คำกล่าวโดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
[แก้ไข]
|
ถ้าผู้ชายคนหนึ่งเทใจทุ่มชีวิตให้กับอะไรสักอย่าง กระทั่งนิยามความถูกต้องดีงามไว้กับสิ่งนั้น ชัยชนะในเรื่องนี้ย่อมหมายถึงการเดินทางไปพบกับความครบถ้วนของตัวตนในเบื้องลึกของความรู้สึก ส่วนการพ่ายแพ้ ย่อมไม่อาจเป็นอื่นนอกจากการถอนราก ถอนโคนชีวิตของเขา...
|
|
—
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พูดถึงนายผี
|
คำกล่าวโดย หงา คาราวาน
[แก้ไข]
เพลง โดย หงา คาราวาน
|
- ลูกหลานร้องเพลง บรรเลงเรื่อยไป
- ผู้เฒ่าอยู่ไหน ไม่เห็นชะตา
- นมนานมาแล้ว ท่านไปแนวหน้า
- กลับมา กลับมา ลูกหลานเป็นห่วง
- ใครหน่วง ใครรั้ง ใครขัง เอาไว้
- ขอเพียงร่างกาย หัวใจมีปีก
- หลีกทางให้ที ผู้ใดขวางกั้น
- ผีเสื้อตัวนั้น พลจันทร เดือนเพ็ญ
- เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ใจดี
- เป็นลุงอัศนี พลจันทร
- ผู้นำความฝัน กลั่นความเป็นจริง
- ทิ้งฝากลูกหลาน ขับขานเพลงเดือนเพ็ญ
|
|
—
เพลง พลจันทรเดือนเพ็ญ;
ศิลปิน หงา คาราวาน แอ๊ด คาราบาว และ อัสนี โชติกุล
|
หงา คาราวาน บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ว่า
...ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง 'คิดถึงบ้าน' ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว
|
- ในฟ้าบ่มีน้ำ ในดินซ้ำมีแต่ทราย
- น้ำตาที่ตกราย ก็รีบซาบบ่รอซึม
- แดดเปรี้ยงปานหัวแตก แผ่นดินแยกอยู่ทึบทึม
- แผ่นอกที่ครางครึม ขยับแยกอยู่ตาปี
- มหาห้วยคือหนองหาน ลำมูลผ่านเหมือนลำผี
- ย้อมชีพคือลำชี อันชำแรกอยู่รีรอ
- แลไปสะดุ้งปราณ โอ! อีศาน, ฉะนี้หนอ
- คิดไปในใจคอ บ่อค่อยดีนี้ดังฤๅ?
- พี่น้องผู้น่ารัก น้ำใจจักไฉนหือ?
- ยืนนิ่งบ่ติงคือ จะใคร่ได้อันใดมา?
- เขาหาว่าโง่เง่า แต่เพื่อนเฮานี่แหละหนา
- รักเจ้าบ่จาง ฮา! แลเหตุใดมาดูแคลน
- เขาซื่อสิว่าเซ่อ ผู้ใดเน้อจะดีแสน
- ฉลาดทานเทียมผู้แทน ก็เห็นท่าที่กล้าโกง
- กดขี่บีฑาเฮา ใครนะเจ้า? จงเปิดโปง
- เที่ยววิ่งอยู่เทงโทง เที่ยวมาแทะให้ทรมาน
- รื้อคิดยิ่งรื้อแค้น ละม้ายแม้นห่าสังหาร
- เสียตนสิทนทาน ก็บ่ได้สะดวกดาย
- ในฟ้าบ่มีน้ำ! ในดินซ้ำมีแต่ทราย
- น้ำตาที่ตกราย คือเลือดหลั่ง!ลงโลมดิน
- สองมือเฮามีแฮง เสียงเฮาแย้งมีคนยิน
- สงสารอีศานสิ้น อย่าซุด,สู้ด้วยสองแขน!
- พายุยิ่งพัดอื้อ ราวป่าหรือราบทั้งแดน
- อีศานนับแสนแสน สิจะพ่ายผู้ใดหนอ? ฯ
|
|
—
บทกวี : อีศาน, สยามสมัย, 2494
|