จิตติ ติงศภัทิย์
หน้าตา
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ (16 มีนาคม ค.ศ. 1908 – 3 มีนาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวไทยซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ทางกฎหมาย และเป็นที่เคารพนับถือในวงการนิติศาสตร์ไทย
คำกล่าว
[แก้ไข]การศึกษา
[แก้ไข]การประสานประโยชน์กับผู้อื่นเป็นงานสำคัญประการหนึ่งของนักกฎหมาย โดยศึกษาถึงสิ่งที่ถูกต้องที่สังคมควรจะเป็น เหตุนี้ นักกฎหมายจึงต้องศึกษาถึงสาขาวิชาอื่น ๆ โดยทั่ว ๆ ไปด้วย มิใช่จำกัดความรู้ความคิดอยู่แต่ในเรื่องกฎหมายแท้ ๆ เท่านั้น เพราะการงานของนักกฎหมายต้องประสานกับฝ่ายอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงต้องเข้าใจเหตุผลของเขาพอที่จะให้ความคิดเห็นทางกฎหมายเป็นประโยชน์แก่เขาได้[1] | ||
การศึกษาย่อมมุ่งหมายถึงการแสวงหาสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ศึกษา[2] | ||
ความประพฤติ
[แก้ไข]การแสดงความคิดเห็นทั้งหลาย อย่าให้เป็นความเห็นโดยดื้อดึง คือ ความอิสระกลายเป็นความดื้อดึงไป ถ้าความเห็นของเราผิด มันก็ต้องผิด อย่าไปคิดว่าความเห็นของเราถูกต้องเสมอ[3] | ||
นักกฎหมายจะ...เป็นผู้นำมติมหาชน แต่ต้องนำด้วยเหตุผลด้วยศรัทธา ไม่ใช่ด้วยวิธีการขู่ บังคับ หลอกลวง บิดเบือน[1] | ||
เป็นหลักรัฐธรรมนูญทุกฉบับว่า ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมีความสำคัญประการหนึ่งว่า ไม่ใช่อิสระในการอื่น นอกจากการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และอีกประการหนึ่งว่า ไม่ใช่อิสระที่จะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามใจชอบไม่มีขอบเขต แต่ต้องพิจารณาพิพากษาให้เป็นไปตามกฎหมาย[4] | ||
การปกครอง
[แก้ไข]ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีลัทธิการปกครองแบบใดสมัยใด ถ้าไม่ปกครองกันด้วยกฎหมาย ไม่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ หากถืออำนาจนอกกฎหมายเป็นสำคัญ ความสงบสุขเรียบร้อยเป็นปกติสุขก็มีไม่ได้[5] | ||
กฎหมายมิใช่สิ่งที่จะกำหนดสภาพของสังคม เพราะสังคมเป็นผู้กำหนดกฎหมายขึ้น[1] | ||
ระหว่างรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์อะไรจะมีความสำคัญกว่ากัน ในเรื่องนี้ ต้องเข้าใจให้ดีว่า ศาสตร์ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ การที่บอกว่า ศาสตร์ใดมีความสำคัญมากกว่า ขึ้นอยู่กับว่าพิจารณาในเรื่องใด ฉะนั้น การที่รัฐศาสตร์จะนำนิติศาสตร์ก็ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ ในช่วงเวลาใดรัฐศาสตร์มีความสำคัญที่จะต้องใช้ก่อน ก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งก็คือ ก่อนที่จะออกกฎหมาย ก็ต้องใช้รัฐศาสตร์ แต่เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว จะใช้รัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ไม่ได้ ต้องเป็น justice under law[6] | ||
อ้างอิง
[แก้ไข]- เชิงอรรถ
- รายการอ้างอิง
- ดาราพร ถิระวัฒน์. (2556). กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9789744666833.
- ไพโรจน์ วายุภาพ. (2555). คำอธิบายระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9786162690914.