ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสภา

จาก วิกิคำคม

รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

  • รู้มั๊ยคะ การสนับสนุนโทษประหารกับการต่อต้านการจูบของ LGBT+ในรัฐสภามีจุดร่วมตรงไหน ? ตรงที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว ความเกลียดชังแค้นเคือง มากกว่าหัวใจของสิทธิมนุษยชน ไงล่ะ
    • คณาสิต พ่วงอำไพ
  • โดยผู้ฟ้องคดีเห็นว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมิได้มีฐานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นและเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย และขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดี
    • นพดล อินทปัญญา
  • การแต่งตั้งบุคคลในครอบครัว เครือญาติ และคนสนิทเข้ารับตำแหน่งประจำตัว สนช. ถือว่าขัดต่อจริยธรรมของ สนช. และขัดต่อหลักเกณฑ์การแต่งตั้งที่ลงนามโดยประธาน สนช. อย่างชัดเจน ดังนั้นเห็นว่า สนช.ควรแสดงความผิดชอบทางจริยธรรมด้วยการลาออก เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
    • พงษ์นรินทร์ นนท์ก่ำ
  • ผมต้องขอโทษประชาชนแทนสนช. ด้วย ที่มีภาพลักษณะดังกล่าวเผยแพร่ออกไป และทำให้คนเข้าใจว่า สนช. ปฏิบัติหน้าที่ไม่เต็มที่ แต่ผมยืนยันว่า สนช. ทั้ง 2 ท่านทำงานตามหน้าที่มาเป็นอย่างดี ติดตามและลงพื้นที่พบประชาชนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีทราบว่า สนช. ทั้ง 2 อยู่ระหว่างการรักษาอาการป่วย ทั้ง คุณชาลี ที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจผ่านการบายพาส และ คุณธำรงมีอาการป่วยเช่นกัน แต่ผมเข้าใจความรู้สึกของประชาชนที่เกิดขึ้นและมองว่าการประชุมครั้งสำคัญ สนช. ควรทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ผมจึงขอโทษประชาชนด้วย
    • พีระศักดิ์ พอจิต
  • ผู้แถลงมีหน้าที่แถลงปิดคดีเท่านั้น ท่านไม่มีสิทธิใดๆ
  • อำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการจะต้องไม่อยู่ในมือของคนๆ เดียว
  • โห่หาพ่อหรอ
    • วิเชียร ขาวขำ
  • การจะเปิดโอกาสให้พูดกันในสภาก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อศึกษา เมื่อตั้งคณะกรรมาธิการมาศึกษาแล้ว ผลมันจะเป็นอย่างไรก็เป็นหลังจากที่มีคณะกรรมาธิการ ไม่ใช่ว่าเราทำโดยแบบเสียไม่ได้ แต่ทำโดยคิดถึงหลักการ โดยหลักการที่ว่านั้น คือ การเอาเรื่องเข้ามาในสภา
    • วิเชียร ชวลิต
  • เนื่องจาก สนช.ไม่ได้มาจากเสียงประชาชน ดังนั้นเห็นว่า สนช.จึงไม่มีความชอบธรรมในการพิจารณา
  • "คำถามของผมก็คือว่า ถ้าเราให้ ส.ว. มีอำนาจน้อยทำไมถึงต้องมีปัญหากับเรื่อง ส.ว. มากนักในเมื่อสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจสูงสุดเนี่ย เรากล้าให้ประชาชนเลือก แล้วทำไมเราไม่กล้าให้ประชาชนเลือก ส.ว. ที่มีอำนาจนิดหน่อย มันเป็นเพราะอะไรตรรกะมันไม่ได้ อธิบายด้วยตรรกะจะเอาสภาพแวดล้อมของสังคมอะไรมาพูดก็ฟังไม่ขึ้นทั้งนั้นน่ะ คือตรรกะมันใช้ไม่ได้จริงๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าคิดจะมีสภาคู่นี่ ก็ต้องทำให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชน แล้วใครจะตัดสินใจได้ดีกว่าประชาชน ให้คนคนหนึ่งตั้ง คนคนหนึ่งก็ตั้งพวกตัวเองมาเพราะเป็นระบบอุปถัมภ์ ให้มีการสรรหาก็เบาลงไปหน่อย แต่เขาบอกสรรหาก็ยังวิ่งเต้นกันได้ เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งถ้ากำหนดคุณสมบัติให้เข้มแล้วให้ประชาชนเลือกโดยตรงอันนี้น่าจะโปร่งใสที่สุดนะครับ แล้วผมยังยืนยันว่าถ้ากล้าให้ประชาชนเลือก ส.ส. ซึ่งมีอำนาจมากที่สุดแล้ว ตอบหน่อยสิทำไมไม่กล้าให้ประชาชนเลือก ส.ว.โดยตรง"
    • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
  • ถ้าหากว่า เราต้องการที่จะให้ผลงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังไม่สำเร็จในเวลานี้ ได้สำเร็จต่อไปในอนาคต การให้มีสภาเดียว จากบุคคลที่ไม่รู้ในอนาคต ไม่รู้จะมาจากประเภทไหนบ้าง ย่อมเป็นอันตรายอย่างยิ่ง สำหรับเราที่จะให้มีผลในอนาคต เพราะฉะนั้นหลักประกันที่ดีที่สุด คือ ให้มีสองสภา ให้มีดุลแห่งอำนาจที่จะคอยต่อสู้ กับบุคคลที่เป็นตัวแทนราษฎร ซึ่งเราไม่อาจคาดหมายได้ว่า มาในอุดมคติใด
    • สมภพ โหตระกิตย์
  • คำวินิจฉัยประธานถือเป็นที่สิ้นสุด จะผิดหรือถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    • สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
  • ในขั้นตอนต้องเริ่มพิจารณาวาระสองใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ชื่อร่าง ไปจนถึงมาตราสุดท้าย โดยส.ส.ที่เสนอคำแปรญัตติ และกรรมาธิการที่ขอสงวนความเห็นสามารถอภิปรายได้ตามกรอบเดิม และลงมติเป็นรายมาตรา ก่อนจะลงมติวาระสามต่อไป อย่างไรก็ตามหากการประชุมนัดพิเศษไม่แล้วเสร็จภายในวันเดียว สามารถขยายไปจนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จวาระให้ความเห็นชอบทั้งฉบับ และเมื่อสภาฯ ลงมติวาระสามแล้วเสร็จ ต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภา พิจารณาต่อทันที
    • สรศักดิ์ เพียรเวช