ข้ามไปเนื้อหา

กามนิต

จาก วิกิคำคม

กามนิต เป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายอิงพระพุทธศาสนา นวนิยายฉบับภาษาอังกฤษได้รับการแปลภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ. 2473 จากเรื่อง The Pilgrim Kamanita มาเป็นเรื่อง กามนิต โดย เสฐียรโกเศศนาคะประทีป

“ อ้าดูอโศกนี้ ศรีไสววิไลตา

อยู่กลางหว่างพนา เป็นสง่าแห่งแนวไพร ฯ ชุ่มชื่นรื่นอารมณ์ ลมเพยพัดระบัดใบ ดูสุขสนุกใจ เหมือนแลดูจอมภูผา ฯ อโศกดูแสนสุข ช่วยดับทุกข์ด้วยสักครา โศกเศร้าเผาอุรา อ้าอโศกโรคข้าร้าย ฯ อโศกโยกกิ่งไหว จงตอบไปดั่งใจหมาย ได้เห็นพระฦๅสาย ผ่านมาบ้างฤๅอย่างไร ฯ พระนั้นชื่อพระนล ผู้เรืองรณอริกษัย เป็นผัวนางทรามวัย นามนิยมทมยันตี ฯ ”[1]

คำคมจากนวนิยาย [2]

[แก้ไข]
  • บทที่ 1
“ ดูก่อนราชคฤหอันเป็นนครแห่งเบญจคีรี มีปริมณฑลงดงามตระการ อุดมด้วยนาศาลี และมหาศิงขร อันน่าเบิกบานหฤทัย เราได้แลดูครั้งนี้เป็นปัจฉิมทรรศนาการ ”
พระพุทธเจ้า
  • บทที่ 2
“ ถ้าจะดูโศกาดูรในหมู่สงฆ์ ก็ในการร้องขับทำเพลง ถ้าจะดูความบ้าในหมู่สงฆ์ ก็ในการเต้นรำ ถ้าจะดูความเป็นเด็กในหมู่สงฆ์ ก็ในอาการยิงฟันหัวเราะ ”
พระพุทธเจ้า
  • บทที่ 3
“ ที่พ่อไม่อยากนำสินค้าไปขาย เพราะหนทางไกล ไปตามทางก็มีโจรผู้รายชุกชุม เป็นที่รังเกียจอันตรายมากอยู่ แต่ทว่าถ้าได้ไปในพวกราชทูตแล้ว เป็นอันปลอดภัย ”
บิดาของกามนิตมาณพ
  • บทที่ 4
“ ต่อนั้นไปเหล่านางผู้มีเนตรดั่งตาทราย ก็ยักย้ายท่าทางต่าง ๆ ในเวลาโยนแย่งคลีกัน ให้เห็นเป็นขวัญตาข้าพเจ้า เป็นเวลาอยู่ช้านาน ”
กามนิต
  • บทที่ 5
“ ข้าพเจ้าออกจะเห็นเป็นความจริงแล้วว่า ในบ้านเราเวลานี้ ออกจะมีเกียรติยศอยู่ ที่ได้เป็นที่เกิดของอริยบุคคล เพราะสูท่านมิใช่จะบำเพ็ญตบะในการอดอาหารอย่างทรหดที่สุดแล้ว ยังเว้นจากการนอนบนที่นอนอันอ่อนนุ่มเพิ่มขึ้นด้วย จงดูหมอนและที่นอนซี ไม่มีรอยชอกช้ำแม้เล็กน้อย ”
โสมทัตต์
  • บทที่ 6
“ จะรับรองอย่างนี้และอย่างอื่นสักเท่าไร ดูเหมือนรับรองกับลม เพราะไม่ทำให้นางหายโศกสร้อยได้ แท้จริงความรันทดของข้าพเจ้าก็ไม่น้อยไปกว่า พอนางสะอึกสะอื้นน้อยลง ก็ถามทั้งน้ำตาว่า มีความจำเป็นที่สุดหรือจึงต้องไป ”
กามนิต


“ เมื่อเธอจากไป และอยู่ห่างไกลแสนไกลจากที่นี้ ขอให้ระลึกถึงภาพความสุขของเราซึ่งมีอยู่ในขณะนี้ แล้วจงนึกว่า ฉันยืนอยู่ตรงนี้ กำลังไต่ถามข่าวคราวจากต้นอโศก ผิดแต่ฉันไม่ได้บอกชื่อแก่ต้นอโศกว่า พระราชนิพนธ์พระนลคำหลวง ”
วาสิฏฐี



w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ

ต้นฉบับภาษาไทย

[แก้ไข]