ข้ามไปเนื้อหา

ลิลิตพระลอ

จาก วิกิคำคม

ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์

ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต

คำคม

[แก้ไข]

๑. ๏ ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิศฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ ๚ะ

๒.๏ อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ๚ะ

(กรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว แต่กลับลอยลงมาจากสวรรค์อีกหรืออย่างไร มีปราสาทพระราชวังอันงดงามตระการตา ด้วยบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ช่วยทนุบำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรือง ปัดเป่าทุกข์ให้แก่ไพร่ฟ้าชาวประชา)

นักวรรณคดีมักเปรียบเทียบโคลงบทนี้ กับโคลงดั้นจากโคลงกำสรวล ซึ่งขึ้นบาทแรกด้วยสำนวนคล้ายกัน ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบทชมพระนครเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้แต่งอาจชื่นชมโคลงจากโคลงกำสรวล ซึ่งชื่นชมพระนครเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง

๑. ๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ๚ะ
๗. ๏ อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน
ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า
แสนโกฎบยลยิน หยากเยื่อ
ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ
(โคลงกำสรวล)

นอกจากนี้ในโคลงหมายเลข ๒๒. ยังถือเป็นแม่แบบของโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งด้วย

๒๒. ๏ จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ

ด้วยโคลงบทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด จึงใช้เป็นแม่แบบสำหรับการแต่งโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดี

ในตอนท้ายๆ ผู้แต่งยังได้เอ่ยถึงวรรณคดีรุ่นเก่าอีกสองเรื่อง คือ กำสรวลศรีปราชญ์ และทวาทศมาส ซึ่งเป็นนิราศคำโคลงเช่นเดียวกัน

๑๒๔. ๏ กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม ๚ะ

โคลงบทสุดท้าย (๑๔๔) ผู้แต่งได้ระบุชื่อตนเอาไว้ด้วย ดังนี้

๑๔๔. ๏ โคลงเรื่องนิราศนี้ นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิล ว่าไว้
บทใดปราชญ์ปวงฉิน เชิญเปลี่ยน แปลงพ่อ
ปรุงเปรียบเสาวคนธ์ไล้ เลือกลิ้มดมดู ๚ะ
๑๔๕. ๏ อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสรม ๚ะ
๑๔๖. ๏ อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ๚ะ
๑๔๗. ๏ อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน
ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า
แสนโกฎบยลยิน หยากเยื่อ
ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ

ด้วยโคลงบทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด จึงใช้เป็นแม่แบบสำหรับการแต่งโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดี

๑๔๘. ๏ ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิศฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ ๚ะ

นักวรรณคดีมักเปรียบเทียบโคลงบทนี้ กับโคลงดั้นจากโคลงกำสรวล ซึ่งขึ้นบาทแรกด้วยสำนวนคล้ายกัน ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบทชมพระนครเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้แต่งอาจชื่นชมโคลงจากโคลงกำสรวล ซึ่งชื่นชมพระนครเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้ไข]
w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ