ข้ามไปเนื้อหา

เซเนกา (ผู้ลูก)

จาก วิกิคำคม

เซเนกาผู้ลูก มีชื่อเต็มว่า ลูเซียส แอนเนอุส เซเนกา (Lucius Annaeus Seneca มักเรียกโดยทั่วไปว่า Seneca หรือ Seneca the Younger- ประมาณ พ.ศ. 140 หรือ 4 BC - พ.ศ. 608) นักเขียน เจ้าลัทธิสโตอิกโรมัน นักปรัชญา รัฐบุรุษ นักเขียนบทละคร และมีงานหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเรื่องขำขัน บุรุษแห่งยุคเงินทางวรรณกรรมละติน (Silver Age of Latin literature)

คำคม

[แก้ไข]
“ It is a rough road that leads to the heights of greatness. ”
ถนนขรุขระ จะนำไปสู่​​ความยิ่งใหญ่ ที่สูงสุด


“ ที่ที่เราอยู่นั้นแม้ไม่อาจช่วยให้เรามีจิตสงบได้แต่จิตวิญญาณต่างหากที่ทำให้ทุกสิ่งเป็นที่พึงใจสำหรับเราข้าเคยพบเห็นผู้ซึ่งหม่นหมองเศร้าสร้อยในคฤหาสน์อันเต็มไปด้วยความรื่นเริง และผู้ที่เก็บตัวอยู่สันโดษ แต่ดูราวกับจะออกลุกขึ้นวิ่งอยู่กระนั้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดให้ท่านคิดเอาว่า ท่านไม่สามารถสงบจิตได้เท่าที่ควร เพียงเพราะท่านมิได้อยู่ในแคมปาเนีย

เหตุใดท่านจะไม่สามารถทำได้เพราะเรื่องนั้นเล่าส่งกระแสความคิดของท่านเดินทางมายังที่นี่สิไม่มีสิ่งใดดอกที่จะห้ามไม่ให้ท่านได้เข้าร่วมสังสรรค์กับเหล่าเพื่อนผู้อยู่ห่างไกลบ่อยครั้งได้เท่าที่ท่านต้องการ และเนิ่นนานได้ดังที่ท่านปรารถนาความรื่นรมย์จากการสมาคมซึ่งไม่มีสิ่งใดเทียบเทียมได้นั้นเป็นความรื่นรมย์ที่เราได้รับมากยิ่งขึ้นเมื่ออยู่ห่างไกลกันด้วยการมีเพื่อนอยู่ด้วยนั้นทำให้เราเหลิงเหตุเพราะเราพูดคุยกันเดินไปด้วยกันนั่งอยู่ด้วยกันได้ทุกเมื่อยามแยกจากกันไปเราก็ไม่ได้นึกถึงผู้ที่เราเพิ่งได้พบมาแม้แต่น้อยเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงควรอดทนรับสภาพยามมิได้พบปะกันก็คือความจริงที่ว่าพวกเราทุกคนล้วนละห่างจากเพื่อน แม้พวกเขาจะอยู่ใกล้แถวนั้นก็ตาม เราละจากเพื่อนในค่ำคืนที่อยู่ห่างกันในการกระทำกิจทั้งหลายที่ทำให้แต่ละคนมีธุระยุ่งอยู่เป็นนิจไปจนถึงในยามที่เราศึกษาอยู่ลำพังเป็นส่วนตัวและยามเราออกเดินทางสู่ชนบทแล้วท่านจะเห็นว่าช่วงเวลายามอยู่ต่างแดนนั้นมิได้เพิกถอนสิทธิเรามากเท่าใดนักดอก


การถือครองสิทธิในตัวเพื่อนนั้นควรเป็นการถือครองสิทธิทางจิตวิญญาณจิตวิญญาณมิเคยห่างหายจิตวิญญาณพบผู้ใดก็ได้ตามต้องการทุกๆวันดังนั้นขอให้ท่านได้ศึกษาร่วมกับข้าได้ทานอาหารร่วมกับข้า และได้เดินไปกับข้าด้วยชีวิตคงเป็นสิ่งจำกัดเหลือเกินหากมีสิ่งใดก็ตามมาขวางกั้นจินตนาการข้าพบท่านท่านลูซิลิอุสข้าได้ยินท่านณชั่วขณะนี้ข้ารู้สึกว่าท่านอยู่ณที่นี้จนข้าอดสงสัยไม่ได้ว่าข้าไม่ควรเริ่มเขียนบันทึกฝากถึงท่านแทนจดหมายหรืออย่างไรกัน!

”