ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
หน้าตา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ล ให้สอดคล้องกับ MoS ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว |
||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
{{เรียงลำดับ|นารายณ์มหาราช}} |
{{เรียงลำดับ|นารายณ์มหาราช}} |
||
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ไทย]] |
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ไทย]] |
||
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2175]] |
|||
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2231]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:44, 23 พฤศจิกายน 2567
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททอง
พระราชดำรัส
ไม่ทราบวันที่
- เจ้าเปนคริสเตียน ถ้าเจ้าจะกลับมาถือสาสนาของฉันเมื่อใด ฉันจะถือว่าเจ้าเปนคนโกงคบไม่ได้ทีเดียว[1]
- ตรัสกับพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) อ้างใน Mémoire pour server à l’histoire de Louis XIV (พิมพ์: ค.ศ. 1995) ของบาทหลวงเดอชัวซี หน้า 392
พ.ศ. 2227 หรือ 2228 (ค.ศ. 1685)
- ส่วนที่จะให้คำตอบราชทูตเขาไปนั้น ขอให้เจ้า [หมายถึง พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)] นำคำของข้าไปบอกแก่เขาเถิดว่า ข้าขอบพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเจ้านายของเขายิ่งนัก ข้ารู้จากบันทึกที่เขาแจ้งมาถึงพระไมตรีจิตที่พระองค์ทรงมีอยู่ต่อตัวข้า และจากเกียรติที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นโปรดประทานแก่ข้าเป็นที่รู้กันอย่างเปิดเผยไปทั่วบูรพาทิศ ข้ามิรู้จะตอบแทนพระกรุณาของพระองค์ท่านฉันใดจึงจะสาสม แต่ข้ามีความลำบากใจอยู่นักต่อข้อเสนอของพระสหายของข้าอันเป็นสิ่งแสนยากที่จะปฏิบัติอนุวัฒน์ตามพระราชอัธยาศัยได้ และเป็นสิ่งที่ข้าไม่เคยรู้เรื่องรู้ราวมาแต่ก่อนเลย ข้าขอฝากเรื่องนี้ให้อยู่ในพระราชวินิจฉัยอันสุขุมคัมภีรภาพของพระเจ้าคริสต์ธรรมิกราช ให้ทรงช่วยพิจารณาถึงความสำคัญและความยุ่งยากนานประการอันจะพึงประสบในปัญหาอันละเอียดอ่อนนี้ กล่าวคือการแปลงจากพระศาสนาดั้งเดิม ซึ่งทั่วราชอาณาจักรของข้าได้นับถือเป็นเวลาสืบต่อกันมาตั้งสองพันสองร้อยยี่สิบเก้าปีแล้วโดยมิขาดสาย อนึ่งนั้น ข้ามีความประหลาดใจอยู่ว่าเหตุไฉนสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพระสหายของข้า จึงได้ทรงมีความสนพระทัยนักในกรณีที่เป็นพระภาระของพระผู้เป็นเจ้าโดยเฉพาะ ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าเองก็ดูเหมือนว่าจะมิได้ทรงสนพระทัยแต่ประการใด โดยละให้อยู่ในดุลยพินิจของเราโดยสิ้นเชิง ด้วยว่าพระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้สร้างสวรรค์และพิภพกับมนุษย์ทั่งหลายที่เราได้เห็น และโปรดประทานสภาวะธรรมชาติและความรู้สึกโน้มเอียงผิดแผกแตกต่างกันออกไปเห็นปานฉะนี้เล่า หากแม้เป็นพระประสงค์ของพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็อาจประทานร่างกายและจิตวิญญาณให้แก่มวลมนุษย์เสมอเหมือนกันไปทั่วทุกคน อาจทรงบันดาลให้มนุษย์ทั้งปวงมีอารมณ์ถาวรต่อพระศาสนาที่จะต้องนับถือเป็นอย่างเดียวกัน และให้ปฏิบัติลัทธิเดียวกันตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นเลิศที่สุด และทรงกำหนดกฎธรรมเนียมประเพณีเช่นเดียวกันแก่นานาประชาชาติทั่วโลก อันระเบียบแบบแผนในมวลมนุษย์ และเอกภาพอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งพระศาสนานี้ ย่อมขึ้นอยู่ต่อพระผู้เป็นเจ้าโดยสิ้นเชิงแต่พระองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งพระองค์อาจประสิทธิ์ประสาทได้โดยง่ายไปทั่วเมธีดล เข้าแทนลัทธินิกายหลายหลากที่ยังคงธำรงอยู่มาทุกยุคทุกสมัยนี้ได้ มิเป็นสิ่งที่ชวนให้เชื่อดอกหรือว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เที่ยงแท้เองก็ทรงพอพระทัยที่จะได้รับการเคารพบูชาโดยนัยแห่งลัทธิศาสนาและศาสนพิธีที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งกว่าที่จะทรงได้รับการเคารพบูชาจากมวลมนุษย์ที่ต่างคนต่างสรรเสริญพระกิตติคุณของพระองค์ท่านไปตามธรรมเนียมนิยมของตน? สุนทรีลักษณ์กับความแตกต่างนานาประการที่เรานิยมชมชื่นกันอยู่ในระดับธรรมชาติธรรมดาสามัญนี้ จักเป็นที่น่าชื่นชมน้อยกว่าในระดับวิสามัญเหนือหลักธรรมชาติ และเป็นการเสื่อมศักดิ์เสียศรีแก่พระกิตติคุณของพระผู้เป็นเจ้ากระนั้นหรือไร?
- ทรงตรัสตอบ เชอวาลีเยเดอโชมง ราชทูตฝรั่งเศส เมื่อทรงถูกขอให้มาเข้ารีตในศาสนาคริสต์ อ้างใน จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ครั้งที่ ๑ (พิมพ์: ค.ศ. 1688) ของบาทหลวงตาชาร์
หมายเหตุ
- ↑ สะกดอย่างโบราณ ตามที่พบในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๒