ข้ามไปเนื้อหา

พระอรหันต์จี้กง

จาก วิกิคำคม

พระจี้กง เป็นนักบวชทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ใต้ปกครองประเทศจีน ท่านใช้ชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๖๙๑-๑๗๕๒ เดิมชื่อ “ซินหย่วน แซ่หลี่” เกิดที่หมู่บ้านหย่งหนิง ตำบลเทียนไถ มณฑลเจ้อเจียง

  • อมตะคำสอนพระอรหันต์จี้กง
w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ
              ๑.ชีวิตย่อมเป็นไปตามลิขิต (ละชั่วทำดี)...วอนขออะไร
              ๒.วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้...กลุ้มเรื่องอะไร
              ๓.ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์...เคารพทำไม
              ๔.พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา...ทะเลาะกันทำไม
              ๕.ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต...ห่วงใยทำไม
              ๖.ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ...ร้อนใจทำไม
              ๗.ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย...ทุกข์ใจทำไม
              ๘.ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้...อวดโก้ทำไม
              ๙.อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร...อร่อยไปไย
              ๑๐.ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้...ขี้เหนียวทำไม
              ๑๑.ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง...โกงกันทำไม
              ๑๒.โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย...โลภมากทำไม
              ๑๓.สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียง ๓ ฟุต...ข่มเหงกันทำไม
              ๑๔.ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน...หยิ่งผยองทำไม
              ๑๕.ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต...อิจฉากันทำไม
              ๑๖.ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ...แค้นใจทำไม (บำเพ็ญไวไว)
              ๑๗.นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ...เล่นการพนันทำไม
              ๑๘.ครองเรือนด้วยความประหยัด ดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น...สุรุ่ยสุร่ายทำไม
              ๑๙.จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น...อาฆาตทำไม
              ๒๐.ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก...คิดลึกทำไม
              ๒๑.ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้...รู้มากทำไม
              ๒๒.พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด...โกหกทำไม
              ๒๓.ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วไปในที่สุด...โต้เถียงกันทำไม
              ๒๔.ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด...หัวเราะเยาะกันทำไม
              ๒๕.ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิต ไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา...แสวงหาทำไม
              ๒๖.ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ...ถามโหรเรื่องอะไร
              ๒๗.ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย...วุ่นวายทำไม
  • จากคำอ้างอิง การจัดพิมพ์[1]