ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จาก วิกิคำคม
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทำกลับรุ่นแก้ไข 12893 โดย Soso 2501 (พูดคุย)
ทำกลับรุ่นแก้ไข 11125 โดย เอ็ดมัน (พูดคุย)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
[[ไฟล์:Bhumibol Adulyadej 2010-9-29 2 cropped.jpg|thumb|250px|'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช''']]
[[ไฟล์:Rama IX of Thailand and Barack Obama, 2012 cropped.jpg|thumb|250px|'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช''']]


==พระบรมราโชวาท==
==พระบรมราโชวาท==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:29, 4 ธันวาคม 2557

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท เนื่องในวโรกาสต่าง ๆ

คราวเสด็จทรงดนตรี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

“ เดิมทางทหารมีความจำเป็นที่จะรับสมัครแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลทหารและกิจการของทหาร เพราะว่าเวลารับสมัครแล้วไม่มีใครสมัคร และทำไมไม่มีใครสมัคร ก็เข้าใจว่า เพราะว่าการเป็นแพทย์ทหารนั้นเหนื่อย การเป็นแพทย์นี้ก็เหนื่อยอยู่แล้ว คือต้องรักษาพยาบาลคนไข้ไม่เลือก มีงานในเวลาราชการแล้ว นอกเวลาราชการก็ต้องมีงานอีก นอกจากนั้นเป็นแพทย์ทหารก็ยังมีว่า ต้องออกไปปฏิบัติงานสนาม ซึ่งอาจต้องฝ่าอันตราย คนเราที่จะต้องฝ่าอันตรายก็อาจกลัวได้ อาจเสียวว่าอาจต้องเสียชีวิต หรือจะต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้เวลาเป็นแพทย์ทหาร ไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็ต้องปฏิบัติงานของตน เครื่องมือเครื่องใช้ก็อาจจะไม่ครบถ้วน ก็เกิดความรู้สึกที่ท้อใจ เพราะว่าเรียนมาแล้วมีความรู้ดี ไม่สามารถที่จะเรียนต่อ ไม่สามารถที่จะค้นคว้า ไม่สามารถที่จะมีเครื่องม ไม่สามารถที่จะค้นคว้า ไม่สามารถที่จะมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยที่ใหญ่โต นอกจากนั้นก็มีอื่น ๆ ก็คือเงินเดือนไม่มาก ทั้งการไปดูงานเมืองนอกก็ไม่ค่อยมีนัก ฉะนั้นก็ไม่มีใครอยากเป็นแพทย์ทหาร ก็มีความจำเป็นที่จะมีแพทย์ทหารทางราชการทหาร ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในด้านวิชานี้ ซึ่งก็มีเหตุผลอยู่เมื่อมีการแสดงความไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยในการนี้ก็ทำตาม คือระงับการเรียนในมหาวิทยาลัย ก็เป็นอันว่าการวุ่นวายก็ได้ผลดีคือ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งจุดประสงค์อันนี้ก็ไม่ต้องขอบอกว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คิดเอาเอง

ครั้นมาถึงเวลาที่บอกว่าไม่มาฝากแล้ว ทางราชการทหารจะตั้งโรงเรียนแพทย์เอง คือ โรงเรียน สำหรับแพทย์ทหาร ก็เกิดโวยวายขึ้นมาใหม่โวยวายว่า ทำไมทหารต้องมีแพทย์ทหาร มีโรงเรียนแพทย์ทหาร ตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ในการที่ทหารมาฝากเรียนก็มากินที่คนอื่น เมื่อกินที่คนอื่นเขาก็ต้องทำที่ที่อื่น ไม่มาเบียดเบียน ทำไมเมื่อเขาตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาจะต้องโวยวาย อันนี้ก็ต้องมีเหตุผลในสมอง ไม่ขอผ่าสมองดู ว่าคิดถูกหรือไม่ถูก หรืออาจเป็นคนละคนก็ได้ หรืออาจไม่ได้ทันคิดว่าคำพูดสองอย่างนี้มันขัดกัน ฉะนั้นก็ถึงขอร้องท่านทั้งหลายว่า ถ้าจะคิดอะไรหรือจะปฏิบัติการใด ๆ ก็ขอให้คิดให้รอบคอบเสียก่อน ว่าจะเอาอะไรแน่ ถ้าเอาอะไรแน่แล้วก็ปฏิบัติไปจะได้ผลดี

”

[1]

วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2505

ครั้นเสด็จเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“ เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมาแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาในด้านการรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีการใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาสำคัญ ปัญหาที่สาม คือความร่ำรวยของคำในภาษาไทย ซึ่งพวกเราคิดว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ”

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

“ คงเป็นที่แปลกใจ ทำไมถึงเชิญให้ท่านมาพบกันอย่างนี้ เพราะว่าทุกคนก็ทราบว่า เหตุการณ์มีความยุ่งเหยิงอย่างไร และทำให้ประเทศชาติล่มจมได้. แต่ที่จะแปลกใจก็อาจมีว่า ทำไมเชิญพลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง เพราะว่า อาจมีผู้ที่แสดงเป็นตัวละครมากกว่านี้. แต่ว่าที่เชิญมาเพราะว่า ตั้งแต่แรกที่มีเหตุการณ์ สองท่านเป็นผู้ที่เผชิญหน้ากัน, แล้วก็ในที่สุด เป็นการต่อสู้ หรือการเผชิญหน้ากว้างขวางขึ้น ถึงได้เชิญ ๒ ท่านมา.

การเผชิญหน้าตอนแรก ก็จะเห็นจุดประสงค์ของทั้ง ๒ ฝ่ายได้ชัดเจนพอสมควร, แต่ต่อมาภายหลัง ๑๐ กว่าวัน ก็เห็นแล้วว่า การเผชิญหน้านั้น เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างมาก จนกระทั่งออกมาอย่างไรก็ตาม เสียทั้งนั้น, เพราะว่า ทำให้มีความเสียหาย ในทางชีวิต เลือดเนื้อของคนจำนวนมากพอสมควร แล้วก็ความเสียหายทางวัตถุ ซึ่งเป็นของส่วนราชการ และส่วนบุคคลเป็นมูลค่ามากมาย นอกจากนี้ก็มีความเสียหาย ในทางจิตใจ และในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ อย่างที่จะนับพรรณนาไม่ได้. ฉะนั้นการที่จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไป จะเป็นเหตุผลหรือต้นตออย่างไรก็ช่าง เพราะเดี๋ยวนี้เหตุผลเปลี่ยนไป. ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป. แล้วก็จะทำให้ประเทศไทย ที่เราสร้างเสริมขึ้นมาอย่างดี เป็นเวลานาน จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายในทางลบเป็นอย่างมาก ซึ่งก็เริ่มปรากฏผลแล้ว. ฉะนั้นจะต้องแก้ไข โดยดูว่ามีข้อขัดแย้งอย่างไร แล้วก็พยายามที่จะแก้ไขตามลำดับ เพราะว่าปัญหา ที่มีอยู่ทุกวันนี้ สองสามวันนี้มันเปลี่ยนไป. ปัญหาไม่ใช่เรื่องเรียกว่า ของการเมือง หรือ เรียกว่า ของการดำรงตำแหน่ง เป็นปัญหาของการสึกหรอของประเทศชาติ ฉะนั้นจะต้องช่วยกันแก้ไข. มีผู้ที่ส่งข้อแนะนำ ในการแก้ไขสถานการณ์มาหลายฉบับ หลายคนจำนวนเป็นร้อย แล้วก็ทั้งในเมืองไทย ทั้งต่างประเทศที่ส่งมา ที่เขาส่งมาการแก้ไข หรือข้อแนะนำว่า เราควรจะทำอะไรก็มี ก็มีต่างๆ นานา ตั้งแต่ตอนแรกบอกว่าแก้ไขวิธียุบสภา ซึ่งก็ได้หารือกับทางทุกฝ่ายที่เป็นสภา. หมายความว่า พรรคการเมืองทั้งหมด ๑๑ พรรคนี้ คำตอบมีว่าไม่ควรยุบสภา มี ๑ รายที่บอกว่าควรยุบสภา ฉะนั้นการที่จะแก้ไข แบบที่เขาเสนอมานั้น ก็เป็นอันว่าตกไป. นอกจากนั้นก็มีเป็นฎีกา และแนะนำวิธีต่างๆ กัน ซึ่งได้พยายามเสนอไปตามปกติ คือเวลามีฎีกาขึ้นมา ก็ส่งไปให้ทาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขตามแบบนั้น. ตกลงมีแบบยุบสภา และมีอีกแบบหนึ่ง ก็เป็นแบบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ตามประสงค์ที่ต้องการ หมายความว่าประสงค์เดิม ที่เกิดเผชิญหน้ากัน. ความจริงวิธีนี้ถ้าจำได้ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ ก็ได้พูดต่อสมาคม ที่มาพบจำนวนหลายพันคน แล้วก็ดูเหมือนว่าพอฟังกัน ฟังกันโดยดี เพราะเหตุผลที่มีอยู่ในนั้น ดูจะแก้ปัญหาได้พอควร. ตอนนี้ก็พอย้ำว่าทำไมพูดอย่างนั้น ว่าถ้าจะแก้ก่อนออกก็ได้ หรือออกก่อนแก้ก็ได้ (พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔) อันนั้นทุกคนก็ทราบดีว่าเรื่องอะไร ก็เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ. ซึ่งครั้งนั้น การแก้รัฐธรรมนูญก็ได้ทำมาตลอด มากกว่าฉบับเดิมที่ตั้งเอาไว้ได้แก้ไข. แล้วก็ก่อนที่ไปพูดที่ศาลาดุสิดาลัย ก็ได้พบพลเอกสุจินดา ก็ขออนุญาตเล่าให้ฟัง​. แล้วพลเอกสุจินดาก็เห็นด้วยว่า ควรจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และแก้ไขต่อไปได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำได้. และตอนหลังนี้ พลเอกสุจินดาก็ได้ยืนยันว่า แก้ไขได้ก็ค่อยๆ แก้เข้าระเบียบให้เป็นที่เรียกว่า ประชาธิปไตย. อันนี้ก็ได้พูดมาตั้งหลายเดือนแล้ว ในวิธีการที่จะแก้ไข. แล้วข้อสำคัญ ที่ทำไมอยากให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แม้จะถือว่ารัฐธรรมนูญนั้นยังไม่ครบถ้วน. ก็เพราะเหตุว่ารัฐธรรมนูญนั้น มีคุณภาพพอใช้ได้ ดีกว่าธรรมนูญการปกครองชั่วคราว ที่ใช้มาเกือบปี. เพราะเหตุว่ามีบางข้อบางมาตราซึ่งเป็นอันตราย, แล้วก็ไม่ครบถ้วนในการที่จะปกครองประเทศ. ฉะนั้นก็นึกว่า ถ้าหากว่าสามารถที่จะปฏิบัติตามที่ได้พูดในวันที่ ๔ ธันวาคมนั้นก็นึกว่า เป็นการกลับไปดูปัญหาเดิม ไม่ใช่ปัญหาของวันนี้. ปัญหาของวันนี้ ไม่ใช่ปัญหาของการบัญญัติ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ. ทุกวันนี้คือความปลอดภัย ขวัญดีของประชาชน. ซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปทุกแห่งทุกหน มีความหวาดระแวงว่าจะเกิดอันตราย มีความหวาดระแวงว่า ประเทศชาติจะล่มจม โดยที่จะแก้ไขลำบากตามข่าวที่ได้ทราบมาจากต่างประเทศ. เพราะเหตุว่าในขณะนี้ ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวก็อยู่ต่างประเทศ. ทั้งสองก็ทราบดี แล้วก็ได้พยายามที่จะแจ้งให้กับ คนที่อยู่ในประเทศเหล่านั้นว่า ประเทศไทยนี้ยังแก้ไขสถานการณ์ได้. แต่รู้สึกว่าจะเป็นความคิด ที่เป็นความคิดแบบหวังสูงไปหน่อย, ถ้าหากว่าเราไม่ทำให้สถานการณ์อย่าง ๓ วันที่ผ่านมานี้สิ้นสุดไปได้. ฉะนั้นก็ขอให้โดยเฉพาะสองท่าน คือ พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลองช่วยกันคิด คือ หันหน้าเข้าหากัน, ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน. เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่าบ้าเลือด, เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร, แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร. เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้. แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร. ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง. ฉะนั้นจึงขอให้ทั้งสองท่านเข้ามา คือไม่เผชิญหน้ากัน แต่หันเข้าหากัน, และสองท่าน เท่ากับเป็นผู้แทนฝ่ายต่างๆ คือไม่ใช่สองฝ่าย. ฝ่ายต่างๆ ที่เผชิญหน้ากัน ให้ช่วยกันแก้ปัญหาปัจจุบันนี้ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น. แล้วก็เมื่อเยียวยาปัญหานี้ได้แล้ว จะมาพูดกัน ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร? สำหรับให้ประเทศไทย ได้มีการสร้างพัฒนาขึ้นมาได้ กลับคืนมาได้ด้วยดี. อันนี้ก็เป็นเหตุผลที่เรียกท่านทั้งสองมา และก็เชื่อว่าทั้งสองท่าน ก็เข้าใจว่า :- จะเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากซากปรักหักพัง แล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมากว่าได้ทำดี. แก้ไขอย่างไรก็แล้วแต่ที่จะปรึกษากัน. ก็มีข้อสังเกตดังนี้ ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านเปรม ติณสูลานนท์ ก็เป็นผู้ใหญ่ ผู้พร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นกลาง ด้วยความรักชาติ. เพื่อสร้างสรรค์ประเทศ ให้เข้าสู่ความปลอดภัยในเร็ววัน ขอฝากให้ช่วยกันสร้างชาติ

”

เสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๕

“ คำอวยพรและคำปฏิญาณสัญญา ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้น เป็นทีประทับใจมาก ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน ที่พรั่งพร้อมกันมาด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต

ความปรารถนาดีและความพร้อมเพียงกันของทุกท่าน อย่างที่ได้เห็นในวันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ มีกำลังใจมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อเสมอมาว่า ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญ ที่จะยังความพร้อมเพรียงให้เกิดมีขึ้น ทั้งในหมู่คณะและในชาติบ้านเมือง และถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้ประจำอยู่ในจิตใจ ก็มีความหวังได้ว่า บ้านเมืองไทย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็จะอยู่รอดปลอดภัย และดำรงมั่นคงต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างแน่นอน

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านและชาติไทย ให้มีแต่ความผาสุกร่มเย็นยั่งยืนไป[2]

”

อ้างอิง

  1. อัญเชิญจากกระแสพระบรมราโชวาทในคราวเสด็จทรงดนตรี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2516
  2. สำเนาพระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๕ โดยสำนักพระราชวัง

แหล่งข้อมูลอื่น