สนธิ ลิ้มทองกุล

จาก วิกิคำคม
สนธิ ลิ้มทองกุล

สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการกลางแจ้ง เมืองไทยรายสัปดาห์ ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ซุปเปอร์บันเทิง และเคยเป็นผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 อสมท. ก่อนที่ถูกระงับการถ่ายทอดเนื่องจากการกล่าวถึงพระราชอำนาจ เป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่นำการชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเขาถูกศาลฎีกา สั่งจำคุก 20 ปี ไม่รอลงอาญา การกระทำดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยอยู่ในวงจรรัฐประหารมาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันคุณสนธินำเสนอข่าวสรรพคุณของฟ้าทลายโจรต่อโรคโควิดเกินเป็นความจริงโดยใช้เทคนิคการพูดนำเอางานวิจัยบางส่วนมาตีความแบบผิดๆให้คนที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เชื่อถือ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเป็นวงกว้าง

คำคม[แก้ไข]

  • แล้วพ่อแม่พี่น้องประชาชน ตลอดจนคุณสโรชาด้วยจำเอาไว้..... วันไหนในอนาคต ตราบจนกระทั่งผมตาย ถ้าผมไปรับตำแหน่งอะไรทางการเมือง แล้วถ้าผมไม่ใช่สื่อมวลชนของท่านต่อไป เจอหน้าที่ไหน ถุยน้ำลายใส่หน้าผม ถอดรองเท้าตบหน้าผมได้ทันที[1]
  • ทำไมจะต้องให้รัฐบาลหรือไอ้อุตสาหกรรมหรือใครก็ตาม มากำหนดว่าปีหน้าอุตสาหกรรมจะโตกี่เปอร์เซนต์ ๆ ๆ ประชาชนจะใช้ไฟกี่เปอร์เซนต์ แล้วก็บอกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯว่าคุณไปหาไฟมา  ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องไปสร้างเขื่อน ไปสร้างโรงงานปั่นไฟ ไปซื้อแก๊สจากพม่า ไปซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม น้ำเทิน จากลาว เพียงเพื่อให้อุตสาหกรรมมันเจริญเติบโตต่อไป ทำไมเราไม่มองในมุมกลับโดยใช้ปัญญาของเรา เศรษฐกิจพอเพียง มองในมุมกลับว่าทรัพยากรในประเทศไทยของเรานั้นที่ผลิตไฟฟ้า ผลิตได้สูงสุดโดยที่ไม่ต้องไปซื้อจากใคร ผลิตได้แค่ไหน สมมุติว่า 100 เปอร์เซนต์ 100 ส่วน เราก็ลดลงมาเหลือ 70 ส่วน แปลว่าอะไร แปลว่าเหมือนเครื่องยนต์ ถ้าวิ่งได้สูงสุด 100 กิโลเมตร เราคงไม่วิ่งถึง 100 กิโลเมตรตลอดเวลา เพราะเครื่องมันพัง เราก็วิ่งแค่ 70 กิโล แล้วเราก็เอา 70 ส่วนนั้นเป็นตัวตั้ง เราก็บอกทุกคนในสังคม บอกว่าประเทศไทยผลิตไฟได้ไม่เกิน 70 นะ คุณจะทำอะไร คุณตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 70 ส่วนที่เราผลิตได้ อัตตาหิ อัตโนนาโถ เรารู้ทันที เราไม่ต้องไปซื้อน้ำมันมาเติม เรารู้ว่าสุดท้ายเรามีอยู่แค่นี้ก็อยู่อย่างมีความสุข...[2]
  • ไม่รู้เรื่องแล้วชอบออกมาตีกินอยู่เรื่อย อย่าทะลึ่งออกมาให้ความเห็นแบบนี้อีก[3]
  • วันนั้นก็คือการล่มสลายของชาติบ้านเมือง เพราะวันนั้นสถาบันกษัตริย์จะไม่อยู่ในสายตาคนพวกนี้แล้ว พวกคุณต้องเสียสละ พวกคุณกอบโกยชาติบ้านเมืองมานานแล้ว เชื่อผม ปัญหาประเทศชาติจบในสภาไม่ได้เพราะว่าสภานั้นคือตัวปัญหาที่แท้จริงของประเทศชาติ ถ้าคุณไม่ทำ ผมเสนอให้ทหารดี ๆ ที่รักชาติรักบ้านรักเมืองปฏิวัติ นี่คือทางออกทางที่ 2 แต่ผมไม่ได้เสนอให้รัฐประหาร ผมเสนอให้ปฏิวัติ ปฏิวัติเพื่อที่จะจัดระเบียบทุกอย่างให้เดินต่อไปให้ถูกต้องในชาติบ้านเมือง แต่ไม่ใช่ทหารมาจัดการ ปฏิวัติเสร็จให้ภาคประชาชนเข้ามา มามีส่วนร่วมในการให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียง ในการให้ทุกคนได้ความโปร่งใสในการทำงาน ได้ความโปร่งใสในที่มาที่ไป นักการเมืองเข้าใจในหน้าที่ที่ตัวเองต้องทำ ข้าราชการเข้าใจหน้าที่ที่ตัวเองต้องทำ ทหารกลับไปเป็นทหารเหมือนเดิม[4]
  •   พี่น้องครับ ผมกลับมาครั้งนี้ผมคงได้เจอกับพี่น้องมากขึ้น ผมรู้ว่าแต่ละคนก็มีแม่ยกของตัวเอง ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ก็มีแม่ยกของท่าน ผมก็มีแม่ยกของผม เอาเป็นว่าพฤติกรรมของคนซึ่งมีแม่ยกนั้นขอให้อุดมการณ์ไม่เปลี่ยน หลักการยืนให้มั่นคง ไม่เป็นไรครับ จะยังไงก็ตาม จะรักใครชอบใครไม่ว่า แต่ให้อยู่กับพุทโธตลอด ให้มีสติ สติว่ายังไง สติว่าในที่สุดแล้วชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์รึเปล่า ถ้าชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์รอด จะเป็นแม่ยกใครไม่สำคัญหรอกครับ และอย่าเป็นแม่ยกอย่างงมงาย ลืมหูลืมตา แตะต้องพระเอกตัวเองไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว แม่ยกประเภทนี้เขาเรียกว่าแม่ยกงี่เง่า แล้วค่อนข้างจะโง่ด้วย ขอบพระคุณครับ สวัสดีครับ[5]

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. นายสนธิ ลิ้มทองกุลในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ตอบโต้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในระหว่างการชุมนุม 193 วัน ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  4. นายสนธิ ลิ้มทองกุล สนับสนุนให้มีการปฏิวัติประเทศไทยในรายการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2553
  5. นายสนธิ ลิ้มทองกุล วิจารณ์ผู้สนับสนุน นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในรายการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2553