ข้ามไปเนื้อหา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

จาก วิกิคำคม

ชื่อ ตามพระนาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒[1]





พระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ประวัติพระนาม ข้อที่ ๑ [2]

เมื่อครั้งเหตุการณ์เสด็จสรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าฟ้าอิศรสุนทรได้สืบทอดบัลลังค์ในทันทีพร้อมด้วยพระนามชั่วคราวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชประเพณีว่าพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกจะได้รับพระอิศริยยศชั่วคราวเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



ประวัติพระนาม ข้อที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์



ประวัติพระนาม ข้อที่ ๓

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามรัชกาลที่ ๒ ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย” และเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย



ประวัติการเฉลิมพระนามใหม่ [3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เฉลิมพระนามใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย


พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ นิวาสสถาน ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม

พระมหากษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ ๑รัชกาลที่ ๒รัชกาลที่ ๓รัชกาลที่ ๔รัชกาลที่ ๕รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗พระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๘รัชกาลที่ ๙



ชื่อ บทพระราชนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒



บทพระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

  อิเหนา  

เรื่องอิเหนาเป็นพงศาวดารชวา ในสมัยเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ประมาณ ๑๘๐๐ ปี[4] ร่วมราวคราวเดียวกับเมื่อสมเด็จพระร่วง แรกตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในสยามประเทศนี้ อิเหนานั้น ในพงศาวดารชวาเรียกชื่อว่า “อิเหนา ปันหยี กรัตปาตี” แต่พวกชวาเรียกกันเป็นสามัญโดยย่อว่า “ปันหยี” นับถือว่าเป็นมหาราชองค์หนึ่งในราชวงศ์ชวา เจ้านายที่ยังเป็นประเทศราชอยู่ในแดนชวาทุกวันนี้ คือสุสุหุนันเจ้าเมืองสุรเกษตรก็ดี สุลต่านเจ้าเมืองยกยา (อโยธยา) เกษตรก็ดี ยังถือว่าสกุลวงศ์เป็นเชื้อสายสืบมาแต่อิเหนา ครั้งพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแดนชวา เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) สุลต่านถวายหนังสือราชพงศาวดารชวาฉบับหลวงที่เขียนไว้สำรับ ๑ ทูลชี้แจงว่า มีปรากฏในพงศาวดารว่า ท้าวกุเรปันได้ราชธิดากรุงสยามไปเป็นมเหสีองค์หนึ่ง แต่ความข้อนี้ เมื่อโปรดฯ ให้สอบดูหนังสือตรงนั้น ได้ความว่าได้ราชธิดาไปจากกรุงจาม (อยู่ข้างใต้กรุงกัมพูชา) หาใช่ไทยไม่ ส่วนสุสุหุนันนั้นถวายกริชโบราณเล่ม ๑ ว่าเดิมเป็นกริชของอิเหนาให้ ทำไว้ด้วยเหล็กขวานฟ้า ซึ่งตกลงมาจากบนสวรรค์เมื่อครั้งอิเหนาครองประเทศชวาอยู่นั้น จะเห็นได้ตามที่กล่าวมาว่า ความเคารพนับถืออิเหนายังมีอยู่ในแดนชวาจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้จนพวกราษฎรพลเมืองชวาก็ยังชอบดูละครและดูหนังเล่นเรื่องอิเหนาอยู่เป็นนิจ เพราะฉะนั้น ละครชวาที่เล่นกันเป็นพื้นเมืองอย่างละครนอกของเราและหนังชวา จึงชอบเล่นเรื่องอิเหนายิ่งกว่าเรื่องอื่นๆ

ละครชวามีหลายอย่าง อย่างที่เล่นกันในพื้นเมืองชวาเรียกว่า “โตแปง” . .


  รามเกียรติ์ [5]  

เพิ่มข้อมูล. .


  ไกรทอง  

เพิ่มข้อมูล. .


  คาวี  

เพิ่มข้อมูล. .


  ไชยเชษฐ์  

เพิ่มข้อมูล. .


  สังข์ทอง  

เพิ่มข้อมูล. .


  มณีพิชัย  

เพิ่มข้อมูล. .


  ขุนช้างขุนแผน  

เพิ่มข้อมูล. .


  กาพย์เห่เรือ  

เพิ่มข้อมูล. .


  นางลอย  

เพิ่มข้อมูล. .


  นาคบาศ  

เพิ่มข้อมูล. .


  พรหมาสตร์ [5][6]  

เพิ่มข้อมูล. .


พระมหากษัตริย์ไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
***************

หมายเหตุ [7][8]

[แก้ไข]
  1. พระราชลัญจกร
    รูปครุฑยุดนาค รูปตรา พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  2. เรื่องพระนามนี้ ตลอดในข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้เก็บรายละเอียดมาจากบททางสารานุกรม ในเว็บไซต์เป็นหลัก และรวบรวมมาตามที่พบเห็นและจัดว่ามีอยู่มาก คือที่วิกิพีเดียสารานุกรม ซึ่งในที่อื่น ๆ เห็นจะรวบรวมไปจากสารานุกรมดังกล่าวนี้ ซึ่งเห็นกันว่ามีอยู่แล้ว ฉะนั้น ข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ตามเก็บมาแต่ที่เดียวนี้ ในเรื่องชื่อและประวัติของพระนาม
  3. โปรดดูจากประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๒
  4. ศักราชอ้างตาม ฉบับของ เซอร์ สแตมฟอด แรฟฟั่ล เรื่องแบบเดียวกัน ตามฉบับเต็มในชื่อของพงศาวดารนี้ โปรดติดตามหาดู จากเว็บไซต์ของหอสมุดวชิรญาณ
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 บทพากย์ และบทละครตามข้อนี้ เห็นจะเป็นเรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมด เพียงแต่แยกเป็นชื่อตอน ๆ หนึ่ง ที่ชื่อว่าเป็นบทละครนั้น ได้แก่เรื่องรามเกียรติ์ ตอน หนุมานถวายแหวน และตอนสองกษัตริย์กลับอโยธยา ว่าดั่งนั้น, ต่อเรื่องนางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ นั้นก็เช่นกัน แต่นับว่าเป็นบทพากย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยเรื่องรามเกียรติ์ ที่ใช้สำหรับการแสดงโขน
  6. การจัดแบ่งประเภทบทประพันธ์ในงานบทพระราชนิพนธ์เป็นเช่นไรนั้น ว่าดังนี้ เรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์ เป็นบทกลอน, เรื่องไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย จัดเป็นบทละครนอก, เรื่องขุนช้างขุนแผน จัดเป็นกลอนเสภา, กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน จัดเป็นกาพย์, เรื่องนางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ จัดเป็นบทพากย์โขน
  7. บทเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือ “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า” เครื่องตนตรีประจำพระองค์เอง ทรงโปรดปรานซอสามสาย ซอเครื่ององค์ชื่อดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า “ซอสายฟ้าฟาด”
  8. องค์การยูเนสโก หน่วยงานศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) ได้ประกาศยกย่องถวายพระเกียรติคุณให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511
    ดู เพิ่มเติม บุคคลของโลก


ให้การเผยแพร่เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้บทความชิ้นนี้ ไม่ได้เป็นบทความหรือข้อเขียนที่สงวนซึ่งลิขสิทธิ์ แต่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือประกาศ ที่เป็นปัจจุบันในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย