ข้ามไปเนื้อหา

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

จาก วิกิคำคม

ศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นนักรัฐศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

คำคม

[แก้ไข]
  • [รัฐประหารมี 4 แบบ] แบบที่ 4 คือ รัฐประหารที่เกิดจากความวุ่นวายทางสังคม คือ รัฐบาลทะเลาะกับประชาชน หรือไม่ประชาชนทะเลาะก็ฆ่ากันเองบนท้องถนน แล้วฝ่ายรัฐประหารเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ผมเข้าใจว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็นการรัฐประหารเพื่อแก้ไขปัญหาเพราะว่ารัฐบาลไม่ได้ทะเลาะกับทหาร รัฐบาลทะเลาะกับพันธมิตร รัฐบาลทะเลาะกับประชาชน ความต่างมันอยู่ตรงนี้ ปัญหาเรื่องความถูกผิด ไม่ต้องมาถาม คือปัญหาเรื่องการถูกผิดมันต้องถามว่าคุณใช้เกณฑ์อะไรมาวัด มันเป็นการตัดสินเชิงคุณค่า ซึ่งใช้ความรู้สึก เวลาที่เรามองปัญหาการเมือง คุณต้องมองหลายๆอย่างประกอบกัน คือความถูกผิดมันตัดสินยาก แต่โดยหลักการแล้ว การรัฐประหารนี่เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ในระบบการเมืองประเทศนั้นๆ ไม่สามารถใช้กระบวนการปกติในการแก้ไขปัญหาได้”[1]
  • [การรัฐประหารครั้งนี้สังคมได้หรือสูญเสียอะไรบ้าง?] ทั้ง 2 อย่าง ได้บ้างเรื่องก็ต้องเสียบางเรื่อง ผมไม่คิดว่ามีอะไรได้มาอย่างเดียว อย่างน้อยเราก็เห็นบ้านเมืองกลับมาสู่ความสงบ อย่างน้อยก็ไม่เห็นการนองเลือด การปะทะกันบนท้องถนน อย่างน้อยเราก็จะได้เห็นกระบวนการบางอย่างที่เป็นข้อบกพร่องในในสมัยทักษิณจะได้รับการแก้ไข อย่างน้อยก็จะได้เห็นการปฏิรูปการเมืองบางอย่างเกิดขึ้น อันนี้คือสิ่งที่เราจะได้... ไม่มีอะไรได้โดยไม่เสีย ก็มีส่วนได้เยอะพอสมควร แล้วเราก็เสียไปพอสมควร ผมคิดว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองมันมีน้อยเกินไป สำหรับพวกที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตย อาจจะมองว่าการรัฐประหารเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ คนพวกนี้ไม่เคยอ่าน จอห์น ล็อค ผมกำลังพูดถึงบิดาของเสรีประชาธิปไตย จอห์น ล็อค บอกว่า รัฐบาลเกิดขึ้นโดยข้อตกลงทางสังคมที่เรียกว่า สัญญาสังคม หรือ Social Contract  รัฐบาลเมื่อได้ขึ้นไปสถาปนาอำนาจต้องเป็นไปตามข้อตกลงทางสังคม หน้าที่ของรัฐบาลคือ ธำรงไว้ซึ่งความสงบสุขของคนส่วนร่วม รักษาไว้ซึ่งเสรีภาพ ทรัพย์สิน อิสรภาพของประชาชน ก็ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข อย่าลืมนะว่านี่คือหน้าที่ของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ทำหน้าที่นี้ ประชาชนสามารถที่จะโค่นรัฐบาลได้ เราเรียกสิทธิตรงนี้ว่า สิทธิในการปฏิวัติ การยึดอำนาจในครั้งนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิวัติ ในภาษาของพวกบิดาเสรีประชาธิปไตย เค้าเรียกว่า Right to resistant, Right to Revolution สิทธิในการต่อต้าน สิทธิในการโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามสัญญาประชาคม[1]

อ้างอิง

[แก้ไข]