ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิมนุษยชน"

จาก วิกิคำคม
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tvcccp (คุย | ส่วนร่วม)
KSRB2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 19:
** [[เอเลนอร์ โรสเวลต์]] ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรวมตัวกันที่ปาแลเดอชาโยในกรุงปารีสเมื่อประธานหญิงของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948
** [[เอเลนอร์ โรสเวลต์]] ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรวมตัวกันที่ปาแลเดอชาโยในกรุงปารีสเมื่อประธานหญิงของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948


[[หมวดหมู่:สิทธิมนุษยชน]]
[[หมวดหมู่:หน้าหลัก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:49, 23 พฤศจิกายน 2567

มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ - ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด

คำคม

  • สิทธิมนุษยชนเป็นจิตวิญญาณของนโยบายต่างประเทศของเรา เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นจิตวิญญาณของสำนึกในความเป็นชาติของเรา

  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐและประเทศตะวันตกโดยทั่วไปไม่สามารถพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ พวกเขามีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะสหรัฐหลังจากเข้าไปในอิรัก และอังกฤษหลังจากรุกรานลิเบีย และสถานการณ์ในเยเมน และสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในการสนับสนุนภราดรภาพมุสลิมและการก่อการร้ายในตูนิเซีย ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะสหรัฐอเมริกา พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่เหยียบย่ำกฎหมายระหว่างประเทศและมติคณะมนตรีความมั่นคง ไม่ใช่พวกเรา

  • มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
    • มาตรา 1 ของสหประชาชาติ: ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (10 ธันวาคม ค.ศ. 1948)

  • วันนี้ เรายืนอยู่บนธรณีประตูของเหตุการณ์สำคัญทั้งในชีวิตของสหประชาชาติและในชีวิตของมนุษยชาติ นั่นคือการอนุมัติโดยสมัชชาใหญ่แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
    • เอเลนอร์ โรสเวลต์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรวมตัวกันที่ปาแลเดอชาโยในกรุงปารีสเมื่อประธานหญิงของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948