ ก็ไม่ได้ตีความหมายยากเย็นอะไรเลย เมื่ออ่านดูแล้วก็สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยว่า รูปทั้งหลายไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียดก็ตาม แม้แต่จิตที่เป็นดวงนามธรรมเมื่อกล่าวให้ถึงที่สุดจริง ๆ ก็คือรูปอันละเอียดอันหนึ่งเท่านั้นเอง เมื่อข้าพเจ้าศึกษาพระไตรปิฎกมากยิ่งขึ้น ก็มีเพื่อนภิกษุบอกว่าจะบ้าตำราไปแล้วหรืออย่างไร ? แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ให้ความสนใจเพราะนิสัยของข้าพเจ้านั้น ถ้าได้ค้นคว้าหาสิ่งใดในตำรา เมื่อยังไม่เข้าใจก็จะไม่ยอมเลิกราง่าย ๆ จะไม่ฟังคำทัดทานของผู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นอาจารย์หรือเพื่อนภิกษุก็ตาม ข้าพเจ้าจะค้นคว้าตำราศึกษาหาอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะสามารถเข้าใจได้ เมื่อพอจะเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจากตำราคือพระไตรปิฎกแล้ว ข้าพเจ้าก็จะมาศึกษาค้นคว้าดูที่กายและจิตของตนเองเพื่อจะได้รู้ว่า เราสามารถจะเอาอะไรไปด้วยได้บ้าง เพราะตามความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถจะเอาอะไรไปด้วยได้แม้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี ถึงแม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เรากำมันไว้ในมือก็ตาม แต่มันก็ไม่ยอมรับว่ามันเป็นของเราและมันก็ไม่รู้จักตัวมันเองด้วย ถึงแม้ว่าคนหรือสัตว์นั้น ๆ จะคิดยอมรับว่าเป็นของเราด้วยก็ตามเช่น พ่อ, แม่, พี่, น้อง, และเขาเหล่านี้ก็ยอมรับว่าเป็นพ่อเรา, แม่เรา, พี่เรา, น้องเรา โดยที่เขายอมรับและพอใจอยู่ว่าได้เป็นสมบัติ ได้เป็นสิ่งที่หวงแหนของกันและกันกับเรา แต่รูปร่างทั้งหลายนั้น มันก็ไม่ยอมรับรู้เรื่องนี้กับผู้ใดหรอก มีแต่ความคิดนี่แหละที่ไปสำคัญผิดคิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา โดยที่แท้แม้แต่ตัวของจิตเองมันก็ไม่อยู่เป็นอะไร กับใครหรือกับดวงจิตใด ๆ ไปนานนักหรอกทั้ง ๆ ที่ยังไม่ล้มหายตายจากกัน มันก็แปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปก็มี แต่ถ้าหากมีความรักและความห่วงหาอาลัยกันมาก ๆ ก็จะผูกพันเกี่ยวข้องกันหลาย ๆ ชาติหน่อย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง พลัดพรากจากกันไปในวันหนึ่งแน่นอน ฉะนั้น นามธรรมหรือรูปธรรมก็ตาม ล้วนแล้วแต่ไม่มีอะไรจะยืนยงมั่นคงอยู่ได้ เมื่อข้าพเจ้าคิดเช่นนี้ มีความเห็นเช่นนี้ ก็ได้เข้าใจความจริงของธรรมชาติมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ยิ่งปฏิเสธรูปร่างทั้งหลายมากขึ้น และก็มีความต้องการจะบอกให้ผู้อื่นรับรู้ความเป็นจริงเช่นนี้มากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาคำนวณดูสติปัญญาของผู้ที่ข้าพเจ้าต้องการจะบอกความจริงนี้ ก็ทราบว่ายังไม่สามารถจะบอกพวกเขาให้เข้าใจได้ จึงได้ยุติเรื่องที่จะบอกคนอื่น ๆ ให้ทราบความจริงเช่นนี้ไว้ก่อน จากนั้น ข้าพเจ้าก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาค้นคว้าศึกษาหาความรู้จริงในธรรมชาติต่อไป ทั้งศึกษาจากต าราคือพระไตรปิฎกและพิจารณาคิดค้นที่ร่างกายและจิตใจของตนเองอย่างหนัก หมายใจไว้ว่าถ้าหากสามารถเข้าใจรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องรู้ทุกสิ่งอย่างในโลกธาตุดินแดนทั้งหลาย คือให้รู้แค่เพียงว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ก าหนดรู้สิ่งใดก็จะกำหนดรู้สิ่งนั้นจนเป็นที่เพียงพอ เมื่อกำหนดรู้แล้วก็กำหนดละในสิ่งที่ต้องละ สิ่งใดควรทำให้แจ่มแจ้งก็จะทำให้แจ่มแจ้ง สิ่งใดควรเจริญให้มากก็จะเจริญให้มาก เพราะว่าเมื่อเราได้ความเจริญในธรรมจนเป็นที่พอใจแล้ว เราก็อาจจะสามารถบอกกล่าวแก่ผู้อื่น ๆ ให้เกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้องในเรื่องของพระพุทธศาสนาตามที่เป็นจริงได้บ้าง จึงได้เร่งรัดบำเพ็ญเพียรภาวนาตรวจสอบทุกอย่างที่พอจะตรวจสอบให้เข้าใจได้ เมื่อถึงปีพุทธศักราช 2533 ทุกอย่างก็ชัดเจนภายในจิตมากขึ้น เมื่อค้นดูในตำราประกอบการปฏิบัติของตนเองที่ผ่านมา ก็ทราบว่าไม่ผิดทางแน่นอน เมื่อครูบาอาจารย์ที่ข้าพเจ้าได้อาศัยท่านอยู่ ท่านพาไปกราบเยี่ยมพระเถระผู้ใหญ่อันเป็นที่เคารพนับถือ ก็มีถามปัญหาการปฏิบัติธรรมกับท่านบ้าง บางครั้งก็ได้รับคำตอบซึ่งเป็นที่พอใจของข้าพเจ้ามากเช่นเมื่อไปถามว่า “ ความเพียรภาวนาของข้าพเจ้าก็พอเป็นไปได้ ความรู้ในธรรมชาติก็เกิดขึ้นให้เข้าใจตาม ๆ กันไปอย่างนี้ จะถือว่าถูกหรือผิด ? ” ท่านตอบว่า “ ความเพียรก็ถูก ความรู้และความเข้าใจนั้นก็ถูก แต่ผิดตรงที่ยังมีคำถามอยู่ เพราะถ้ามีความรู้และความเข้าใจที่เพียงพอแก่ตนแล้วนั้น จะไม่ไปถามผู้ใดในเรื่องความรู้และความเพียรของตนอีก เพราะฉะนั้นจงปฏิบัติต่อไป จนกว่าจะไม่มีคำถามโน่นแหละ ” กล่าวสำหรับตัวข้าพเจ้าเองนั้น สามารถที่จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ในระดับที่ค่อนข้างจะง่าย แต่ก็มายากตรงที่จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันกับครูบาอาจารย์ และหมู่เพื่อนภิกษุสามเณร จึงต้องตัดสินด้วยการยึดถือเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก จึงสามารถทำความเข้าใจให้ตรงกันได้ และภายในฤดูเข้าพรรษาปีพุทธศักราช 2533 นั้น ข้าพเจ้าก็เร่งบำเพ็ญเพียรภาวนา ละสิ่งที่เป็นความเห็นผิด ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นความถูกต้องให้เจริญยิ่งขึ้น จนเป็นที่พอใจของตนเอง จากนั้นก็ได้กราบลาครูบาอาจารย์และลาหมู่คณะทั้งรุ่นใหญ่รุ่นเล็ก ออกมาอยู่อาศัยที่บริเวณหมู่บ้านห้วยยางทอง ตำบลวังกวาง กิ่งอำเภอน้ำหนาว (ในขณะนั้น) จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมาถึงในคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2533 และเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านตอนเช้าของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่อาศัยที่นี่ ก็มีชาวบ้านที่ให้ความสนใจอยากจะรู้ว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ? ข้าพเจ้าก็เริ่มสั่งสอนพวกเขาให้เข้าใจเรื่องประเพณีต่าง ๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อจิตใจเพราะเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตำหนิเอาไว้แล้ว และแปลคำสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยให้ชาวบ้านที่สนใจได้เกิดความเข้าใจ นอกจากนี้ ก็ได้สอนเรื่องความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเครื่องรางของขลังและนำพาชาวบ้านที่ให้ความสนใจนั้นศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกด้วย ก็มีผู้ให้ความสนใจมาศึกษาพระพุทธศาสนากับข้าพเจ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทุกคนได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมากขึ้นๆ ก็เข้าใจได้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ล้วนแล้วแต่ดำเนินไปในทิศทางที่ปฏิเสธรูปธรรมทั้งนั้น ในส่วนของนามธรรมพระพุทธเจ้าก็สอนให้ศึกษาและเรียนรู้ไปตามความเป็นจริงของมัน เมื่อพวกเขาพิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกที่ได้สั่งสอนเอาไว้เช่นนี้ก็มาถามข้าพเจ้าว่า “ เมื่อพระพุทธเจ้าคัดค้านและตำหนิเรื่องของรูปธรรมเอาไว้ถึงขนาดนี้พวกเราจะทำอย่างไรกันดี ” ข้าพเจ้ารอโอกาสนี้มานานหลายปีแล้วก็ตอบออกไปว่า “ ถ้าเป็นอาตมานะ สิ่งของเหล่านี้คือพระพุทธรูป และเครื่องรางของขลังทั้งหลาย ที่มีอยู่ตามบ้านเรือน ก็จะขนมันออกมาทุบทำลายทิ้งให้หมด ” เมื่อพวกเขาได้ยินข้าพเจ้าตอบเช่นนี้ ประกอบกับได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องมาพอสมควร พวกเขาก็พากันขนพระพุทธรูป และเครื่องรางของขลังที่มีอยู่เป็นของส่วนตัว เอาออกมาทิ้งและทำลายมีทั้งทุบ, เผา, ฝัง ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นมีแผ่นดินสูบเอาผู้ใดไปนรกอเวจี และก็ไม่เห็นมีผู้ใดได้รับภัยพิบัติจากการกระทำเช่นนี้ตามคำกล่าวของพระสงฆ์รุ่นใหม่ๆ ที่กล่าวว่า “ ผู้ใดทำลายพระพุทธรูปจะมีบาปเท่ากับทำร้ายพระพุทธเจ้า และเป็นการทำกรรมที่หนักมาก จัดอยู่ในระดับอนันตริยกรรมกันเลยทีเดียว” ถ้าหากว่าเป็นบาปหนักจริงๆ ดังที่พระสงฆ์รุ่นใหม่กล่าวมานี้ ทั้งข้าพเจ้าและบรรดาชาวบ้านทั้งหลายที่ได้ทุบทำลายพระพุทธรูป ก็ต้องดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน ต้องถูกแผ่นดินสูบไปตกนรกอเวจีเหมือนกับพระเทวทัต, นางจิญจมาณวิกา, พระเจ้าสุปปพุทธะ, หรือนันทยักษ์ เป็นต้น บางครั้ง ก็มีคนจากถิ่นอื่นๆ ที่ทราบข่าวเรื่องการทิ้ง, ท าลายพระพุทธรูปและเครื่องรางของขลังแล้วเกิดอยากได้ไปครอบครองเป็นของส่วนตน ก็เดินทางมาขอขุดเอาในส่วนที่ได้ฝังไว้ในแผ่นดินแต่พวกข้าพเจ้าก็ไม่สามารถจะบอกสถานที่ที่ฝังไว้ได้ เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่า “ ไม่ควรให้สิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่เป็นอัปมงคลแก่ผู้ใด ” ก็ได้แต่บอกพวกเขาให้รู้ไปตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้เป็นสิ่งที่ประเสริฐตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย ถึงแม้ว่ามันจะมีความเข้มขลังหรือความคงกระพันอยู่บ้างก็ตาม และแม้มันจะเป็นที่ต้องการของคนส่วนมากหรือมีราคาแพงสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่ผู้เป็นสาวกที่ดีของพระพุทธเจ้า ก็จะต้องไม่มีมันเอาไว้ในครอบครองเพื่อให้เกิดบาป และจะทำให้ตกนรกหมกไหม้กันต่อไป เว้นแต่ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่มากไปด้วยความเชื่อ แต่อ่อนด้อยเรื่องการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดสติปัญญาอันถูกต้อง เมื่อไม่มีสติปัญญาอันถูกต้องจึงยึดติดในวัตถุหรือวัสดุทั้งหลายที่ท ากันขึ้นมาเอง แล้วก็สมมติกันว่าเป็นรูปร่างของพระพุทธเจ้าหรือรูปร่างของครูบาอาจารย์, พ่อ, แม่และรูปร่างอื่นๆ ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เลย แต่ว่าก็ยังพากันทำ พากันสร้างขึ้นมาเอง ปลุกเสกเอง ยึดติดเอง แล้วก็ลุ่มหลงเอง หรือบางคนทำขึ้นมาแล้วก็ไปหาพรรคพวกมาช่วยปลุกเสก เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้วก็เอาไปวางขาย เพื่อให้คนไปซื้อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวหรือเป็นที่พึ่งของจิตใจ “ เรียกว่าทำที่พึ่งของจิตใจมาวางจำหน่ายให้กัน ” แต่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อวัตถุสำหรับเป็นที่พึ่งของจิตใจเหล่านี้ ต่างก็มีความร้อนรุ่มกลุ้มใจในการแสวงหาทรัพย์สมบัติภายนอกอันมีสาเหตุมาจากการซื้อขายวัตถุเหล่านี้แหละ มิหนำซ้ำ การกระทำเช่นนี้ยังเป็นการกระทำที่ผิดพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอีกด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้นำพาชาวบ้านให้ศึกษาพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องจากพระไตรปิฎกเช่นนี้ แต่ละคนเมื่อได้ศึกษาแล้ว ก็สามารถเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ โดยไม่ต้องตีความหมายให้ยากเลย และเมื่อเข้าใจแล้วก็จะกล่าวไปในแนวทางเดียวกันว่า “ พระพุทธรูปและเครื่องรางของขลังเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายต่อชีวิตและจิตใจของพวกเราเลย ”ข้าพเจ้าก็สอนชาวบ้านและผู้คนจากถิ่นอื่น ๆ ทั้งใกล้และไกลที่ทราบข่าว และสนใจใคร่รู้ความจริงในลักษณะนี้เรื่อยมา จนอยู่มาวันหนึ่ง ก็มีผู้หวังดีต่อพระพุทธรูปทองเหลือง ที่ตั้งอยู่บนศาลาของวัดสามแยกพร้อมกับติดป้ายที่หน้าฐานพระพุทธรูปว่า “ ทองเหลืองหล่อนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน ” และได้อ้างอิงคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกประกอบไว้ด้านล่างของป้ายอย่างพร้อมสรรพ ผู้หวังดีต่อพระพุทธรูปทองเหลืองท่านนั้นก็ถ่ายภาพ แล้วนำไปลงข่าวในหนังสือพิมพ์ให้เป็นเรื่องครึกโครมใหญ่โตเกิดเป็นเรื่องราววัดพิลึกบ้าง, พระสุดโต่งบ้าง, พระฉาวโฉ่บ้าง ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย เมื่อเหตุการณ์เป็นไปเช่นนี้ ข้าพเจ้าและคณะจึงปรึกษากันว่า ชาวพุทธเรานี้สอนให้รู้ความจริงด้วยป้ายที่เขียนเป็นตัวหนังสืออย่างเดียวคงจะไม่สามารถทำให้เข้าใจได้ จึงตกลงกันว่าต้องสอนชาวพุทธเราอีกครั้งด้วยการแสดงกิริยาทางกายประกอบคำพูดให้เห็นกันชัด ๆ เมื่อมีผู้สื่อข่าวจากช่อง 7 สี เดินทางมาทำข่าวเรื่องนี้ที่วัดสามแยก เพื่อนำไปออกข่าวทางโทรทัศน์ ข้าพเจ้าจึงได้ทำการเหยียบฐานและยื่นมือไปตบตีพระพุทธรูปทองเหลืองหล่อ เพื่อให้คนทั้งหลายได้รู้ว่ามันเป็นรูปร่างที่หล่อมาจากทองเหลือง โดยฝีมือของมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้เอง และมันก็ไม่ใช่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมศาสดาที่มีคำสั่งสอนอันประเสริฐ ซึ่งพวกเราชาวพุทธทั้งปวงเคารพนอบน้อมกราบไหว้บูชาอยู่อย่างสม่ำเสมอนั้นแน่นอน เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปทางโทรทัศน์ ชาวพุทธเราทั้งที่เป็นสมณะและฆราวาสต่างก็ตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม ๆ กัน และต่อมาก็มีการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับข้าพเจ้า ในข้อหาเหยียดหยามพระพุทธศาสนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 206 ในบรรดาชาวพุทธทั้งหลายที่มีความเห็นว่าทองเหลืองที่หล่อขึ้นมาเป็นรูปร่างนี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและเป็นวัตถุที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา ก็จะต้องเป็นพวกชาวพุทธที่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนาน้อยนิดกันทั้งนั้น หรือถ้าหากเป็นพวกชาวพุทธที่ศึกษาพระพุทธศาสนามามากสามารถรู้และรับทราบในคำสอนของพระพุทธเจ้าตามที่เป็นจริง ก็จะต้องเป็นพวกที่ดื้อด้าน เห็นดีเห็นงามไปกับพวกชาวพุทธที่ได้ศึกษาน้อย และปล่อยให้คนที่ศึกษาพระพุทธศาสนาน้อยนั้นชักจูงไปในทางที่ผิดพระธรรมวินัยได้อย่างสะดวกง่ายดาย เมื่อชาวพุทธเราส่วนมากไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง ต่างคนก็ต่างทำ ต่างคนก็ต่างยึดถือเอาตามความชอบใจ หรือตามความเชื่อของตนทั้ง ๆ ที่ความเชื่อและความเห็นของตนนั้นเป็นความเห็นที่ผิด เป็นความเชื่อที่ผิด เป็นความเห็นและความเชื่อที่บิดเบือนไปจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีปรากฏเป็นหลักฐานให้เห็นได้ชัดเจนอยู่ในพระไตรปิฎก ส่วนพระภิกษุที่ชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธเจ้าโดยตรง และเป็นผู้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง ก็ไม่ควรปล่อยให้บรรดาฆราวาสที่ไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาชักจูงไปในทางที่ผิด ๆ ตามความชอบใจ พระภิกษุควรแนะนำพร่ำสอนฆราวาส และควรพาฆราวาสดำเนินไปตามครรลองของพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ควรคัดค้านในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้คัดค้าน ควรละ, เลิกการกระทำที่ผิดตามที่พระพุทธเจ้าสอนให้ละ, เลิก และควรคิดค้นหาวิธีที่จะให้ตนเองได้ปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ เช่นนี้มิใช่หรือจึงเป็นการถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนิกชนที่ดีจะพึงปฏิบัติในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไปต่อพระพุทธรูปทองเหลืองนั้น ข้าพเจ้ากระทำไปด้วยความเทิดทูน และบูชายิ่งซึ่งพระพุทธเจ้าแม้พระองค์จะปรินิพพานนานแล้ว อีกทั้งข้าพเจ้ายังเคารพในพระธรรมคำสอนที่มีปรากฏอยู่ เหมือนกับเคารพในตัวพระองค์ซึ่งเป็นพระศาสดาของข้าพเจ้า และเคารพในพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ตามพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง โดยมีหลักฐานที่สามารถค้นคว้าได้เป็นสิ่งอ้างอิง แต่พระสงฆ์องค์ใดที่มีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ไม่ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ก็เป็นเรื่องยากที่ข้าพเจ้าจะให้ความเคารพได้อย่างบริสุทธิ์ใจ อย่างมากก็แค่กราบไหว้แบบขอไปทีอย่างนั้นแหละ การที่ข้าพเจ้าเคารพ พุทธ ธรรม สงฆ์ อย่างถูกต้องนั้น ก็เพราะคำนวณด้วยความรู้ที่ใจของข้าพเจ้าเองส่วนหนึ่ง และพิจารณาเปรียบเทียบตามหลักฐานอ้างอิงจากคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกอย่างถี่ถ้วนอีกส่วนหนึ่ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตั้งใจเหยียบพระพุทธรูปทองเหลืองอย่างจริงจังและจริงใจ เพื่อที่จะพิทักษ์รักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และแสดงให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เห็น ได้สะทกสะท้าน เพี่อเรียกสติชาวพุทธเราให้ได้หวนกลับมาพินิจพิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง และชาวพุทธจะได้ค้นคว้าพระธรรมวินัยให้ทราบชัดแก่ใจของตนเองว่า สิ่งใดถูกหรือผิดอย่างแท้จริงในคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยส่วนตัวและส่วนความคิดของข้าพเจ้าเองแล้วปฏิเสธอย่างเด็ดขาด และไม่มีความยินดีใด ๆ ในพระพุทธรูปที่เป็นประติมากรรมทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีก็แต่กับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้วเท่านั้น นี่ก็เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าและคณะต้องต่อสู้คดีความ โดยไม่ยอมขอขมาต่อพระพุทธรูปทองเหลืองหล่อ ตามที่เจ้าคณะฝ่ายปกครองสงฆ์แนะนำแก่ข้าพเจ้า อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อจะได้เปิดเผยความจริงของพระพุทธศาสนาออกไปอย่างเต็มที่ จะได้เปิดเผยไปถึงไหนก็ให้ไปถึงนั้นแหละ และในครั้งที่เรื่องนี้โด่งดังขึ้นมา ข้าพเจ้าก็คาดหวังว่าเจ้าคณะฝ่ายปกครองสงฆ์ทั้งหลายจะต้องยกคณะมาสอบสวนข้าพเจ้า หรือไม่ก็เรียกตัวข้าพเจ้าไปพบเพื่อทำการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แล้วก็ไม่เห็นมีวี่แววใด ๆ ในความคาดหวังของข้าพเจ้าทั้งสองประการนั้นจะเป็นจริงขึ้นมาเลย ในตอนแรกที่ศิษย์วัดสามแยก ขออนุญาตข้าพเจ้าเพื่อติดป้ายที่ฐานพระพุทธรูปนั้น ข้าพเจ้าก็อนุญาตให้ติดป้ายได้เลยและมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่มีหมู่ชาวพุทธหมายใจจะพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ถ้าหากว่าการกระทำเช่นนี้จะมีสิ่งใด ๆ ที่ยุ่งยากเกิดขึ้นในกาลต่อมา ข้าพเจ้าก็ยินดีที่จะรับผิดชอบเอง และในตอนนั้นทางฝ่ายเจ้าคณะปกครองสงฆ์ ได้ให้พระครูวิชัยพัชรกิจ (ฉะอ้อน) ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครองคณะสงฆ์ในตำบลที่ข้าพเจ้าอยู่อาศัย มาเตือนข้าพเจ้าให้นำป้ายที่ติดฐานพระพุทธรูปทองเหลืองออกไปเสีย แต่ข้าพเจ้าก็ตอบว่า “ ผมจะนับถือพระพุทธศาสนา ตามที่มีปรากฏเป็นหลักฐานให้ศึกษาค้นคว้าได้ในพระไตรปิฎกของนิกายเถรวาท ซึ่งที่วัดสามแยกนี้มีอยู่ถึง 3 ฉบับ 3 สำนักพิมพ์คือ 1. ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย 2. ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 3. ฉบับ ส.ธรรมภักดี(ปุ้ย แสงฉาย) เพื่อจะแสดงให้ชาวพุทธเห็นว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไรกันแน่ ” ท่านพระครูฉะอ้อนก็กล่าวกับข้าพเจ้าว่า “ ถ้าครูบาอาจารย์ไม่ชอบพระพุทธรูปนี้ ผมขอไปไว้ที่วัดของผมได้หรือไม่ ” ข้าพเจ้าก็ตอบไปว่า “ ให้ไม่ได้หรอก เพราะพระพุทธรูปเป็นวัตถุสิ่งของที่ผิดในพระพุทธศาสนา และขัดกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หากพระพุทธรูปนี้ตกไปอยู่ ณ ที่แห่งใด ก็จะมีแต่สิ่งไม่ดีณ ที่แห่งนั้น เพราะฉะนั้น ก็ตั้งมันไว้แห่งนี้แหละ เมื่อเหตุการณ์ที่เหมาะสมมาถึงแล้วผมจะจัดการทำลายมันเอง หรือไม่มันก็จะไปของมันเองหรอก ” และข้าพเจ้าก็ได้เอาพระไตรปิฎกในส่วนที่มีคำสอนเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปมาอ่านให้พระครูฉะอ้อนฟัง ท่านพระครูฯ ฟังจบแล้วก็กล่าวว่า “ ใช่อยู่ ที่พระไตรปิฎกกล่าวไว้อย่างนี้ แต่ทางพระผู้ใหญ่สั่งให้ผมมาบอกอย่างนี้ ผมก็มาบอกตามหน้าที่ ” ข้าพเจ้าก็กล่าวว่า “ อ้อ ! พระภิกษุสมัยนี้ทำตามหน้าที่ ที่พากันคิดขึ้นเองอย่างนั้นเหรอ จะไม่พากันทำตามหน้าที่ของพระภิกษุ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เสียแล้วเหรอ ถึงแม้พระเช่นพวกท่านไม่นับถือคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เป็นใหญ่กว่าคำสอนของพระสงฆ์สาวกองค์ใด ๆ ก็ตามเถอะ แต่ผมจะถือพระพุทธพจน์ให้เป็นใหญ่สูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ ทุก ๆ อย่างที่ดำเนินการกันอยู่ที่วัดสามแยกนี้ ผมจะรับผิดชอบเอง มีแต่พระทางฝ่ายปกครองนั่นแหละ ที่ควรจะยกขบวนมาสอบสวนให้ความผิดและความถูกของผมปรากฏชัดตามพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นการเปิดเผยคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สาธารณชนรับทราบกันทั่ว หรือไม่เช่นนั้นก็นัดหมายให้ผมไปหา แล้วทำการสอบสวนผม ณ ที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ผมพร้อมเสมอที่จะไปให้การแก่คณะผู้ปกครองสงฆ์ตามหลักของพระธรรมวินัย และเพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายที่กำลังสงสัย และต้องการจะรู้ความจริงว่าผมและคณะกระทำกับพระพุทธรูปเช่นนี้นั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ? ” ข้าพเจ้าและพระครูวิชัยพัชรกิจ (ฉะอ้อน) ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลก็คุยกันหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทำนองนี้แหละ ส่วนมากท่าทีของพระเจ้าคณะฝ่ายปกครองสงฆ์ จะให้การเคารพนับถือยกย่อง, บูชาและเชิดชูพระพุทธรูปที่พากันหล่อ, ทำขึ้นเองอย่างสุดจิตสุดใจ และเกิดความเจ็บปวดในความรู้สึกมากเมื่อมาเห็นป้ายที่วัดสามแยกติดที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลืองหล่อว่า ไม่ให้กราบพระพุทธรูปนี้ บางท่านก็เอ่ยปากกับข้าพเจ้าขอนำเอาป้ายออกเองก็มี แต่ข้าพเจ้าไม่อนุญาตและได้กล่าวว่า “ วันข้างหน้าข้าพเจ้าอาจจะได้กระทำกับพระพุทธรูปทองเหลืองให้หนักยิ่งขึ้นกว่านี้ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขสังคมชาวพุทธให้รับรู้ว่าอะไรถูก –อะไรผิด แต่ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะไม่บังคับผู้ใดให้มานับถือตาม ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพ่อ, แม่, พี่, น้อง, ลุง, ป้า, น้า, อา, ญาติ, มิตรทั้งหลายจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ตาม ข้าพเจ้าเพียงแค่แสดงให้รู้ และเน้นหนักลงไปด้วยความจริงจังและจริงใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เคารพ, กราบไหว้, บูชารูปหล่อ, รูปปั้น, หรือรูปแกะสลักเป็นต้น ” ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงจัดหาพระไตรปิฎกประมาณยี่สิบตู้มาตั้งไว้ที่วัดสามแยก เพื่อให้ประชาชนชาวพุทธเรา ได้ค้นคว้าศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง แม้วัดสามแยกจะเป็นวัดบ้านนอกตั้งอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนจากต่างถิ่นแดนไกล สู้อุตส่าห์เดินทางมาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่วัดสามแยกกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนคนท้องถิ่นก็มาศึกษาบ้างนิดหน่อย ชาวบ้านในท้องถิ่นนี้ที่พากันศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจังบ้าง ก็คือชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยยางทองเท่านั้น หมู่บ้านอื่น ๆ นอกนั้นก็มีบ้างประปราย บางหมู่บ้านไม่มีชาวบ้านให้ความสนใจเลย และบอกด้วยว่า พ่อ, แม่, ปู่, ย่า, ตา, ยาย พาให้นับถือมาเช่นนี้จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปไหนทั้งนั้น เมื่อมีผู้คนเดินทางมาศึกษาพระธรรมคำสอนที่วัดสามแยกมากยิ่งขึ้น ทั้งที่อยู่ใกล้ ทั้งที่อยู่ไกล แม้อยู่ต่างประเทศก็ยังมีเดินทางมา ข้าพเจ้าก็ต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ศึกษาในสิ่งที่ถูกต้อง และยืนยันรับประกันให้พวกเขาว่าพระไตรปิฎกยังสามารถเชื่อถือได้ แต่ต้องเชื่อมั่นพระไตรปิฎกในส่วนที่นับว่าเป็นพระพุทธพจน์เป็นหลัก อย่าเชื่อมั่นในคำกล่าวของพระอรรถกถาจารย์ ที่ท่านอธิบายพระพุทธพจน์อีกต่อหนึ่ง พระไตรปิฎกที่แท้จริงคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมของพระสาวกทั้งหลายที่เรียกว่าอรรถกถาจารย์นั้น แม้จะเขียนหรือพิมพ์อยู่ในเล่มเดียวกัน, แผ่นเดียวกัน, บรรทัดเดียวกัน ในหนังสือที่เรียกขานกันว่าพระไตรปิฎกก็ตามที คำกล่าวของผู้อื่นๆ นอกจากคำกล่าวของพระพุทธเจ้าแล้วต้องไม่นับว่าเป็นพระไตรปิฎก ฉะนั้น จะให้ข้าพเจ้ายืนยันรับประกันในสิ่งที่ขัดกับพระไตรปิฎกนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด เมื่อข้าพเจ้ายืนยันแน่วแน่ไปตามพระไตรปิฎกเช่นนี้ ก็เกิดขัดขวางทางความคิดขึ้นกับผู้ที่ยืนยันตามความคิดของตนเองหรือตามความคิดของชุมชน คำกล่าวยืนยันของข้าพเจ้าที่เป็นไปตามพระไตรปิฎก แต่ว่าไปกีดขวางจิตใจของคนชาวพุทธส่วนมากนั้น ข้าพเจ้าก็ทราบดี แต่ก็จำเป็นที่จะต้องกล่าวยืนยันไปตามนั้น เพราะมีหลักฐานปรากฏให้เห็นชัดเจนอยู่ ถ้าข้าพเจ้าไม่ยืนยันตามพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้าโดยตรง เมื่อมีผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฎก แล้วเกิดมีข้อสงสัยและนำข้อสงสัยนั้นมาถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะถึงความลำบาก เพราะไม่มีคำตอบที่ถูกต้องตรงตามคำเป็นจริงให้กับเขาเหล่านั้น เมื่อข้าพเจ้ายืนยันตามพระไตรปิฎกแล้ว แม้จะมีคนเขาตำหนิข้าพเจ้าหมดทั้งโลกนี้ก็ตาม ข้าพเจ้าก็รู้สึกตัวดีว่าข้าพเจ้าไม่ได้ถึงความลำบากใดๆ เลย เพราะข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ มิได้ขาดตกบกพร่องในการประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า และพึงพอใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่สุด ส่วนบรรดาผู้ที่เคารพพระพุทธรูปนั่นๆ นี่ๆ เมื่อหล่อเสร็จใหม่ๆ ก็มีทั้งหินเจีย ทั้งสกัด ทั้งเลื่อยตัดเหล็ก ทั้งเครื่องขัดเครื่องถูอีกสารพัดอย่าง มิหนำซ้ำยังเอาสว่านเจาะที่กลางหัวพระพุทธรูปเพื่อเอาไว้เทพระธาตุใส่ลงไป เมื่อเสร็จเรียบร้อยดีแล้วก็พากันตั้งชื่อให้รูปหล่อนั้นๆ อย่างไพเราะเพราะพริ้ง ว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้ แล้วก็ตั้งตู้ขอรับบริจาคเงินทอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพระพุทธรูปและเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างสถานที่เพื่อเก็บรักษาพระพุทธรูปที่พากันหล่อ, สร้างขึ้นมา ข้าพเจ้าเห็นการกระทำเช่นนี้แล้ว รู้สึกว่าขัดขวางกันอย่างมากกับคำสอนของพระพุทธเจ้า และสลดสังเวชใจมากกับการกระทำที่ผิดเช่นนี้ แต่กลับถูกประกาศให้รับทราบกันโดยทั่วไปว่า เป็นการกระทำที่ดีและถูกต้อง ประชาชนผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง เมื่อเห็นเช่นนั้น ก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจยินดีชื่นชมไปกับการกระทำที่ผิด ๆ ต่างก็ขนทรัพย์สมบัติของตนเองไปมอบให้แก่คนที่เขาอุปัฏฐากพระพุทธรูปหล่อ เหตุการณ์อย่างที่ว่ามานี้คนที่อุปัฏฐากพระพุทธรูปหล่อ บริหารเงินทองแทบไม่ทันก็มี มีคนถามข้าพเจ้าว่า “ ถ้ามีคนที่เห็นด้วยและนับถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกเพียงเล็กน้อยอย่างนี้จะดีอยู่เหรอ? ” ข้าพเจ้าตอบว่า “ จะมีคนที่เห็นด้วยและนับถือตามเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ดีเท่านั้น คือให้มีบุคคลที่นับถือตามคำสอนของพระพุทธองค์อยู่บ้างแม้จะน้อย ก็ยังดีกว่าไม่มีซะเลย ” ส่วนพวกที่นับถือไปตามความเห็นของตนหรือของชุมชนนั้น จะมีมากจนล้นแผ่นฟ้าแผ่นดินก็ให้นับถือกันไปเถิด ข้าพเจ้าไม่ได้บังคับใครให้มานับถือตามอย่างที่ข้าพเจ้ากระทำ ข้าพเจ้าเพียงแต่บอกให้ศึกษาเล่าเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อศึกษาเล่าเรียนกันแล้ว ใครจะนับถือตามหรือไม่นับถือตามก็สุดแท้แล้วแต่ และการที่ข้าพเจ้าเหยียบและตบพระพุทธรูปหล่อครั้งนี้ ก็ไม่ได้ทราบมาก่อนว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อข้อกฎหมายบ้านเมืองใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะข้าพเจ้าไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายของบ้านเมืองมากนัก แต่ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นแน่นเหนียวในพระไตรปิฎกอย่างถึงใจเด็ดขาด เมื่อข้าพเจ้ากระทำเช่นนี้ ก็เกิดเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายของบ้านเมืองขึ้น จึงทำให้ข้าพเจ้าต้องค้นคว้าศึกษาดูกฎหมายของบ้านเมือง ทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายอาญา, พ.ร.บ. คณะสงฆ์, กฎมหาเถรสมาคม ก็ได้พบว่ามีข้อเขียนเป็นกฎไว้ชัดเจน และถูกต้องตามธรรมจากฝ่ายบ้านเมือง ในข้อบัญญัติเกี่ยวกับการศาสนาหรือความเชื่อมั่นเช่น มาตรา ๓๗ ในกฎหมายรัฐธรรมนูญก็บอกไว้ชัดว่า ให้ถือตามศาสนบัญญัติได้ มาตรา 70 ก็ระบุว่า บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในมาตรา 15 ตรี(4) ระบุว่า ให้รักษาหลักธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ยังมีกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2538) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศข้อ 3 (1) ระบุว่า พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณก็ให้วินิจฉัยเพื่อให้สละสมณเพศเสีย ดังมีรายละเอียดไว้ในข้อ 1 ไปจนถึงข้อที่ 8 และมีในบทนิยามข้อ 4 ในกฎมหาเถรสมาคม (2) ระบุว่า ความผิด หมายถึง การล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และกฎหมายมหาเถรสมาคมฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2535) ข้อที่ 18 อยู่วรรคหนึ่งที่กล่าวไว้ ดังนี้ “ เมื่อมีข้อสงสัย, ให้ตีความไปในทางรักษาพระวินัยโดยเคร่งครัด ” และกฎหมายมหาเถรสมาคมฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ระบุว่า ระเบียบการปกครองสงฆ์ส่วนกลางข้อ 7 (1) ว่า “ ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย ” ส่วนการปกครองสงฆ์ในระดับภาค, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล ก็กล่าวไว้อย่างเดียวกันคือ“ ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย ” ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญา ค้นคว้าดูก็ได้พบใน มาตรา 59 ว่า “ ผู้กระทำผิดตามมาตรา 206 จะต้องมีเจตนาเหยียดหยามวัตถุทางศาสนา คือควรจะเกี่ยวโดยตรงกับพระศาสนาจึงจะเป็นความผิด ” และรูปหล่ออย่างพระพุทธรูปประติมากรรมทั้งหลายก็ขัดขวางกับคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิงเพราะเมื่อนับถือตามพระพุทธบัญญัติอย่างแท้จริงแล้ว พระพุทธรูปประติมากรรมทั้งหลายนี้ เป็นวัตถุนอกพระพุทธศาสนาอย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว ในพระไตรปิฎกของนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นที่ยอมรับของบรรดาปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายนี้ มีการสั่งสอนเอาไว้ชัดเจนว่า วัตถุใด ๆ ที่เป็นสิ่งผิดในพุทธศาสนบัญญัติ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าให้ทำลายวัตถุนั้น ๆ ทิ้งเสีย ดังมีเรื่องในพระไตรปิฎกไว้ว่า พระองค์สั่งให้ทำลายกุฏิดินเผาของท่านพระธนิยะที่มีการก่อสร้างผิดพระธรรมวินัย อันเป็นเรื่องที่มีปรากฏอยู่ในพระวินัยบัญญัติ สิกขาบทปาราชิกข้อที่ 2 และมีคำสั่งในพระธรรมวินัยนี้ให้ตัด, ให้ทุบทำลายหรือให้ทิ้งสิ่งของที่ได้มาหรือมีมาโดยไม่ชอบธรรมอีกหลายอย่างเช่น บาตร, กล่องเข็ม, จีวร, ผ้าปูนั่ง หรือบรรดาเงิน, ทอง, อัญมณีทั้งหลายเป็นต้น หรือแม้แต่อาหารการกินที่ได้มาโดยไม่ถูกธรรมวินัยก็ต้องสละทิ้งอีกเหมือนกัน เรื่องกฎหมายกับพระธรรมวินัยนี้ เท่าที่ได้ศึกษาค้นคว้าดูก็มีระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ถ้าเป็นพระภิกษุกระทำความผิด ก็จะต้องได้รับโทษทางวินัยตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ให้ถูกต้องตามสมควรแก่ความผิดนั้น ๆ กล่าวคือเมื่อมีพระภิกษุกระทำความผิดขึ้น ก็ต้องเรียกผู้ที่กระทำความผิดนั้นไปทำการสอบสวนโดยคณะสงฆ์ที่มีความบริสุทธิ์ ไม่มีการละเมิดพระวินัยบัญญัติข้อใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับเรื่องของข้าพเจ้านี้ คณะสงฆ์คณะไหน ๆ ก็ไม่มีมาสอบสวนเลย และไม่ได้เรียกตัวข้าพเจ้าให้ไปชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาใด ๆ อีกด้วย แต่มีคณะสงฆ์ประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเรื่องของข้าพเจ้าที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยไม่มีข้าพเจ้าร่วมรับทราบเหตุการณ์ด้วย และก็มีการตัดสินขับไล่ข้าพเจ้าให้ออกจากพื้นที่ส านักสงฆ์ที่ข้าพเจ้าอยู่อาศัยพร้อมกับพระลูกวัดทุก ๆ รูป ก็ต้องออกไปด้วยกันภายใน 7 วัน โดยไม่มีการสอบสวนเรื่องราวให้ชัดเจนถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อพระคณะฝ่ายปกครองมีคำสั่งออกมาโดยไม่ถูกต้องชอบธรรมเช่นนี้ ข้าพเจ้าและพระภิกษุภายในสำนักสงฆ์ป่าสามแยกจึงไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมนั้น ในส่วนที่ข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอันเนื่องมาจากป้ายข้อความว่า “ ทองเหลืองหล่อนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน ” ถ้ามีความเห็นว่าข้าพเจ้ามีความผิดจริง ก็ต้องค้นคว้าพระธรรมวินัยออกมาแสดงชี้แจงให้เห็นประจักษ์ชัดเจนว่า ข้าพเจ้ามีความผิดตามพระพุทธบัญญัติจริง เมื่อข้าพเจ้าเห็นข้อธรรมข้อวินัยตามที่ยกออกมาตัดสินว่าข้าพเจ้าผิดจริง ข้าพเจ้าก็พร้อมจะยอมรับโทษทัณฑ์และจะแก้ไขตนเองในทุก ๆ กรณีโดยไม่มีการบิดพลิ้วแม้แต่น้อย แต่จนถึงขณะนี้ข้าพเจ้าและคณะก็ยังไม่เห็นพระธรรมวินัยข้อใด ๆ ที่จะบ่งชี้ว่า การติดป้ายหรือการกระทำใดๆ อันเป็นการห้ามกราบไหว้และเคารพพระพุทธรูปประติมากรรมทั้งหลายนั้น เป็นความผิดตามพุทธศาสนบัญญัติ ถึงแม้ว่าจะมีการทุบ, เผา, ทำลายด้วยการขับรถเหยียบ, หรือจะพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามพระพุทธรูปที่พากันทำขึ้นมาเพื่อการซื้อขายหนักหนาขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่ได้เป็นความผิดตามพุทธศาสนบัญญัติ เพราะเมื่อเราซื้อมันมาเป็นของส่วนตนหรือของชุมชนแล้ว แต่ต่อมาตนเองหรือชุมชนได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ก็จะเกิดความรู้และทราบได้เองว่าพระพุทธรูปนี้เป็นวัตถุสิ่งของที่ผิดพระธรรมวินัย เมื่อทราบว่าตนเองมีสิ่งของที่ผิดพระธรรมวินัยไว้ในครอบครอง ก็จะต้องจัดการทำลาย เมื่อตนเองหรือชุมชนพากันทำลาย ถ้ามีผู้ใดมาบอกว่าการกระทำอย่างนี้ผิด ก็ต้องถามกลับคืนว่า “ ความผิดที่ว่ามานี้ มีกล่าวเอาไว้ตรงไหนในพระธรรมวินัยนี้ ” และต้องเป็นความผิดตามพระธรรมวินัยที่มีปรากฏเป็นหลักฐานจากพระไตรปิฎกเท่านั้น ข้าพเจ้าจึงจะยอมรับโดยดี แต่จนถึงขณะนี้ข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้ยินไม่ได้เห็นท่านผู้ใดจะสามารถชี้แจงให้ข้าพเจ้ารับทราบและยอมรับตามหลักฐานของพระธรรมวินัยได้ว่า “ ข้าพเจ้ากระทำต่อพระพุทธรูปหล่อเช่นนี้ เป็นการกระทำความผิดตามศาสนบัญญัติที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ” เมื่อข้าพเจ้าทำการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาด้วยความเหนื่อยยากถึงเพียงนี้ แต่ต้องประสบกับการถูกดำเนินคดีจากฝ่ายบ้านเมืองให้ยุ่งยากกายและใจเพิ่มขึ้นไปอีก ถึงแม้จะถูกดำเนินคดีแต่ข้าพเจ้าก็จะอดทนสู้อุตส่าห์แก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนทั้งต่อผู้ที่จะพิพากษาคดีความของข้าพเจ้าและสาธารณชนทั้งหลายต่อไป เพราะผู้ที่จะช่วยทำการค้นคว้าเรื่องราวจากพระไตรปิฎกเพื่อนำออกมาแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อข้าพเจ้านั้น ก็มีมากพอสมควร และถ้าหากไม่มีผู้ใดสนใจศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกเสียเลย ตัวข้าพเจ้านี้ก็ไม่มีความยุ่งยากวุ่นวายแต่ประการใด แต่เมื่อมีผู้สนใจศึกษาพระไตรปิฎกมากขึ้นทุกวัน ๆ จึงจำเป็นที่ข้าพเจ้าต้องทำเช่นนี้ด้วยจุดประสงค์สำคัญคือให้ผู้คนได้ทราบความจริง เมื่อชาวพุทธได้ทราบความจริงก็จะช่วยกันพิทักษ์รักษาและเคารพบูชาพระพุทธศาสนาด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่บอกว่าเคารพนับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็นำพระศาสนาไปทำการค้าขาย เหมือนกับว่าเป็นสิ่งของที่ควรซื้อควรขายกันทั่ว ๆ ไป อย่างที่เห็นกันอยู่เกลื่อนกลาดในทุกวันนี้ ที่มีการซื้อขายกัน ต่อรองกัน ขึ้นราคากัน เป็นเหมือนกับการกระทำของผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องเอาเสียเลย ที่น่าเบื่อมากไปกว่านั้นก็คือโฆษณากันว่ามีพระพุทธรูปหล่อรุ่นดี, รุ่นไม่ดี, รุ่นเก่า, รุ่นใหม่และมีตกรุ่นด้วย คิดดูเถอะว่าการให้ความเคารพนับถือแต่มีการซื้อและขายต่อกันเป็นทอด ๆ เหมือนกับบอกว่าเคารพนับถือพ่อแม่อย่างที่สุด แต่ก็นำพ่อแม่ไปเร่ขาย นำพ่อแม่ไปทำการซื้อขายเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าเป็นการเคารพนับถืออย่างไรกัน ? ส่วนเรื่องพระพุทธรูปนี้ ในสมัยครั้งพุทธกาลหรือในสมัยหลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วราว ๆ 300 – 400 ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดกล้าที่จะทำรูปเปรียบแล้วสมมติให้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา เพราะชาวพุทธทั้งหลายในสมัยนั้นได้ศึกษาพระสูตรเรื่อง “ บุคคลผู้เอก ” เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์ห้ามไว้เช่นนี้ชาวพุทธสมัยนั้นก็ปฏิบัติตามทันที โดยไม่มีการขัดขืนหรือแข็งข้อใด ๆ ต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถ้าหากผู้ใดขืนทำขึ้นมา ก็จะถูกดำเนินการตามพระธรรมวินัย ตามที่สมควรและถูกต้อง แต่เมื่อกาลเวลาเดินทางมาถึงสมัยนี้พระธรรมวินัยที่ปรากฏในสมัยนี้ก็เป็นพระธรรมวินัยอันเดียวกันกับที่ปรากฏในสมัยนั้น เพราะความเป็นมาของพระธรรมวินัยที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ก็ได้บันทึกความเป็นมาเป็นลำดับๆ ให้ชาวพุทธที่มีความสงสัยสามารถสืบสาวเรื่องราวดูได้ด้วยตนเอง ส่วนการสร้างรูปหล่อ, รูปปั้นขึ้นมาเปรียบเป็นพระพุทธเจ้าของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธในสมัยนี้ที่อ้างหน้า, อ้างหลัง, อ้างถึงความจำเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ล้วนเป็นข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากพระธรรมวินัยทั้งนั้น และเป็นข้ออ้างที่เป็นไปตามความอยากของกิเลสตัณหาที่ผิดๆ แล้วก็สรุปกันเอาเองว่า ข้ออ้างของกลุ่มตนเองมีเหตุผลและเป็นสิ่งชอบธรรมแน่นอน โดยไม่สนใจในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย เมื่อมาถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าพระเกษม อาจิณฺณสีโล ขอความเป็นธรรมจากชาวพุทธทั้งหลายให้กับพระพุทธเจ้าด้วย ส่วนคดีความของข้าพเจ้าที่ถูกส่งให้ศาลเพื่อพิจารณาพิพากษานั้น ข้าพเจ้าขอให้คณะผู้พิพากษาตัดสินคดีความของข้าพเจ้าด้วยความถูกต้อง โดยยึดถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักสำคัญ เพราะคดีนี้เป็นคดีความที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นไปของพระพุทธศาสนา ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วคดีความของข้าพเจ้านี้ พระเจ้าคณะฝ่ายปกครองควรจะสอบสวนข้าพเจ้าก่อน ถ้าหากพบเห็นว่าข้าพเจ้ามีความผิดอย่างชัดเจน และไม่ยอมแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยจริง พระเจ้าคณะฝ่ายปกครองจึงควรขอการอารักขาจากฝ่ายบ้านเมือง เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับข้าพเจ้า ในโทษฐานมีความผิดตามพระธรรมวินัย และความผิดนั้นก็ถูกเปิดเผยชัดเจนแล้ว แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมแก้ไขตนเองให้ถูกต้อง เป็นภิกษุที่ดื้อด้านไม่มีความละอาย เช่นนี้จึงสมควรที่จะจับข้าพเจ้าสึกและให้ไปรับโทษทัณฑ์ในคุกตะรางต่อไป แต่เหตุการณ์นี้พระเจ้าคณะฝ่ายปกครองทั้งหลายต่างก็คิดกันเอง เอออวยกันเอง โดยไม่ได้ให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า ในการชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาใดๆ อันเป็นไปตามขั้นตอนของการชำระอธิกรณ์ หรือแก้ไขเรื่องราวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหมู่คณะสงฆ์ ที่จะต้องตัดสินกันตามหลักพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอความเป็นธรรมในเรื่องคดีความของข้าพเจ้ามา ณ ที่นี้ด้วย ส่วนบรรดาผู้ที่ทราบเรื่องของข้าพเจ้ากับพระพุทธรูป และต้องการให้ข้าพเจ้าลาสิกขาหรือสละสมณเพศแล้วให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับข้าพเจ้าขังคุกตะราง ให้เป็นอันเสร็จเรื่องเสร็จราวไปเร็ว ๆ นั้น ข้าพเจ้าก็ต้องถามท่านทั้งหลายเหล่านั้นว่า “ ที่มีความต้องการให้ข้าพเจ้าสึกหาลาเพศไปนั้นเป็นเพราะข้าพเจ้าต้องโทษทางพระวินัยหนักหนาถึงระดับอาบัติปาราชิกข้อไหน? มีพระบัญญัติไว้ในสูตรไหน? ” จงแจ้งแก่ข้าพเจ้าโดยเร็ว หรือจะแจ้งแก่ข้าพเจ้าเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้พิพากษาหรือประชาชนทั้งหลายก็จะยิ่งดีมากขึ้น หากมีพุทธบัญญัติกล่าวไว้ว่าการกระท าของข้าพเจ้าเช่นนี้ผิดจริง และโทษของความผิดนี้คือต้องลาสิกขาหรือสึกเท่านั้นจึงจะสมควรแก่ความผิด ข้าพเจ้าก็จะลาสิกขาต่อหน้าผู้พิพากษา หรือประชาชนทั้งหลาย และให้แพร่ภาพออกไปทางสื่อสารมวลชนทั่วโลกเลยก็ยังได้ หรือว่าข้าพเจ้าควรจะลาสิกขาออกจากพระศาสนาไป เพราะถึงแม้จะไม่ได้ละเมิดพระวินัยต้องอาบัติปาราชิกก็จริงแหละ แต่ก็ละเมิดพระวินัยหมวดที่รอง ๆ ลงมาเป็นประจำคือ ละเมิดพระวินัยอยู่บ่อย ๆ และไม่ได้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น ละเมิดพระวินัยหมวดสังฆาทิเลส, ถุลลัจจัย, นิสสัคคียปาจิตตีย์, ปาจิตตีย์, ปฏิเทสนียะ, ทุกกฎ, ทุพภาษิตเป็นประจำ ก็ให้ท่านผู้ศึกษาพระธรรมวินัยและต้องการให้ข้าพเจ้าสึกนั้น ชี้แจงแถลงไขออกมาให้เห็นชัดเจน เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั่ว ๆ ไปว่า ข้าพเจ้ามีการละเมิดพระวินัยข้อใดหมวดใด ที่ได้ละเมิดค้างคาอยู่โดยไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง ข้าพเจ้าพร้อมจะยอมรับในคำกล่าวหาและจะแก้ไขแน่นอน ถ้าข้าพเจ้ามีความผิดตามพระพุทธบัญญัติจริง อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีผู้ใดกระทำรุนแรงกับข้าพเจ้า ด้วยการบังคับให้ลาสิกขาหรอก เพราะว่าการลาสิกขาหรือการสึกนี้ ก็เป็นเหมือนกับการตายไปจากความเป็นพระภิกษุนั่นเอง แต่ก็ทราบมาว่ามีผู้วางแผนที่จะจับข้าพเจ้าลาสิกขา เรื่องนี้ข้าพเจ้ามีหลักฐานและได้ส่งหลักฐานนี้ไปให้ผู้พิพากษาแล้ว และการส่งหลักฐานนี้ก็ไม่ได้ต้องการเพื่อจะเล่นงานผู้ใด เป็นแต่เพียงต้องการแจ้งให้ผู้ที่ต้องการจะให้ข้าพเจ้าลาสิกขา แล้วเอาตัวไปติดคุกนั้นทราบว่า “ ข้าพเจ้ายังไม่เห็นความผิดของข้าพเจ้า ในโทษของความผิดที่จะต้องลาสิกขาเลย ” สำหรับท่านที่มีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะให้ข้าพเจ้าลาสิกขาออกไปจากพระพุทธศาสนาก็ช่วยชี้แจงถึงเหตุผลที่สมควรและถูกต้องแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจะทำการรักษาแบบแผนของพระธรรมวินัยไว้ ถ้าข้าพเจ้ามีความผิดในพระศาสนาถึงกับต้องลาสิกขาจริง ข้าพเจ้าก็จะลาสิกขาจริง จะไม่อยู่กินข้าวและใช้สิ่งของของชาวบ้านชาวเมือง ที่เขาต้องหมอบคลานและก้มหัวนอบน้อมนำเข้ามาถวายให้ข้าพเจ้าอีกต่อไป แม้แต่อาบัติเล็กน้อยรอง ๆ ลงมามีข้อใดบ้าง ที่ข้าพเจ้ายังมีการละเมิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้ทำการแก้ไขให้ตนเองบริสุทธิ์ผุดผ่องตามพระพุทธบัญญัติ ก็ให้แจ้งแก่ข้าพเจ้าได้ตลอดเวลา ถ้าข้าพเจ้าพบว่าตนเองมีความผิดจริงดังที่ท่านกล่าวมา แม้โทษทางพระวินัยจะไม่ถึงกับต้องลาสิกขา กระนั้นข้าพเจ้าก็จะขอลาสิกขาออกไปก่อน เพื่อมิให้พระศาสนามัวหมองและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บรรดาพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย เมื่อลาสิกขาออกไปแล้ว ข้าพเจ้าก็จะทำการศึกษาค้นคว้าให้ตนเองเข้าใจในพระธรรมวินัย ด้วยสถานะของฆราวาสอย่างชัดเจนก่อน แล้วจึงจะทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้ง เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการให้ข้าพเจ้าลาสิกขาจริง ก็ต้องหาพุทธบัญญัติมาอ้างให้สมเหตุสมผล มิเช่นนั้นข้าพเจ้าจะไม่ยอมลาสิกขาโดยประการทั้งปวง เรื่องนี้ข้าพเจ้าก็ขอความเป็นธรรมต่อผู้พิพากษา ให้ผู้พิพากษาพิจารณาดูตามหลักธรรมเถิด และเรื่องของข้าพเจ้ากับพระพุทธรูปนี้ก็โด่งดังพอสมควร ข้าพเจ้าตกเป็นจำเลยของสังคม ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามด้วยถ้อยคำและกิริยาที่เสียหายด่าว่าข้าพเจ้าและคณะต่าง ๆ นานา เช่นว่าพระสุดโต่งบ้าง วัดพิลึกบ้าง หรือมีแต่คนโง่เท่านั้นที่จะเชื่อตามเพียงเพราะข้าพเจ้าและคณะเป็นผู้นับถือมั่นตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และมีข่าวบอกว่าจะต้องปฏิบัติการดึงมวลชนที่เชื่อตามอย่างที่ข้าพเจ้าแนะนำให้ถอยออกไป ลงข่าวกันทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ข้าพเจ้าและคณะเสียหายอย่างหนัก แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีนักสื่อสารมวลชนบางคนเขียนข่าวลงหนังสือพิมพ์ว่า “ การกระทำของข้าพเจ้าเช่นนี้ไม่ถือเป็นความผิดในพระพุทธศาสนา ”และมีพระเจ้าคณะฝ่ายปกครองผู้ใหญ่บางรูปกล่าวว่า “ การกระทำของข้าพเจ้านี้ไม่ผิดธรรมวินัยหรอกแต่มันไปผิดใจชาวบ้านชาวเมืองเขา ” แต่ก็มีพระเถระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในสังคมบางรูปกลับกล่าวว่า “ ควรกำจัดข้าพเจ้าให้พ้นไปจากวิถีของพระพุทธศาสนาเสีย เพราะว่าการกระทำของข้าพเจ้านี้เสื่อมเสีย และน่าละอายมาก ” ข้าพเจ้าเคยให้คนนำคำถาม ไปถามท่านพระเถระผู้ใหญ่ที่กล่าวเช่นนี้ว่า “ ถ้าพระเกษมผิดจริง มีพระพุทธบัญญัติไว้ที่ใด ? ” พระเถระท่านนั้นก็กล่าวกลบเกลื่อนไปตามความเห็นของตนเองว่า “ ไม่ต้องพูดมาก ๆ เมื่อผิดแล้วก็ต้องยอมรับผิดเท่านั้น จะมาดื้อด้านอยู่ทำไม ” นี่ก็เป็นคำตอบของพระเถระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงในสังคมชาวพุทธ เมื่อไปถามให้ได้ความชัดเจนว่า “ ผิดอะไร มีหลักฐานกล่าวอ้างไว้ที่ไหน ?” ก็ตอบกลบเกลื่อนเฉไฉไปเสียโดยไม่กล่าวถึงข้อบัญญัติของพระธรรมวินัยเลย ก็เห็นได้ว่า พระภิกษุในประเทศไทยสมัยนี้ทั้งพระเถระผู้ใหญ่ ทั้งพระภิกษุสามเณรที่บวชมานานหรือพระภิกษุสามเณรที่บวชมาใหม่ก็ตาม ต่างก็ไม่ได้ทำการศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามหลักของพระธรรมวินัย เพื่อเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงยั่งยืนอย่างถูกต้อง แต่บรรดาพระภิกษุสามเณรส่วนมาก จะพิทักษ์รักษากระเป๋าสตางค์หรือบัญชีเงินฝากของตนเองหรือสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ที่โลกสมมติว่ามีค่า และตนเองก็ได้มาครอบครองเป็นเจ้าของอย่างผิดพระธรรมวินัย เช่นโทรศัพท์, กล้องถ่ายรูป, เครื่องเสียงหรือรถยนต์ประจำตัวและจดทะเบียนเป็นชื่อตนเองด้วย อย่างนี้เป็นต้น ส่วนพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์บัญญัติว่าเป็นสิ่งล้ำค่าหาประมาณมิได้ มีคุณล้นจักรวาล ล้นวัฏฏะสงสาร แต่ภิกษุสามเณรส่วนมากกลับมิได้เอาใจใส่เลย ต่างก็พากันขวนขวายสั่งสมเงินทอง สั่งสมเครื่องใช้ต่างๆ นานา เหมือน ๆ กันกับที่ชาวโลกฆราวาสเขาสั่งสมและแสวงหากันนั่นแหละ จะต่างกันบ้างก็เพียงแต่ฆราวาสเขาแสวงหาและสั่งสมด้วยหยาดเหงื่อน้ำพักน้ำแรงของตนเอง แต่พระภิกษุสามเณรสั่งสมและแสวงหาด้วยการขอ, การเรี่ยไร หรือไม่ก็นำธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ไปแสดงเพื่อแลกกับสิ่งของหรือเงินทองต่าง ๆ ดังที่ทราบกันดีว่าพระนักเทศน์ในสมัยนี้มีค่าตัว “ เมื่อเทศน์เสร็จหรือแสดงธรรมเสร็จแล้ว ฝ่ายฆราวาสต้องมีการจ่ายเงินให้ด้วย ” ซึ่งการกระทำเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่ผิดพระธรรมวินัยชัดเจน แต่พระภิกษุสามเณรทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยก็ยังปฏิบัติกันผิด ๆ โดยไม่มีความละอายต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ชัดเจนว่า การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิด ยกตัวอย่างเช่น ในหมวดอาบัตินิสสัคคีย์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ภิกษุใด รับ หรือ ให้รับก็ตามซึ่งทองเงิน หรือ ยินดีทองเงิน ที่เขาเก็บไว้ให้ก็ตาม เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ ” ยกตัวอย่างพระวินัยเพียงข้อนี้ข้อเดียว พระภิกษุสามเณรในประเทศไทยก็ละเมิดพระวินัยกันเป็นอาจิณแม้จะกล่าวว่าพากันละเมิดพระวินัยข้อนี้ตลอดกาลเลยก็ไม่ผิด เพราะเป็นความจริงที่สังคมคณะสงฆ์ไทยได้ปฏิบัติกันอย่างนี้ รวมทั้งพระภิกษุที่กล่าวหาข้าพเจ้า ก็มีหลายรูปที่กระทำผิดพระวินัยอย่างที่ว่ามานี้แหละ ข้าพเจ้าก็ติดตามข่าวสารความเป็นไปของพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ ๆ แต่ก็ไม่เห็นผู้ที่มีหน้าที่พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาตามกฎหมาย จะดำเนินการอันใดเกี่ยวกับเรื่องพระภิกษุสามเณรกระทำผิดพระวินัยบัญญัตินี้ ก็เห็นแต่พูดคุยกันว่าจะต้องทำการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ไม่เห็นดำเนินการอะไรที่เป็นรูปธรรม ทั้งสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, แห่งจังหวัด รวมทั้งพระภิกษุมหาเถระฝ่ายปกครองด้วย ก็ไม่เห็นจะมีใครจริงจังและจริงใจในการรักษาและเชิดชูพระพุทธศาสนาอันทรงคุณค่าหาประมาณมิได้ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างถูกต้อง ส่วนการอ้างว่าพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัตถุต่าง ๆ ขึ้นมาให้ยิ่งใหญ่อลังการนั้น เท่าที่ตรวจสอบดูตามหลักของพระธรรมวินัยแล้ว ไม่ว่าผู้ใดจะก่อสร้างให้ใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม ก็ล้วนแต่เป็นการกระทำที่ผิดพระธรรมวินัยเสียโดยมาก เพราะพระภิกษุเป็นฝ่ายอ้อนวอนเรี่ยไร ขอให้ฝ่ายฆราวาสมาช่วยบริจาคทรัพย์สิน เพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ โดยพระภิกษุเหล่านี้ไม่มีความละอายต่อพระพุทธบัญญัติที่ตรัสห้ามเอาไว้เสียบ้างเลย เช่นนี้หรือคือการกระทำของพระภิกษุที่ประกาศตนว่าเป็นผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมสูญลงไปอย่างรวดเร็วมากกว่า ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอความเป็นธรรมให้พระพุทธศาสนาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ขอความเป็นธรรมให้พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์จะปรินิพพานไปแล้วกี่พัน กี่หมื่นปีก็ตามเถอะ ขอชาวพุทธทั้งหลายได้โปรดรับฟังและพิจารณาเสียงร่ำร้องของข้าพเจ้า “ ขอความเป็นธรรมให้พระพุทธเจ้าด้วย ” เพราะหลักฐานคำสอนของพระพุทธเจ้ายังสามารถสืบค้นได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ พระภิกษุสามเณรผู้ใดที่ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรมคำสอน ก็ไม่ควรจะอยู่เป็นสมณะเหยียบย่ำพระพุทธศาสนาอันทรงคุณค่าหาประมาณมิได้ ขออย่าได้เหยียบย่ำพระพุทธศาสนาให้มากไปกว่านี้อีกเลย ถ้าไม่เคารพยำเกรงและไม่สามารถจะประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามหลักของพระธรรมวินัยอย่างซื่อตรงได้ ก็ควรจะไปหางานหาการอย่างอื่น ๆ ทำกันเสียเถอะ อย่าได้มาขายธรรม ขายวินัย ขายพระพุทธเจ้า ขายพระศาสดากิน ขายพระศาสนาให้ตนเองร่ำรวยกันอีกต่อไปเลย แม้จะสรรหาสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นสิ่งนอกธรรม นอกวินัยเพื่อนำมาแอบอ้าง ลอกเลียน เปรียบเทียบเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็พากันทำการค้า ทำการซื้อขายในพระพุทธศาสนา เช่นนี้ก็ยังชื่อว่าขายพระพุทธเจ้ากินอยู่นั่นเอง เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ชัดเจนว่า “ ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตตรัสไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นพระศาสดาของพวกเธอทั้งหลายในกาลล่วงไปแห่งเรา ” เมื่อพระพุทธองค์ชี้ชัด ไว้แล้วว่า พระธรรมวินัยนี่แหละคือพระพุทธองค์ การขายพระสูตรใด ๆ หรือขายส่วนใด ๆ ของพระธรรมวินัยนี้ ก็คือการตัดเอาส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธองค์ออกมาขายนั่นเอง มีผู้ที่ทำการค้าขายพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าจนร่ำรวย แม้การกระทำนี้จะเป็นการกระทำที่ผิดมากๆ แต่ก็ยังมีผู้คนให้การยอมรับ ยกย่อง นับถือ ประกาศเป็นข่าวออกไปสู่สื่อสารมวลชนให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดคิดว่า การทำได้เช่นนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างนั้นอย่างนี้ และเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั้งหลายจะต้องถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นผู้ใดจะคิดอ่านทำการแก้ไขและชี้แจงให้คนทั้งหลายได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องว่า การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งผิดเป็นบาปมหันต์นัก ไม่ควรที่คนทั้งหลายจะถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง และสื่อมวลชนทั้งหลายก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการโฆษณาชักชวนให้เกิดการซื้อขายพระพุทธศาสนา การอุปถัมภ์ค้ำจุนกันอย่างผิดธรรมผิดวินัยเช่นนี้ เกิดขึ้นได้อย่างโจ่งแจ้งชัดเจนมากในสมัยนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกแย่มากในการกระทำของผู้ที่ขายพระพุทธศาสนาอย่างที่ว่ามานี้ จึงขอความเป็นธรรมให้พระพุทธเจ้าและขอให้ผู้พิพากษาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมช่วยพิจารณาให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงด้วยเถิด หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธองค์ก็ได้มอบพินัยกรรมที่มีค่ายิ่งกว่าพินัยกรรมใด ๆ พินัยกรรมที่พระองค์มอบไว้ให้แก่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็คือ พระธรรมวินัยนั่นเอง พระธรรมวินัยนี้มีทั้งหมดแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ มีพระสูตรอยู่หนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าพระสูตร มีลักษณะอยู่สามลักษณะ (คือ ไตรลักษณ์) มีความจริงที่ประเสริฐสี่อย่าง (คืออริยสัจสี่) มีป้ายบอกทางอันประเสริฐอยู่แปดป้าย (คือ มรรคมีองค์แปด) มีใจความสำคัญอยู่สามอย่าง (คือ โอวาทปาฏิโมกข์) และวางใส่ไว้ในตะกร้าสามใบคือ ตะกร้าใบแรกใส่พระวินัย ตะกร้าใบที่สองใส่พระสูตร ตะกร้าใบที่สามใส่พระอภิธรรม ตะกร้าทั้งสามนี้เรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ ไตรปิฎก ” พระธรรมวินัยนี้ได้ถูกจำแนกแยกส่วนเอาไว้อย่างเหมาะสมกับเหล่าสาวกสาวิกาของพระองค์ในทุก ๆ ระดับเช่น เป็นพระภิกษุต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ของความเป็นภิกษุ เป็นพระภิกษุหญิงก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ของความเป็นภิกษุหญิง เป็นสามเณรก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ของความเป็นสามเณร เป็นสามเณรหญิงก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ของความเป็นสามเณรหญิง เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ของความเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา เป็นทายกก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายก เป็นคนวัดก็ต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นคนวัด พระพุทธเจ้าได้จำแนกพระธรรมวินัย อันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายได้ศึกษาและเลือกเอาวิธีปฏิบัติที่จะเกิดประโยชน์เกื้อกูล ให้เหมาะสมกับภาวะของตนเองเช่น เรื่องศีล ถ้าเป็นพระภิกษุก็ต้องรักษาศีลอันเป็นของภิกษุให้ครบถ้วน ตามที่พระองค์ได้บัญญัติไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เช่นนี้จึงจะสมควรในการดำรงตนอยู่ในเพศของภิกษุ ถ้าภิกษุใดไม่ประพฤติตนให้เป็นไปตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ภิกษุนั้นก็ไม่ควรจะอยู่ในเพศของภิกษุอีกต่อไป เพราะผู้ที่จะอยู่เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ ต้องแน่ใจว่าตนเองสามารถประพฤติปฏิบัติตามข้อวัตรต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ได้ และอีกอย่างพระพุทธเจ้าก็มิได้บังคับผู้ใดให้มาถือบวชเป็นพระภิกษุสามเณรที่จะต้องเคร่งครัดต่อข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ เพราะเมื่อผู้ใดได้ศึกษาพระธรรมวินัยดูแล้ว เห็นว่าตนเองไม่สามารถจะปฏิบัติข้อวัตรต่าง ๆ ของพระภิกษุสามเณรให้บริบูรณ์ได้ ผู้นั้นก็ไม่ควรบวช ถ้าหากว่าบวชอยู่แล้วและรู้ดีว่าตนเองไม่สามารถจะปฏิบัติตามพระวินัยได้ ก็ควรลาสิกขาหรือสึกออกไป ควรจะถอยภาวะของความเป็นพุทธบริษัทลงไปอยู่ในกรอบและระเบียบที่เหมาะสมกับตนเองเช่น ถอยไปเป็นคนที่ถือศีลแปดเป็นประจำ ถ้าพิจารณาดูแล้วศีลแปดนี้ก็ยังไม่ไหวอีก ก็ถอยไปที่ภาวะของผู้ถือศีลห้าเป็นประจำ ถ้าพิจารณาดูแล้วศีลห้านี้ตนเองก็ยังไม่ไหวอยู่อีก ก็ถอยลงไปอยู่ในภาวะของผู้ถึงพระรัตนตรัย (คือ พุทธ ธรรม สงฆ์) เป็นที่พึ่ง เป็นที่สักการบูชายิ่ง แม้จะยังอยู่แค่ในภาวะของผู้ถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก็ตาม แต่ถ้าถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ถูกต้องและบริสุทธิ์ ก็ยังมีคุณค่ามากมายมหาศาลจนไม่สามารถจะทำการประมาณได้เลย พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้อย่างนี้ ที่ข้าพเจ้าได้แถลงการณ์เปิดคดีอย่างยืดยาวมาขนาดนี้ ก็ต้องการให้บรรดาชาวพุทธและชาวโลกได้พิจารณาดูบ้างว่า พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนเอาไว้อย่างไรบ้าง ? มิใช่แห่แหนกันบวชเข้ามา แล้วก็ปกปิดซ่อนเร้นพระธรรมวินัยที่ถูกต้องเอาไว้ ไม่เปิดเผยออกมาให้ชาวโลกได้รับทราบกันอย่างทั่วถึงทุก ๆ หมวด ทุก ๆ พระสูตร ก็มีอยู่บ้างที่พระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้านำพระธรรมวินัยบางหมวด บางสูตร ออกมาเปิดเผยกัน แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วส่วนมากก็เป็นพระสูตรที่สามารถหลอกปลิ้นกระเป๋าสตางค์ชาวบ้านได้ พระภิกษุที่วางแผนบาป คิดเองทำเอง เพื่อทำการค้าขาย แสวงหาเงินและทองไม่แตกต่างจากบรรดาฆราวาสชาวบ้านทั่ว ๆ ไป บางท่านบางวัดก็ทำตัวเหมือนพ่อค้า บางท่านบางวัดก็ทำตัวเหมือนนักธุรกิจใหญ่ มีกิจการในการลงทุนหลายร้อยหลายพันล้านบาทก็มี ชาวบ้านชาวเมืองที่ไร้การศึกษาพระธรรมวินัยให้ทั่วถึงและถูกต้อง ก็หลงงมงายเข้าร่วมขบวนการบาป เช่นนี้ก็มีอยู่มากมายหลายล้านคน ทั้ง ๆ ที่พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านี้ ห้ามพระภิกษุทำการซื้อและการขายอย่างเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ไม่มีการยกเว้นให้ เมื่อข้าพเจ้าเป็นพระภิกษุที่เปิดเผยพระธรรมวินัยออกมาให้ชาวโลกได้ศึกษาค้นคว้า ตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้อย่างตรงไปตรงมา ข้าพเจ้าก็กลายเป็นคนเสนียด, คนจัญไรในความคิดของคนทั่ว ๆ ไป ตามที่ข้าพเจ้าถูกกล่าวหาอยู่ในขณะนี้ จึงทำให้ข้าพเจ้าต้องชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้พระธรรมวินัยนี้ยังคงอยู่และดำเนินต่อไปได้ โดยไม่ปล่อยให้พวกพระภิกษุโมฆะบุรุษทั้งหลายทลายกระเป๋า ทะลวงหีบสมบัติของชาวบ้านชาวเมืองที่โง่เขลาในเรื่องพระธรรมวินัย แล้วนำมาเข้ากระเป๋าของตนเองและพวกพ้องให้สดชื่นเบิกบานสะดวกง่ายดาย ถึงแม้จะมีการขมขู่ที่จะฆาตกรรมข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ต้องสู้ชี้แจงและเปิดเผยพระธรรมวินัยที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าออกไปให้ชาวโลกได้รับทราบกันอย่างทั่วถึงต่อไป แม้จะต้องตายเพราะการกระทำเช่นนี้ข้าพเจ้าก็ยอมรับได้ เพราะพระธรรมวินัยนี้เป็นพินัยกรรมอันสมบูรณ์ที่พระพุทธเจ้ามอบไว้ให้ลูก, หลาน, เหลน, โหลน, ไปจนถึงลูกของโหลน หลานของโหลน เหลนของโหลน โหลนของโหลน ฉะนั้น พระธรรมวินัยนี้จึงต้องถูกเปิดเผยตามความเป็นจริงออกไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันนี้พวกนักบวชในพระพุทธศาสนาทั้งหลาย ทำตัวให้ชาวโลกเขางุนงงสงสัยอยู่ว่าพระธรรมวินัยกล่าวเอาไว้อย่างนี้ แต่ทำไมพระภิกษุสามเณรกลับมีการประพฤติปฏิบัติไปอย่างโน้น เมื่อพิจารณาดูแล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้ากันได้เลย ระหว่างการกระทำของพระภิกษุสามเณรกับบทบัญญัติทางพระธรรมวินัย ทำให้ชาวบ้านเขาสงสัยหนักเข้าไปอีกว่า พระธรรมวินัยนี้สงสัยจะมีอยู่แต่ในกระดาษ สงสัยจะเป็นแค่ตำนานเล่าขานต่อ ๆ กันมาเท่านั้น ไม่สามารถที่จะนำออกมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดมรรค, เกิดผล, เกิดประโยชน์ใด ๆ ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะหาพระภิกษุสามเณรที่ประพฤติปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัย และประกาศถึงผลานิสงส์ของพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง ให้ชาวโลกได้รับรู้นี้ไม่มีเลย ทีนี้ก็ต้องถามชาวพุทธทั้งหลาย ทั้งนักบวชและฆราวาสว่า ถึงเวลาที่ชาวพุทธเราควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนได้หรือยัง เนื่องจากที่ผ่านมาชาวพุทธทั้งหลายมีการกระทำเหมือนเหยียบพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าไว้ ตัดเนื้อเถือหนังของพระพุทธองค์ออกมาค้าขายกัน โดยไม่มีความละอายใด ๆ ชาวพุทธเราควรตั้งใจคำนวณดูให้ดีว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า “ เมื่อพระองค์ปรินิพพานไป ธรรมและวินัยจะเป็นตัวแทนพระองค์ ” แต่ในขณะนี้ชาวพุทธกำลังตัดพระธรรมวินัยออกค้าขายกันเกลื่อนเมือง โกหกหลอกลวงกันและกัน ด้วยการนำเอาวัตถุสิ่งของต่าง ๆ มาสมมติขึ้นเอง แล้วก็บอกว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในพระพุทธศาสนาเช่นพระพุทธรูปหล่อ, ปั้น, และเครื่องรางของขลังทั้งหลายเป็นต้น ข้าพเจ้าจึงอยากจะเชิญชวนชาวพุทธทั้งหลาย ให้หวนคืนกลับมาศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก อันเป็นที่รวบรวมและบรรจุคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาของพวกเราก่อนที่จะสายเกินไปกว่านี้ เพราะขณะนี้ชาวพุทธเรามีการกระทำที่ขัดกับพระธรรมวินัยอย่างมากมายแล้ว ชาวพุทธบางกลุ่มเมื่อข้าพเจ้าอ่านคำสอนของพระพุทธองค์ให้ฟัง เขารับฟังไม่ได้ เพราะมันจะบาดและเสียดแทงความรู้สึกของเขามาก เพราะว่าพวกเขาเหล่านี้กำลังค้าขายพระธรรมวินัยกันอยู่ เช่น บรรดานักบวชในพระพุทธศาสนาผู้แสวงหาเงินทองและมีเงินทองเป็นของส่วนตัว บรรดาผู้แสดงธรรมแลกเงินทองและสิ่งของต่าง ๆ บรรดาผู้ที่แจกรูป, แจกเหรียญ, ขายรูป, ขายเหรียญและโฆษณาว่าสิ่งเหล่านี้เป็นมงคลนัก ส่วนบรรดาประชาชนชาวพุทธทั้งหลายที่มืดบอดทางด้านสติปัญญา และกำลังไขว่คว้าหาที่พึ่งทางจิตใจ เมื่อได้ยินคำโฆษณาชวนเชื่อที่ผิด ๆ ของบรรดานักค้าพระธรรมวินัยเช่นนี้ ประกอบกับตนเป็นผู้ด้อยการศึกษาในพระพุทธศาสนา ต่างก็แสวงหาเอาวัตถุผิด ๆ เหล่านี้มาเป็นที่พึ่งของจิตใจ ก็ทำให้ยิ่งมืดมนอนธการ ปิดหู ปิดตา ปิดใจของตนให้มืดตื้อหนักเข้าไปใหญ่ เพราะฉะนั้น ชาวพุทธเราจึงควรคิดใหม่ ทำใหม่ได้แล้ว ไม่ใช่จะตั้งหน้าตั้งตาหาแต่วิธีการที่จะทำให้ข้าพเจ้าลาสิกขาและจับยัดเข้าคุกให้ได้ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ขายธรรมขายวินัย ซึ่งก็หมายความว่าข้าพเจ้าไม่ได้ขายพระพุทธเจ้าด้วย และก็ไม่ใช่แค่เอา หิน, ปูน, ทราย, เงิน, ทอง, ทองเหลือง, ธาตุดินทั้งหลายทั้งปวง มาหล่อ มาปั้น แล้วก็สมมติชื่อโกหกหลอกหลวงว่าเป็นพระศาสดา แล้วก็นำออกโฆษณาค้าขาย ให้ชาวพุทธผู้โง่เขลานำไปเป็นที่พึ่งของจิตใจกันอย่างนั้นเลย แม้เพียงหยาดเหงื่อหยดหนึ่งของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขาย แม้เพียงคำดำรัสของพระพุทธเจ้าเพียงคำเดียวข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขาย เนื่องเพราะพระพุทธองค์มีคำสั่งไว้ว่า “ ธมฺเมน น วณีจเร ” แปลว่า “ อย่านำธรรมไปทำการค้า ” ก็หมายความว่า ต้องไม่เอาธรรมไปทำการค้าขาย รวมไปถึงการแสดงธรรมหรือเทศน์แล้วรับสิ่งของหรือเงินทองต่าง ๆ เป็นการตอบแทน เช่นนี้ก็ผิดพระวินัย แต่ถ้าแสดงธรรมให้ผู้ฟังเขารู้ธรรม แล้วเขามีศรัทราเกิดขึ้นเอง ต้องการจะถวายสิ่งของที่ถูกต้องตามพระวินัย และสมควรแก่การเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา อย่างนี้ก็สามารถรับได้ สำหรับผู้แสดงธรรมหรือเทศน์นั้น ก็ไม่สำคัญว่าจะเป็นผู้บวชมานานหรือบวชมาใหม่ สิ่งสำคัญคือท าผิดหรือทำถูก เพราะในพระธรรมวินัยนี้แม้จะบวชมานานถ้าทำผิดก็เป็นผิดและแม้จะบวชมาใหม่ถ้าทำถูกก็เป็นถูก แต่ตอนนี้พระภิกษุสามเณรในโลกนี้ส่วนมากจะพากันทำผิดพระวินัย โดยมีข้ออ้างว่าเพื่อช่วยชาวบ้านบ้าง เพื่อช่วยสังคมบ้าง แล้วก็ออกเดินสายเรี่ยไรรับเงิน รับทอง รับสิ่งของไปแจกกันอย่างโจ่งแจ้ง สวนทางกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนไว้ว่า เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุสามเณรคุณสมบัติอย่างตำที่สุด เมื่อยังไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็ต้องเป็นภิกษุสามเณรที่รักษาวินัยหรือศีลของตนไว้ให้ได้ จึงจะเป็นเนื้อนาบุญสร้างความเจริญให้แก่บรรดาฆราวาสที่เขาอุปัฏฐากเลี้ยงดู ให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ในเพศนักบวชของพระพุทธศาสนาได้ ถ้าภิกษุสามเณรใดไม่สามารถจะรักษาศีล และข้อวัตรปฏิบัติของตนให้บริสุทธิ์ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าภิกษุสามเณรนั้นเป็นโมฆะบุรุษ หมายถึงเป็นบุคคลผู้สร้างความฉิบหายให้ตนเองและผู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนทั้งมนุษย์และเทวดาทั้งหลายตลอดจนถึงพรหมโลกโน่นเลย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นมนุษย์หรือเทวดา ถ้าให้การอุปัฏฐากเลี้ยงดูพระภิกษุสามเณรที่ละเมิดศีลนี้ ก็จะประสบกับความฉิบหายถ้วนหน้ากันทั้งนั้น ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่าภิกษุที่เลวทรามย่อมทำให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเดือดร้อน เล่มที่ 33 หน้า 394 ของพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม (มหามกุฎราชวิทยาลัย) มีเนื้อความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไปหรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไปหรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเล่มที่ 34 หน้า 87 มีเนื้อความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.... บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก (มีการกระทำ) ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญา (รับรองตัวเอง) ว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร? เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม งูที่จมคูถ(ขี้) ย่อมไม่กัดก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนั้น จึงควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้. และที่เล่ม 2 หน้า 617 ถ้าบุคคลผู้ทุศีล(คือ ละเมิดศีล) ไม่สำรวม ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร (ความทะยานอยาก) เป็นผู้ลวงโลกด้วยกิริยาหลอกลวงนี้ พึงบริโภค คือ พึงกลืนกินก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ การที่ผู้ทุศีลพึงฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ 1 การที่บุคคลพึงกินก้อนเหล็กแดงนี้ 1 ใน 2 อย่างนั้น ก้อนเหล็กเทียว อันภิกษุนั้นบริโภคแล้ว พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือดีกว่าและประณีตกว่า เพราะว่าภิกษุนั้นจะไม่เสวยทุกข์ ซึ่งมีการกำหนดรู้ได้ยากแม้ด้วยสัพพัญญุตญาณในสัมปรายภพ (ภพหน้า) เพราะบริโภคก้อนเหล็กแดง แต่จะได้เสวยทุกข์ มีประการดังกล่าวแล้วในสัมปรายภพ เพราะเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นซึ่งตนได้มาแล้วด้วยอาการอย่างนั้น จริงอยู่ อาชีพนี้จัดเป็นมิจฉาชีพขั้นสุดยอด (คือบวชเป็นพระแต่ไม่รักษาพระวินัย) และอีกอย่างหนึ่ง การที่พระพุทธเจ้าห้ามคบหาสมาคมกับภิกษุผู้ละเมิดศีลนั้น ก็เพราะว่าเมื่อคบหาสมาคมกันแล้ว ย่อมจะเป็นการหักรานประโยชน์เกื้อกูลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้าของตนเองด้วย นอกจากนี้คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความพินาศฉิบหายจากการที่พระภิกษุสามเณรละเมิดศีลของตนนี้ ยังมีอยู่อีกมากมายที่มีปรากฏเนื้อความในพระไตรปิฎก เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถึงอันตรายและความน่ากลัวของพระภิกษุสามเณรละเมิดศีลดังว่ามานี้ แล้วพระภิกษุสามเณรทั้งหลายยังจะดื้อด้านต่อไปอีกหรือ? การเหยียบย่ำพระพุทธองค์ก็คือการเหยียบย่ำพระธรรมวินัย การเหยียบย่ำพระธรรมวินัยก็คือการเหยียบย่ำพระพุทธองค์นั่นเอง ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน บาปกรรมจะยังไม่สามารถให้ผลเหยียบย่ำทำลายพระภิกษุสามเณรที่ละเมิดศีล และถึงแม้ว่าบางท่านจะไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นบาปหนัก แต่การสั่งสมบาปครั้งละเล็กครั้งละน้อยก็จะทำให้ได้บาปมากมายมหาศาล และจะต้องได้ทนทุกข์ทรมานจากผลของบาปอย่างแสนสาหัสและยาวนานอย่างแน่นอนที่สุด เพราะต้องไม่ลืมว่าเมื่อทำกรรมใด ๆ แล้ว กรรมนั้น ๆ เมื่อยังไม่ให้ผลในปัจจุบันก็ย่อมรอโอกาสที่จะให้ผลในกาลต่อ ๆ ไปแน่นอน พระพุทธศาสนาสอนให้เรารู้ว่าสิ่งใดเป็นบาป สิ่งใดเป็นบุญ สอนให้รู้ว่าบาปเกิดขึ้นจากการกระทำเช่นใดบ้าง สอนให้รู้ว่าบุญเกิดขึ้นจากการกระทำเช่นใดบ้าง ผลของการทำบาปจะต้องได้ทนทุกข์ทรมานอยู่ในภูมิของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ส่วนผลของการทำบุญก็จะได้เสวยความสุขสบายอยู่ในสรวงสวรรค์ต่อไปอย่างนี้เป็นต้น เมื่อพระพุทธเจ้าประกาศเอาไว้ชัดเจนเช่นนี้ ส่วนจะมีผู้รู้เห็นนรกและสวรรค์หรือไม่ก็ตามเถิด แต่พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ทรงความรู้อันประเสริฐทั้งหลาย ก็ได้ประกาศยืนยันรับประกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยว่า นรกและสวรรค์มีจริง บาปและบุญก็มีจริง ผู้ที่ได้เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้ศึกษาเล่าเรียนหรือได้ยินได้ฟังเรื่องอย่างนี้มาบ้างอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าจึงอยากจะถามฝ่ายโจทก์และฝ่ายที่เพ่งโทษของข้าพเจ้าอยู่ว่า พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ทั้งหมด ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนี้ใช้การไม่ได้แล้วเหรอ หรือว่ามีบางส่วนที่ใช้การได้บางส่วนใช้การไม่ได้ หรือว่ามีส่วนไหนของพระธรรมวินัย ที่ไม่เหมาะกับคนสมัยนี้และจะหาผู้ที่สามารถชี้ชัดได้ไหมว่า จะต้องตัดพระธรรมวินัยส่วนนี้ออกและเอาส่วนนี้ไว้ ถ้าชาวพุทธเราไม่เอาพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องราวของพระพุทธศาสนาให้มั่นคงแล้ว ชาวพุทธเราจะเอาหลักฐานใดมาอ้างอิงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อใช้เป็นแม่แบบในการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป แต่ไม่ว่าผู้ใดจะหาวิธีตัดทอนพระธรรมวินัยด้วยข้ออ้างประการใด ๆ ก็ตามเถอะ ส่วนข้าพเจ้าและคณะจะไม่ตัด จะไม่ทอนพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าส่วนใด ๆ ทิ้งไป แต่จะค้นคว้าออกมาประกาศให้ชาวโลกทั้งหลายได้รับทราบว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้บ้าง เพราะเชื่อมั่นอย่างล้นเหลือว่า “ ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเป็นอกาลิโก คือเป็นพระธรรมคำสอนที่ไม่ขึ้นอยู่กับกาลกับสมัยกับเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมคำสอนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา แม้กาลเวลาจะผ่านไปยาวนานสักเท่าไหร่ก็ตาม ” และการค้นคว้าเพื่อเปิดเผยพระธรรมวินัยของข้าพเจ้าและคณะนี้ ก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปขัดขวางผลประโยชน์ของใคร ๆ แต่เป็นการเปิดเผยพระธรรมวินัยออกไปตามที่เป็นจริง แต่ถ้าหากดูเหมือน ๆ ว่า จะไปขัดขวางประโยชน์ของผู้ใดจากการทำงานเช่นนี้ อันนั้นมันก็เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นเรื่องสุดวิสัยจริง ๆ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้เช่นนี้จริง ๆ ไม่ใช่ข้าพเจ้าและคณะอุตริคิดค้นด้นเดากันขึ้นมาเองโดยไม่มีที่มาที่ไป ที่จะนำมาอ้างอิงให้สังคมได้รับรู้และตรวจสอบได้ตลอดเวลา สำหรับในราชอาณาจักรไทยนี้ ยังมีผู้คนยินดีที่จะให้ความเคารพนับถือพระพุทธศาสนา อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้ยินดีเคารพนับถือเหล่านั้น ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างถูกต้องก็มีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน เพราะเดินทางไป ณ ที่แห่งใด? วัดไหน ? ก็มีแต่ปกปิด ซ่อนเร้นพระธรรมวินัยที่ถูกต้องเอาไว้ ไม่พูด ไม่บอก ไม่กล่าว ไม่แสดงให้ผู้คนเหล่านั้นได้รับทราบกันเลย บรรดาพวกที่ยินดีเคารพนับถือพระพุทธศาสนานั้นก็มีทั้งทหาร ตำรวจ ครูบาอาจารย์ นักธุรกิจ ผู้พิพากษา ข้าราชการในกระทรวงกรมกองต่าง ๆ นักเรียน นักศึกษา และรวมไปถึงเกษตรกรทั้งหลายด้วย ต่างก็พากันปฏิญาณตนว่าจะซื่อสัตย์ จะรักษา จะทะนุบำรุงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้ยั่งยืน มั่นคงยาวนาน คำว่า “ ชาติ” เขาทั้งหลายเหล่านี้ก็พอรู้จักบ้าง คำว่า “ พระมหากษัตริย์” ก็พอรู้จักบ้าง แต่คำว่า “ ศาสนา” ในที่นี้หมายถึง “ ศาสนาพุทธ ” และศาสนาพุทธก็เป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้ความเคารพนับถือ เรื่องราวของศาสนาพุทธนี่แหละที่เขาเหล่านี้ไม่รู้เรื่องเอาเลย หรือที่รู้ก็รู้ไปแบบผิดๆ ปฏิบัติกันแบบผิดๆ ส่วนที่พอจะรู้เรื่องบ้าง ก็มีจำนวนเล็กน้อย จนไม่กล้าที่จะเอ่ยอ้างในสิ่งที่ถูกต้องออกมา เพราะกลัวกระแสสังคมจะโจมตีอย่างหนัก เหมือนกับที่ข้าพเจ้ากำลังประสบอยู่ ณ เวลานี้ บรรดาผู้ที่ปฏิญาณตนต่อพระพุทธศาสนา จึงกระทำผิดต่อพระพุทธศาสนามากมายก่ายกองเต็มทั้งแผ่นดินอยู่ในเวลานี้ เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาดู การเข้าใจผิดและปฏิบัติผิดของพี่น้องประชาชนชาวพุทธเรา ก็สรุปได้ว่า “ เป็นเพราะขาดการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างหนัก ” ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าและคณะ จึงต้องเปิดเผยพระธรรมวินัยออกมาสู่พุทธศาสนิกชน โดยชี้ให้เห็นว่า พระพุทธรูปไม่ใช่ตัวแทนของพระพุทธเจ้า และก็ไม่ใช่วัตถุอันเป็นที่เคารพในพระพุทธศาสนา มีแต่พระธรรมวินัยเท่านั้นที่เป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า จนถึงวันนี้ก็มีชาวพุทธเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้การกระทำเช่นนี้ข้าพเจ้าและคณะ จะประสบความยากลำบาก และเหน็ดเหนื่อยในการอธิบายชี้แจงต่อพุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็ตาม แต่ก็เห็นควรว่าต้องทำการสอนพุทธศาสนาเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงวันตาย เรื่องที่ข้าพเจ้าจะแถลงต่อศาลก็ยังมีอีกมากมายหลายเรื่อง แต่ก็จบเรื่องเอาไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวลที่ดำรงอยู่ในโลกธาตุดินแดนทั้งหลายเถิด ”
พระเกษม อาจิณฺณสีโล

คำคม เขียนบอก[แก้ไข]

  • โดย พระเกษม อาจิณฺณสีโล
“ พวกมารเขาฉลาดอยู่มาก พวกมารเขาหลอกคนให้บริจาคทานเยอะ ๆ พวกมารเขาหลอกคนให้เคารพรูปต่าง ๆเยอะ ๆ

พวกมารเขาหลอกคนให้รักษาศีลไม่ได้ พวกมารเขาหลอกคนให้ภาวนาทำกรรมฐานทั้ง ๆ ที่มีกังวลหลายอย่าง พวกมารเขาหลอกพระในพุทธศาสนาให้ยุ่งเหยิง – วุ่นวาย จนไม่สามารถจะรักษาศีลของพระได้ พระจึงเป็นพระทุศีล แล้วพวกมารก็หลอกโยมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนาให้เข้าไปบริจาคทานกับพระทุศีลด้วยสิ่งของเยอะ ๆ พวกมารทำเช่นนี้ก็เพื่อให้โยมผู้ใจบุญได้บาปมาก ๆในการบริจาคทานแก่พระทุศีลนั่นเอง

เมื่อรู้เรื่องของมารแบบนี้แล้ว พวกเราต้องให้ทานกับพระแค่พอให้พระอยู่ได้ และอุปถัมภ์ผู้เขาเคารพและรับใช้พระซึ่งก็คือโยมวัด ให้ดำรงอยู่ได้โดยสะดวก เมื่อโยมวัดก็สะดวกดีแล้ว

ผู้ที่มีกำลังในการให้ทานก็ควรให้ทานแก่ลูก ๆ – บริวารทั้งหลายของตนและผู้ลำบากทั่ว ๆไป ไม่ใช่ขนสิ่งของไปบริจาคให้แต่วัดอย่างเดียว การขนสิ่งของไปบริจาคให้วัดก็พอให้วัดดำรงอยู่ได้เท่านั้น และพอได้เป็นทุนบุญของตนเอง แล้วก็ใช้ทุนบุญนั้นสร้างบุญต่อ ๆ ไป (เบิกบุญจ่าย)

วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ทั้งหลายของตนเอง ก็ให้มีไว้ใช้แต่พอดีไม่ควรมีให้เหลือเฟือจนเกินไป คือ พอให้กิจกรรมในการดำรงชีวิตของตนเองดำเนินไปได้อย่างสะดวก

1. บุญทานเป็นสิ่งที่เราควรสร้างเองและสร้างบุญทานตามที่พระพุทธเจ้าสอน 2. บุญศีลเป็นสิ่งที่เราควรสร้างเองและสร้างบุญศีลตามที่พระพุทธเจ้าสอน 3. ธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง โดยการใช้บุญทานและบุญศีล เป็นเครื่องสนับสนุนในการส่องดู - ตรวจดูพระธรรมคำสอน

การทำทานทุกอย่างเปรียบเหมือนเป็นการสร้างฐานของยานพาหนะ การสร้างบุญศีลที่สมบูรณ์เปรียบเหมือน การประกอบเครื่องกั้น – มุง ของยานพาหนะ การเรียนรู้ธรรมคำสอนเปรียบเหมือน การตรวจดูว่าเราจะนำยานพาหนะดำเนินไปทางไหนจึงจะถึงเป้าหมาย ตามที่พระพุทธองค์บอกไว้ และตรวจดูสิ่งของสัมภาระบนยานพาหนะของเราว่าพอเหมาะพอควรกับการเดินทางไหม หากสัมภาระในยานพาหนะมีมากเกินไป ยานพาหนะก็จะข้ามภูเขาสูง, ร่องลึก, คลื่นสูง, น้ำเชี่ยว, ลมแรงพุ่ง, ลมหมุน และฝ่าเปลวเพลิงไปไม่ได้ ยานพาหนะก็อาจจะพังยับเยินก่อน

คือ สร้างบุญทานก็กะว่าให้พอไปรอด สร้างบุญศีลก็ทำตามที่พุทธองค์สอนไว้ให้มั่นคงนั้นก็พอแล้ว พระธรรมคำสอนก็ต้องเร่งเรียน – เร่งเล่าเรียนให้รู้ - เรียนให้รู้ทิศทางอย่างทั่วถึงรอบคอบ ทั้งทิศเหนือ – ใต้ – ตะวันออก – ตะวันตก – ด้านบน – ด้านล่าง – ด้านขวาง - รวมทั้งฤดูกาล เราจะได้รู้จักเลือกดำเนินไปให้ตรงทางแต่เพียงสายเดียวเท่านั้น เพื่อจะได้ไปให้ถึงเป้าหมายตามที่พระพุทธองค์ได้บอกไว้โดยเร็ว

”
พระเกษม เขียนที่กุฏิ 9 / 03 / 51

รายการอ้างอิง[แก้ไข]