จอห์น ล็อก

จาก วิกิคำคม

จอห์น ล็อก (อังกฤษ: John Locke; 29 สิงหาคม ค.ศ. 1532 – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1604) อายุ 72 ปี เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้

ปรัชญา[แก้ไข]

  • ความรู้นั้นอยู่ที่ความคิด คำว่าความคิด หมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามีประสบการณ์ และต้นกำเนิดของความคิดคือประสบการณ์ ล็อคอธิบายว่าประสบการณ์ได้มาสองทางคือ ทางผัสสะ กับการไตร่ตรอง หมายความว่า ความคิดทุกความคิดเกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เรามีต่อโลก และเกิดจากการไตร่ตรองเกี่ยวกับความคิดอันเกิดจากผัสสะ การไตร่ตรองถือเป็นประสบการณ์ภายใน สิ่งที่ล็อคเน้นก็คือ เราไม่สามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับการไตร่ตรอง จนกว่าเราจะได้มีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ล็อคปฏิเสธทฤษฎีความคิดติดตัว เราเกิดมาในโลกพร้อมกับความคิดติดมากับจิตของเราแล้ว[1]
  • ความคิดทุกชนิดมาจากประสบการณ์ ทฤษฎีที่ว่าความคิดหรือหลักการบางอย่างที่มนุษย์เข้าใจ ติดตัวมนุษย์มาแล้วแต่แรกเกิดนั้น เป็นเพียง ความเห็นที่กำหนดขึ้นระหว่างคนบางคน ล็อคคืดว่าความเห็นเช่นนี้เป็นอันตรายถ้ามีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิด ล็อคพยายามชี้ให้เห็นคำสอนเรื่องความคิดติดตัวมาแต่เกิดนี้เป็นความเชื่อที่ไร้พื้นฐานที่น่าเชื่อถือเป็นอคติหรือความเห็น ไม่ใช่ความรู้ ล็อคเห็นว่า ความคิดติดตัว เป็นสิ่งที่เกินความจำเป็น ล็อคเชื่อมั่นว่า ไม่มีอะไรที่เขาสามารถอธิบายได้ในรูปที่ว่าต้นกำเนิดของความรู้นั้นมาจากประสบการณ์
  • ความรู้คือการค้นพบวัตถุที่ทำให้เกิดความรู้จิตเปรียบเหมือนกระดาษขาว ไม่มีความคิดใดๆ อยู่ก่อนเลย ความคิดเหตุผล และความรู้ได้มาจากประสบการณ์เท่านั้น ประสบการณ์แบ่งเป็นสองอย่างคือ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสหรือผัสสะ และประสบการณ์จากการไตร่ตรอง
  • ผัสสะคือ แหล่งกำเนิดทางความคิดที่ใหญ่ที่สุดที่เรามี ประสบการณ์คือ การไตร่ตรองซึ่งเป็นกิจกรรมของจิต ที่ทำให้เกิดความคิด โดยการให้ความสนใจต่อความคิดที่ได้มาโดยประสาทสัมผัส ความคิดของมนุษย์ทั้งหมดสามารถสืบสาวได้ว่า ไม่มาจากผัสสะก็ต้องมาจากการไตร่ตรอง และความคิดเหล่านี้ ถ้าไม่เป็นความคิดเชิงเดี่ยวก็ต้องเป็นความคิดเชิงซ้อน
  • มนุษย์มีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ค้นพบแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติตน เพื่อก่อให้เกิดความสุขความพอใจต่อส่วนรวม แบบอย่างอันนี้ก็คือกฎที่มนุษย์จะต้องกระทำตาม ล็อคแบ่งกฎออกเป็น 3 ชนิดคือ กฎแห่งความเห็น กฎของประชาชน และกฎของพระเจ้า กฎทั้ง 3 นี้ มีความสัมพันธ์กัน
  • มนุษย์มีความจำเป็นต้องเข้ามารวมกันเป็นสังคมการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลขึ้น โดยการรวมกันในลักษณะเป็นสัญญาประชาคม สัญญาประชาคมของล็อคมีสองลักษณะคือ เป็นสัญญาระหว่างปัจเจกชนที่มารวมกันเป็นสังคม สัญญานี้ไม่มีการบังคับเป็นการยินยอมพร้อมใจของบุคคลยอมสละสิทธิและเสรีภาพในสภาวะธรรมชาติบางประการ เพื่อให้เกิดประชาคมโดยหวังจะทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย ปลอดภัย และสงบสุขยิ่งขึ้น การปกครองสังคมนั้นจะต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก เพราะเสียงข้างมากนั้นสะท้อนให้เห็นเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ในสังคม
  • รัฐบาลจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่โอนให้ใครไม่ได้ และปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากอำนาจทางการเมือง นั่นคือรัฐบาลจะเข้าไปก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเกินกว่าที่ประชาชนได้ยอมสละให้แล้วไม่ได้ความคิดทางการเมืองของล็อค มีอิทธิพลในทาปฏิบัติไม่น้อย ความคิดเรื่องสิทธิในทรัพย์สินส่วนอิทธิพลต่อการปฏิวัติในฝรั่งเศสและอเมริกา

อ้างอิง[แก้ไข]