บัญชร ชวาลศิลป์

จาก วิกิคำคม

คำพูด[แก้ไข]

  • สิ่งที่ถูกมองข้ามในการศึกษาปฏิวัติ 2475 คือ 'นักเรียนนายร้อย' 24 มิ.ย. มีนักเรียนนายเรียนมาร่วมก่อการยึดอำนาจกว่า 500 คน มากันเกือบหมดโรงเรียน[1]
  • ผลกระทบจากรัฐประหาร 2490 หลังจอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างสมบูรณ์ ระหว่าง 2491-2494 เป็นช่วงที่มีความรุนแรงทางการเมืองอย่างมาก ทั้งการต่อต้านและการกวาดล้างผู้ต่อต้าน ทำให้บทบาทของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ โลดแล่นชัดเจนมาก อาทิ เหตุการณ์กบฎเสนาธิการ 1 ต.ค. 2491 ซึ่งน่าสนใจที่ผู้ก่อการส่วนใหญ่เป็นนายทหารหัวก้าวหน้า โดยเฉพาะพลเอก เนตร เขมะโยธิน ดาวรุ่งกองทัพบก มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง ทำลงไปเพราะไม่พอใจคณะรัฐประหารที่เข้าไปก้าวก่ายในกองทัพบก และเริ่มแสวงหาผลประโยชน์ สุดท้ายถูกจับขึ้นศาลแล้วถูกปล่อยตัว จากนั้นเกิดกบฎวังหลวงที่ นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้นำ โดยการต่อสู้เป็นไปอย่างรุนแรงมาก[2]
  • ตอนเป็นนักเรียนนายร้อยนั้นอยู่รุ่นใกล้กับรุ่น 2474 และบันทึกของ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ซึ่งเป็นนักเรียนนายร้อยรุ่นที่ออกมายึดอำนาจ สะท้อนให้เห็นว่า นักเรียนนายร้อยในเวลานั้นมีความไม่พอใจต่อความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย พวกเขาเห็นความเหลื่อมล้ำจากชีวิตประจำวันของตนเอง ในโรงเรียนนายร้อย เนื่องจากเดิมทีแล้ว ก่อนที่จะเป็นโรงเรียนนายร้อยอย่างในปัจจุบัน โรงเรียนนายร้อยเป็นสถานที่ของคนชั้นสูงของราชวงศ์เท่านั้น แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ กบฏ ร.ศ.112 รัชกาลที่ 5 จำเป็นต้องมีทหารประจำการ นำไปสู่การก่อตั้งโรงเรียนขึ้น รวมถึงความจำเป็นต้องเร่งผลิตทหารออกมา จึงเปิดโอกาสให้สามัญชนเข้ามาเรียนได้[1]
  • สิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ นำเข้ามาสู่โรงเรียนนายร้อย และวงการทหาร คือการเปลี่ยนระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยใหม่ จากเดิมที่ใช้การท่องจำ มาเป็นการคิดค้นเหตุผล...เพราะฉะนั้น ยุคของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ เป็นยุคที่ทหารเป็นกลุ่มคนที่หัวก้าวหน้าที่สุดในสังคมไทย[1]

อ้างอิง[แก้ไข]