พระปัจเจกพุทธเจ้านิมิราช
พระเจ้านิมิราช หรือพระปัจเจกพระพุทธเจ้านิมิราช คือพระปัจเจกพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งที่ได้โปรดพระมหาสัตว์เมื่อสมัยกาลอดีตที่ยังเป็นผู้เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการรับค่าจ้าง พระปัจเจกพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่พระมหาสัตว์ถึงคุณแห่งบรรพชาเป็นต้น และเรื่องแห่งถ้อยคำอันเป็นที่สุดภพแห่งการประพฤติซึ่งเนกขัมมะธรรมในที่แห่ง ซึ่งเป็นอดีตกาลในพระพุทธเจ้าโคตมเมื่อเวลาของการเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ในสมัยนั้น พระมหาสัตว์อันเป็นผู้ถูกภริยาทอดทิ้งนั้นแล พระมหาสัตว์อันเป็นผู้ต้องเลี้ยงบุตร เมื่อบุตรนั้นรู้บำรุงเลี้ยงดูตนเองได้แล้ว จึงได้บวชประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกะพระปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลาย [1][2][3]
- บทบรรยายจากพระไตรปิฎก ว่า...
พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่างถนน ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ครั้งนั้น
เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบเอาชิ้นเนื้อ จากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป. นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อมเหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จะงอยปากจิก ใช้ปีกตี ใช้เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร. มันทนการรังแก ทนไม่ไหว จึงทิ้งก้อนเนื้อก้อนนั้นไป. นกตัวอื่นก็คาบเอาเนื้อก้อนนั้นไป. นกเหล่าอื่น ก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป. ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า |
||
— คติธรรมพระปัจเจกพุทธเจ้านิมิราช
นกตัวใด ๆ คาบก้อนเนื้อ นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใด ๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้น ทิ้ง นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความสุข
แม้กามคุณทั้ง 5 เหล่านี้ ผู้ใด ๆ ยึดถือไว้ ผู้นั้น ๆ นั่นแหละ มีความทุกข์ ส่วนผู้ไม่ยึดถือนั่นแหละ มีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธารณะสำหรับคนจำนวนมาก. ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง 5 แล้วเป็นสุข เหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น. *[4]พระองค์ทรงมนสิการโดยแยบคายอยู่ทั้ง ๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น[1][2] |
||
— แล้วประกาศเป็นจริยาวัตรในพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้.
นกจำนวนมากพากันบินตามรุมล้อม ตีจิกนกตัวหนึ่งที่กำลังนำก้อนเนื้อมา เพราะ อาหารเป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นเหตุนั้นแล้ว จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร[1][2] | ||
อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ 1.0 1.1 1.2 มาในอรรถกถา กุมภการชาดก ซึ่งกล่าวถึงสมัยแห่งพระปัจเจกพระพุทธเจ้าที่มีแล้ว ๔ พระองค์
- ↑ 2.0 2.1 2.2 พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม เล่มที่ 59 หน้าที่ 351 ถึง 361
- ↑ จบใน คำว่า กุมฺภการชาตก ตติย เป็นต้น อยู่ในฉบับสยามรัฐ หน้า ๒๒๗ ข้อที่ ๑๐๖๒ ถึง ๑๐๖๔
- ↑ *บรรยายมาในพระไตรปิฎกนั้น ว่า ซึ่งมนสิการแล้วแห่งพระเจ้านิมิราช ฉะนั้น