อัศนี พลจันทร

จาก วิกิคำคม

คำกล่าวโดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล[แก้ไข]

“

ถ้าผู้ชายคนหนึ่งเทใจทุ่มชีวิตให้กับอะไรสักอย่าง กระทั่งนิยามความถูกต้องดีงามไว้กับสิ่งนั้น ชัยชนะในเรื่องนี้ย่อมหมายถึงการเดินทางไปพบกับความครบถ้วนของตัวตนในเบื้องลึกของความรู้สึก ส่วนการพ่ายแพ้ ย่อมไม่อาจเป็นอื่นนอกจากการถอนราก ถอนโคนชีวิตของเขา...

”

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พูดถึงนายผี

คำกล่าวโดย หงา คาราวาน[แก้ไข]

เพลง โดย หงา คาราวาน

“

 

ลูกหลานร้องเพลง บรรเลงเรื่อยไป
ผู้เฒ่าอยู่ไหน ไม่เห็นชะตา
นมนานมาแล้ว ท่านไปแนวหน้า
กลับมา กลับมา ลูกหลานเป็นห่วง
ใครหน่วง ใครรั้ง ใครขัง เอาไว้
ขอเพียงร่างกาย หัวใจมีปีก
หลีกทางให้ที ผู้ใดขวางกั้น
ผีเสื้อตัวนั้น พลจันทร เดือนเพ็ญ
เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ใจดี
เป็นลุงอัศนี พลจันทร
ผู้นำความฝัน กลั่นความเป็นจริง
ทิ้งฝากลูกหลาน ขับขานเพลงเดือนเพ็ญ
”

เพลง พลจันทรเดือนเพ็ญ;
ศิลปิน หงา คาราวาน แอ๊ด คาราบาว และ อัสนี โชติกุล

หงา คาราวาน บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ว่า

...ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง 'คิดถึงบ้าน' ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว

“
ในฟ้าบ่มีน้ำ ในดินซ้ำมีแต่ทราย
น้ำตาที่ตกราย ก็รีบซาบบ่รอซึม
แดดเปรี้ยงปานหัวแตก แผ่นดินแยกอยู่ทึบทึม
แผ่นอกที่ครางครึม ขยับแยกอยู่ตาปี
มหาห้วยคือหนองหาน ลำมูลผ่านเหมือนลำผี
ย้อมชีพคือลำชี อันชำแรกอยู่รีรอ
แลไปสะดุ้งปราณ โอ! อีศาน, ฉะนี้หนอ
คิดไปในใจคอ บ่อค่อยดีนี้ดังฤๅ?
พี่น้องผู้น่ารัก น้ำใจจักไฉนหือ?
ยืนนิ่งบ่ติงคือ จะใคร่ได้อันใดมา?
เขาหาว่าโง่เง่า แต่เพื่อนเฮานี่แหละหนา
รักเจ้าบ่จาง ฮา! แลเหตุใดมาดูแคลน
เขาซื่อสิว่าเซ่อ ผู้ใดเน้อจะดีแสน
ฉลาดทานเทียมผู้แทน ก็เห็นท่าที่กล้าโกง
กดขี่บีฑาเฮา ใครนะเจ้า? จงเปิดโปง
เที่ยววิ่งอยู่เทงโทง เที่ยวมาแทะให้ทรมาน
รื้อคิดยิ่งรื้อแค้น ละม้ายแม้นห่าสังหาร
เสียตนสิทนทาน ก็บ่ได้สะดวกดาย
ในฟ้าบ่มีน้ำ! ในดินซ้ำมีแต่ทราย
น้ำตาที่ตกราย คือเลือดหลั่ง!ลงโลมดิน
สองมือเฮามีแฮง เสียงเฮาแย้งมีคนยิน
สงสารอีศานสิ้น อย่าซุด,สู้ด้วยสองแขน!
พายุยิ่งพัดอื้อ ราวป่าหรือราบทั้งแดน
อีศานนับแสนแสน สิจะพ่ายผู้ใดหนอ? ฯ
”

บทกวี : อีศาน, สยามสมัย, 2494