เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)
เปาบุ้นจิ้น (จีน: 包青天, อังกฤษ: Justice Pao) เป็นละครโทรทัศน์ของไต้หวัน ที่ได้รับความนิยมมากออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์หัวซื่อ ประเทศไต้หวัน และในประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้นำมาออกอากาศในปีพ.ศ. 2538 และได้มีการนำมาออกอากาศซ้ำเป็นครั้งที่ 2ในปีพ.ศ. 2549 จำนวน 236 ตอน ปัจจุบันออกอากาศทางช่อง พอใจ แชลแนล เวลา 13.00 น.-14.00 น. กับ 22.00 น.-23.00 น.และยังทำให้วงการละครโทรทัศน์จีนจับตามองมาที่ไต้หวัน นอกจากนี้เพลงซินเยวียนยางหูเตี๋ยเมิ่ง (ความฝันผีเสื้อคู่ทุกข์คู่ยาก) เพลงปิดท้ายเรื่องในชุดที่ 1 ยังเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมาก
คำคม[แก้ไข]
คุณงามความดี[แก้ไข]
![]() |
คุณธรรมความดี ไม่ได้อยู่ที่ลิ้น
หากเก็บไว้ในใจ บุคคลผู้ใด ประพฤติตนตั้งอยู่ในธรรม ผู้นั้น จะมีบุตรและนัดดาสืบชาติต่อตระกูล บุตรและนัดดาของผู้นั้น ย่อมมีความกตัญญูต่อบิดามารดา ใครผิดใครถูก ต้องว่ากันไปตามทางยุติธรรม อย่าได้ลำเอียงเห็นแก่หน้าใครเป็นอันขาด ไม่ควรจะลงโทษประหารชีวิต โดยที่ไม่สอบปากคำนั้นเสียก่อน ถึงจะสอบถามแล้ว ก็ไม่ควรลงโทษ |
![]() |
![]() |
คุณความดีเว้นจากการทำบาป
และยังไม่คิดทำบาปอีกด้วย บุคคลผู้ใดใจบาปหยาบช้า ฆ่ามนุษย์ในครรภ์ นอกครรภ์ได้ ผู้นั้น แม้มีบุตรออกมาต่อชาติสืบตระกูล บุตรนั้นก็ย่อมเป็นคนอกตัญญู ถ้าจะสงสัยว่าบุตรผู้นี้ กับบิดาผู้ตายไปแล้วช้านาน จะเป็นสายโลหิตอันเดียวกันหรือมิใช่ ถ้ากระนั้นให้ขุดเอากระดูกของบิดามา แล้วให้เอามีดแทงนิ้วมือบุตร จงให้โลหิตไหลหยดถูกกระดูกนั้น ถ้ามิใช่บุตรกับบิดากันแล้ว โลหิตก็มิซึมซาบเข้าในกระดูกนั้นได้ ถ้าเป็นบิดากับบุตรโดยแท้แล้ว โลหิตนั้นก็จะซึมซาบเข้าไปในกระดูกนั้น |
![]() |
![]() |
คุณความดีเป็นรากฐาน
การสร้างสรรค์มิตรไมตรี
ผู้มีจิตใจเป็นพาล หาสมควรที่ผู้ใดจะคบหาด้วยไม่ อันว่าผู้ใดมีความพาล เรามิเห็นผู้นั้นสมควรจะมีอำนาจอยู่ในมือ เวลานี้เราตกอยู่ในอำนาจคนพาลแล้ว ถ้าไม่ยอมมันคงจะฆ่าเสีย ไหนเลยจะได้แก้แค้นแทนสามีเราได้ |
![]() |
![]() |
คุณความดี คือ การุณแสดงออก
ของสุภาพและจิตใจที่ดี
อันผู้ที่บวชเป็นชีบานาสงฆ์แล้ว มาคิดอุบายกระทำให้เขาขาดจากผัวเมียกัน แล้วกลับมาย้อนขอกระทำให้เขาเสียตัว โทษ...ถึงเชือดเนื้อให้กากิน |
![]() |
ความกตัญญู[แก้ไข]
![]() |
กตัญญูเป็นการแสดงออกของจิตใจ
อันสูงและประเสริฐ
...กตัญญู-อกตัญญู อันธรรมเนียมคนซึ่งเกิดมาแล้ว ก็ย่อมประพฤติด้วยความกตัญญูต่อเจ้านาย ต่อบิดา มารดา และมิตรสหาย จึงจะเป็นที่สรรเสริญแก่เทพยดา และมนุษย์ ชั้นแต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังรู้คุณคน เป็นมนุษย์ไม่รู้จักคุณท่านผู้มีคุณแล้ว สู้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ไม่ได้ ดูเป็นที่น่าอับอายแก่เดรัจฉานอันเป็นชาติต่ำช้ายิ่งนัก ชั้นแต่เดรัจฉานยังรู้จักคุณมนุษย์ แต่มนุษย์ด้วยกัน หาใครจะรู้จักคุณกันไม่ |
![]() |
คำพูด[แก้ไข]
![]() |
การมุสา เป็นก้าวแรกเดินเข้าสู่ประตูคุก
โบราณ และ ปัจจุบัน ปัญญาชนทั่วไปล้มเหลว เพราะความเย่อหยิ่งอวดดี จงห่างไกลจากคนพาล
แต่อย่าแสดงตัวให้เห็นเป็นศัตรู
ปัญญาชนควรสนิทไว้
แต่หาใช่ว่าต้องตามเขาไปเสียทุกอย่าง ใครบ้างไม่เคยทำผิด ถ้าผิดแล้วแก้ไขกลับตนก็ย่อมเป็นมหากุศล |
![]() |
![]() |
การกล่าววาจากระทบผู้อื่น
เหมือนคมมีดกรีดหัวใจ
ผู้ที่สามารถเอาชนะความโกรธตนได้ คือเอาชนะศัตรูตัวร้ายกาจของตนเองได้ พวกเรามักมองเห็นความล้มเหลวของผู้อื่น แต่กลับมองไม่เห็นความบกพร่องของตนเอง |
![]() |
![]() |
คำโกหกอยู่ได้ไม่ยั่งยืน
ตัวท่านนี้เป็นคนสับปรับ เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ ไม่ควรจะเป็นที่นับถือของผู้น้อย อันตัวเราจะเสียทรัพย์มากน้อยสักเท่าใด ตัวเราก็หาเสียดายไม่ เราเสียดายแต่เพียง วาจาที่ลั่นออกมาแล้วไม่ขอกลับคืน |
![]() |
ระเบียบ[แก้ไข]
![]() |
การกวดขันระเบียบของครู เลิศกว่าความเมตตาของพ่อ ผู้ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีราษฎรต้องมีหลักอยู่ 8 ประการ
1. ให้ไต่สวนซักถามได้ความจริงจนสิ้นกระแสความ 2. ให้สืบ ต่อพยานตามข้ออ้าง และตามที่เห็นว่าจะได้ความจริง ต้องตรวจดูคำและตัวพยานโดยลักษณะพยาน 3. ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน อย่าละเว้นทางพิจารณา 4. จงกะให้รู้เล่ห์กลอุบายฝ่ายโจทก์ จำเลย 5. จงใคร่ครวญดูพิรุธอย่างไร 6. ต้องสอบถามดูว่าคำให้การคำต้นกับคำปลาย จะถูกต้องกันหรือไม่ 7. คิดกลอุบายสืบเสาะเอาผู้ร้ายและความจริงให้ได้ 8. ตัวผู้ร้ายตั้งแต่สองคนขึ้นไป ต้องแยกซักถาม ผู้จะเป็นตุลาการต้องรู้ในองค์ 8 ประการ ฉะนี้ |
![]() |
เงิน[แก้ไข]
![]() |
การแจกเงินให้ผู้อื่นได้
สู้แจกคติธรรมสอนคนอื่นไม่ได้
ยารสขมเป็นประโยชน์แก่คนไข้ คำเตือนไม่เสนาะโสตเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฎิบัติ สรรพทุกข์ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดทุกข์โศกาเท่ากับ การพลัดพรากและตายจากกัน ยากยามจน แม้อยู่ที่ชุมนุมชนก็ไม่มีใครรู้จัก ยามมั่งมี แม้อยู่ป่าลึกก็มีคนอ้างเป็นญาติกัน |
![]() |
การอาฆาต[แก้ไข]
![]() |
ความอาฆาตมาดร้ายเหมือนขี่ม้าบ้า
อันว่าธรรมดามนุษย์นั้น เมื่อใครข่มเหงก็ต้องคิดแก้แค้นให้สาสม ดูแต่มดแดงเถิด ตัวมันน้อย ๆ เท่านั้น ถ้าคนไปแหย่รังมัน มันก็รุมกัด ไม่ปล่อยให้ข่มเหงเล่นแต่ฝ่ายเดียว ชนสามัญกับเทพยดา ย่อมผิดกันเป็นธรรมดา เทพยดากับมนุษย์นั้นผิดกัน |
![]() |
การอวดดี[แก้ไข]
![]() |
ความอวดดีจองหอง...
เป็นการเริ่มต้นแห่งบาป
ครอบครัวที่มั่งมียศศักดิ์ ควรหัดให้เป็นคนมีใจกว้าง คน เฉลียวฉลาด รอบรู้ ควรฝึกทำใจหนักแน่นโอบอ้อมอารี มงคลชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ ความกตัญญ วิริยะอุตสาหะ และการให้อภัยอโหสิกรรม คนมั่งคั่งสูงศักดิ์ ต้องไม่หยิ่งยะโส หากผู้อื่นร่ำรวยมีเกียรติ ก็ไม่อิจฉาริษยา |
![]() |
การใช้จ่าย[แก้ไข]
![]() |
การใช้จ่ายในสิ่งไม่จำเป็น
แม้สตางค์เดียวก็แพง เป็นเหตุแห่งความยากจน
|
![]() |
ความอดทน[แก้ไข]
![]() |
ความอดทน
หลีกเลี่ยงทุกข์ภัยที่ใหญ่หลวงได้
ถ้าราษฎรได้รับความเดือดร้อน หากเป็นขุนนางในแผ่นดิน ต้องนำข้าวปลาอาหารออกไปแจกจ่าย ตามสมควร เป็นขุนนางกินเบี้ยหวัดเงินเดือน ต้องหาความสุขให้แก่ราษฎร จำต้องไต่สวนจับเอาตัวคนร้ายมาให้ได้ |
![]() |
![]() |
ความอดทนรวมกับความกล้าหาญ
ย่อมบรรลุสุขแน่นอน
อันตัวคนเรานั้น จะถือเอาแต่ลักษณะสวยงามไม่ได้ ต้องคิดถึงความรู้เป็นใหญ่ คนยากจนไม่มีเงินทอง แต่มีความเพียรเล่าเรียนหนังสือ มีคุณประโยชน์แก่ราชการแล้ว ผู้นั้นจะตกไปอยู่ทิศานุทิศใดก็ไม่เป็นคนต่ำช้า |
![]() |
![]() |
ความอดทนเป็นหนทางเอก
ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
จงมานะเล่าเรียนให้ดี จะได้เป็นที่พึ่งแก่ตนเองต่อไป ผู้ได้ชื่อว่ามีความรู้ จะต้องเกรงอายุน้อยทำไม ถ้ามีความสามารถก็อาจเป็นขุนนางได้ |
![]() |
![]() |
ความอดทนเป็นต้นไม้ให้รสแสนขม
แต่การให้ผลแสนหวาน
ใช้จ่ายสิ้นเปลืองนำความขาดแคลน อดสู ประหยัดตอนหมดตัวก็สายเสียแล้ว อุปนิสัย คือ สันดานที่สองของมนุษย์ ลัทธิประเพณี คือ นิสัยอีกอย่างหนึ่ง |
![]() |
![]() |
การพูดจาไม่รู้จักถ่อมตน
ธุรกิจก็ยากที่จะประสบผล
ยามทะเลาะผู้ที่เงียบก่อนนั้น มาจากครอบครัวที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี พยายามควบคุมความโกรธ มิฉะนั้น จะถูกความโกรธเข้ามาควบคุมท่าน |
![]() |
![]() |
ความอดทน...
เป็นกุญแจไข ไปสู่ความผาสุกทั้งมวล
ทองคำพันตำลึงทองหาแพงไม่ รับโอวาทประโยคเดียว มูลค่ามากกว่าพันตำลึงทอง ยามมีชีวิต ขึ้นโรงขึ้นศาล ยามสิ้นชีวิตก็จะไม่ตกลงสู่แดนนรก |
![]() |
![]() |
ความอดทน...
คือบิดาแห่งคุณธรรมทั้งปวง
|
![]() |
ความรอบคอบ[แก้ไข]
![]() |
ความรีบร้อนมักนำ
ความผิดพลาดมาให้เสมอ
ด้วยเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของจริงแล้ว ย่อมมีความอาลัยรักใคร่เสียดาย จึงได้บ่นว่าเราไม่ยุติธรรม และไม่มีสติปัญญาที่ล่วงรู้ถึงความจริง ส่วนเจ้าผู้ที่มีความรื่นเริงกลับพูดว่าสมน้ำหน้า จึงขอให้เรามีทางเห็นได้ว่า เพราะมิใช่ของ ๆ ตัว จึงได้พูดออกมาดังนั้น เราพิจารณาแล้วเห็นว่าเจ้าเป็นคนทุจริต |
![]() |
![]() |
ความรอบคอบระวังจิตใจ
คือ ผู้เฉลียวฉลาด
อย่าโทษตนไม่เหมือนผู้อื่น โลกนี้ผู้ที่เก่งกว่าตนนั้นมีมากมาย อดทนสักนิด พายุจิตเรียบ คลื่นสงบ ถอยสักก้าว ทะเลดูกว้าง ท้องฟ้าสดใส ปราศจากกิเลสจิตสงบ จิตสงบย่อมรู้แจ้ง ในสี่คาบสมุทรล้วนเป็นพี่น้องกัน อย่ามีจิตคิดร้ายผู้อื่น แต่ต้องระวังผู้อื่น |
![]() |
![]() |
ความผิดพลาด
เป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ
มูลรากของความชั่วร้าย มากจากความเกียจคร้าน ความผิดพลาดเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ ความอุตสาหะวิริยะเป็นมูลรากแห่งความสำเร็จ ความขยันอดทน เป็นครูสอนที่ยิ่งใหญ่ เตียงนอนคือคุกของคนเกียจคร้าน หญิงขี้เกียจกับเตียงอันอบอุ่นย่อมแยกจากกันไม่ได้ |
![]() |
![]() |
ยิ่งสูง...ยิ่งทำตัวให้ต่ำ จะเป็นเสน่ห์ต่อผู้อื่น
จงเอาความรักบุตรภรรยา ไปมอบให้แก่บิดามารดา จงเอาความตั้งใจแสวงหาชื่อเสียงไปแสวงหาคุณธรรม จงห่างไกลจากคนพาล แต่อย่าแสดงตัวให้เห็นเป็นศัตรู จงเคารพนบน้อมผู้อื่น แล้วผู้อื่นก็จะเคารพนบน้อมท่าน จิตที่ยึดมั่นในพุทธธรรม ไม่มีมารปีศาจมารบกวน |
![]() |
ความประหยัด[แก้ไข]
![]() |
ความประหยัด
เป็นมารดาของคุณธรรมทั้งมวล
ความกล้าหาญที่ไร้อคติ ถือเป็นรากฐานแห่งชัยชนะ ความกล้าหาญและความตั้งใจ ย่อมมีชัยต่ออุปสรรคทุกสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า การสร้างความดีเหมือนป่ายปีนขึ้นภูเขา ต้องใช้ความพยายามมาก ส่วนการกระทำชั่วเหมือนลงภูเขา ไม่ต้องใช้แรงอะไรเลย |
![]() |
การมีสติ[แก้ไข]
![]() |
คนกล้ามีสติปัญญาน้ำใจกว้างขวาง
ยามผิดหวังต้องรักษาด้วยความอดกลั้น ยามสมหวัง ควรทำตนให้วางเฉย ปรบมือข้างเดียวเสียงไม่ดัง เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการ ทั้งคู่ก็ย่อมไม่เกิดทะเลาะกัน การวิวาทกันเป็นวิสัยของผู้อ่อนแอ ความโกรธทำให้ตนเองรับทุกข์ทรมาน บุคคลผู้เปิดช่องให้โทสะครอบงำ จะยังมาซึ่งความวิบัติให้แก่ครอบครัว |
![]() |
![]() |
ความทิฏฐิเป็นเจ้าเรือนแห่งความโกรธ
อยู่กับผู้มีสติปัญญา เหมือนอยู่ที่มืดมีผู้นำมาให้ถึงที่สว่าง ผู้มีสติปัญญามาก ควรสั่งสอนผู้มีสติปัญญาน้อย ผู้ที่แข็งแรงควรเป็นที่พึ่งพาของผู้อ่อนแอ ผู้มั่งมีควรช่วยเหลือผู้ยากไร้ สังคมจึงจะเป็นปกติสุข คบคนมีสติปัญญายิ่งคบก็ยิ่งได้ คบคนหลักแหลม ยิ่งคบก็ยิ่งเฉลียวฉลาด ยิ่งพบทางสว่างของชีวิต |
![]() |
ความดี-ความชั่ว[แก้ไข]
![]() |
การไม่สามารถแยกดี-ชั่ว
เป็นบุคคลน่าห่วงใยที่สุด
เป็นคนไม่เอาการ ดั่งเขาเปรียบว่าเหล็กไม่เอาถ่าน มันไม่เล่าเรียนให้รู้จริง มีแต่เสพสุรา เที่ยวคบเพื่อนที่เป็นพาล บุตรเช่นนี้ก็นับว่าเป็นบุตรอกตัญญู ไม่รู้จักรักษาตระกูลของบิดามารดา ชื่อว่าเป็น อวชาตบุตร บุตรสะใภ้ ก็เหมือนบุตรของเรา |
![]() |
![]() |
คนดี เกลียดชังความชั่ว
เพราะรักในคุณธรรม
เจ้าไปเป็นเจ้าเมืองคราวนี้ ต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขราษฎร มีเรื่องราวอะไรต้องพิจารณาให้ยุติธรรม อย่าเห็นแก่ลาภสักการะใด ๆ เป็นอันขาด ด้วยพวกแซ่เปานี้มีเมตตาจิต ก่อสร้างทางกุศลมาหลายชั่วคนแล้ว เจ้าต้องประพฤติตนอยู่ในสัตย์ธรรม อย่าทำให้เสื่อมเสียถึงวงค์ตระกูลของเรา |
![]() |
ความซื่อสัตย์[แก้ไข]
![]() |
กิจการทั้งมวล
ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด
ท่านผู้นี้เป็นคนบ้านนอก หารู้จักขนบธรรมเนียมไม่ คนเช่นนี้ใจเดียวมีความซื่อตรงนัก นางเป็นภรรยาของเพื่อนฝูงที่รัก ครั้นจะประพฤติเป็นคนทุจริตแล้ว จะเป็นคนที่ติเตียนแห่งเทพยดาและมนุษย์ หาสมควรแก่เราผู้ที่มีชื่อว่าซื่อตรงไม่ |
![]() |
![]() |
ความซื่อสัตย์ เป็นกุศโลบายที่ดีที่สุด
เป็นขุนนาง ตุลาการ ไม่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ให้ถอดออกเสียจากยศลงเป็นไพร่ แล้วให้ประหารชีวิตเสีย เป็นขุนนางกินเบี้ยหวัดของแผ่นดิน ไม่เอาใจใส่ต่อทุกข์สุขของราษฎร กลับคิดเผื่อแผ่แก่พวกทุจริตนั้น ย่อมมีความผิดเป็นอันมาก |
![]() |
![]() |
ความซื่อสัตย์คือมรดกที่ล้ำค่าที่สุด
...ซื่อสัตย์ เปาบุ้นจิ้นเป็นคนซื่อสัตย์มั่นคง แม้เป็นความไม่จริงไหนจะเอามากล่าว เป็นคนซื่อสัตย์ ชำระความสิ่งใดก็เป็นยุติธรรม ถึงตัวข้าพเจ้าจะต้องตายในความซื่อสัตย์ ก็ไม่คิดเสียดายแก่ชีวิต แต่เป็นห่วงด้วยมารดาเป็นคนชรา อยู่ภายหลังจะได้รับความลำบาก ไม่มีใครจะอุปถัมภ์เท่านั้น |
![]() |
![]() |
คนดี ย่อมสร้างคุณธรรมให้ผู้อื่นดีกว่าตน
วัวที่เคยค้า ม้าที่เคยขี่ ต่างก็รู้ทำนองจริตกิริยากัน สามีของข้าพเจ้ามิได้ตั้งอยู่ในยุติธรรม คิดฉ้อโกงญาติ... ไม่ควรจะร่วมทุกข์สุขเป็นสามีภรรยากันต่อไป ข้าพเจ้าจึงขอหย่าต่อหน้าผู้ใหญ่บ้าน ให้รู้เห็นเป็นพยาน และทำหนังสือหย่าขาดจากผัวเมีย |
![]() |
![]() |
คน ต้องมีกิริยาสุภาพ
ดุจดอกไม้ต้องมีกลิ่นหอม
ตัวท่านกับข้าพเจ้า ชะรอยชาติก่อนได้เก็บดอกไม้ร่วมต้น ทำกุศลร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน ปลูกศาลเจ้าเข้าส่วนด้วยกัน มาชาตินี้จึงบังเอิญให้มาพบปะกันเช่นนี้ ก็เพราะผลบุญชักนำมาให้เรากับท่านได้ร่วมทุกข์สุขกัน |
![]() |
![]() |
คน ต้องมีปณิธานแน่วแน่ก่อน...จึงมีรากฐาน
ใครจะเป็นเจ้าครองเมืองใหญ่เมืองน้อย ต้องแล้วแต่บุญบารมี และอาศัยกำลังของไพร่พลเป็นประมาณ |
![]() |
![]() |
ความขยันอดทน เป็นครูสอนที่ยิ่งใหญ่
สุภาษิต คติธรรมสอนใจ
ผู้ใดมีความขยันอดทน ผู้นั้นประสบความร่ำรวย เพราะทรัพย์สินศฤงคารต่างๆ นั้น มาจากมือขยันหมั่นเพียร ความ วิริยะ อุตสาหะ เป็นวิญญาณของธุรกิจ เป็นหลักชัยแห่งความสำเร็จ |
![]() |
ความเกียจคร้าน[แก้ไข]
![]() |
ความขี้เกียจ คือสุสานฝังคนทั้งเป็น
|
![]() |
![]() |
ความเกียจคร้าน
เป็นมารดาของความทุกข์ยาก
อย่าทุกข์ร้อนเศร้าโศกไปเลย ธรรมเนียมเกิดมาแล้วก็ย่อมตายเหมือนกันทั้งนั้น ไม่เว้นกษัตริย์ พ่อค้า สามัญชน ต้องพบกับความตายเหมือนกันหมด |
![]() |
![]() |
ความเกียจคร้านกับความยากจน
เป็นมิตรสนิทกัน
ความหฤโหดในโลก ๒ ประการ ทะเลว่าหฤโหด น้ำใจคนยิ่งหฤโหดกว่า รู้ความทุกข์ยาก ต้องหวานอมขมกลืน จงหวั่นความหฤโหด อดทนต่อความเปราะบาง ความเปราะบางในโลก ๒ ประการ หิมะฤดูใบไม้ผลิเปราะบาง จิตใจคนยิ่งเปราะบางกว่า |
![]() |
ความรวย-จน[แก้ไข]
![]() |
คนมีรวยและจน น้ำก็มีระดับสูงและต่ำ
ถึงที่อับจนความทุกข์มาถึงเข้าแล้ว จะนิ่งเลยอย่างไรได้ ก็ต้องเอาเป็นธุระ ผู้อนาถายากจน ก็ดีไปอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเป็นทุกข์ว่าจะถูกปล้น เวลานอนก็หลับสนิท ถ้ามั่งมีเงินทองมากแล้วนอนตาไม่หลับ |
![]() |
ความกล้าหาญ[แก้ไข]
![]() |
ความกล้าหาญที่ไร้อคติ
เป็นรากฐานแห่งชัยชนะ
ธรรมดาผู้หญิงซึ่งนอกใจสามี มิให้ผู้ใดล่วงรู้นั้น ผู้หลักผู้ใหญ่เล่าบอกไว้ว่า มักเอาเหล็กตาปูตอกเข้าที่รูจมูก เมื่อเวลานอนหลับไม่รู้สึกตัว ก็คงจะถึงแก่ความตาย |
![]() |
การให้อภัย[แก้ไข]
![]() |
ควรให้อภัยผู้อื่น
แต่ไม่ควรให้อภัยตนเอง
สมาคม กับ ผู้คน เจรจาต้องไพเราะ มารยาทอ่อนโยน แต่จิตใจต้องคงมั่น ผู้มีความรอบรู้ มีฝีมือ มีความกล้าหาญ ถือเป็นคนสำคัญ หากมีคุณธรรมแล้วด้วยไซร้ จะมีผู้กล่าวสรรเสริญตลอดกาล ทุกคนเกิดมาล้วนต้องตาย แต่ก่อนตายควรฝากลายไว้ให้โลก ชาติเสือยังไว้ลาย ชาติชายควรไว้ชื่อ |
![]() |
การคบเพื่อน[แก้ไข]
![]() |
คบคนดีควรผ่อนปรน
คบคนชั่วควรระวังกวดขัน
ชำระคนซึ่งเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน หมดเสียให้ราบคาบไป ไม่ควรจะเลี้ยงไว้ในแผ่นดิน คนทรยศ...ให้อยู่ไป ก็มีแต่จะหนักแผ่นดินเปล่า ๆ บุคคลใดเที่ยวเบียดเบียนราษฎร หาควรมีชีวิตอยู่ให้หนักแผ่นดินไม่ |
![]() |
ครอบครัว[แก้ไข]
![]() |
ครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่ 2 ประโยค
ขยันกับประหยัด
ผู้ป่วยไม่รู้จักตนเอง หลงระเริงอยู่ใต้มหันตภัย ผู้รู้จักตนเองก็คือการยกย่องตนเองให้น้อยลง ความอาฆาตมาดร้ายเหมือนขี่ม้าบ้า ความโกรธคือความบ้าชั่วขณะ แต่ส่งผลเสียหายเป็นระยะยาวนาน |
![]() |