ข้ามไปเนื้อหา

สมประวิณ มันประเสริฐ

จาก วิกิคำคม

คำคม

[แก้ไข]
  • ผลกระทบเศรษฐกิจไทยจะมี 2 ช่องทางคือ 1.ความผันผวนทางการเงิน ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์จะผันผวนรุนแรง แต่เมื่อมองเสถียรภาพการเงินระหว่างประเทศของไทยแล้วถือว่าอยู่ในระดับเข้มแข็ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง เชื่อว่ามีความเพียงพอในการรับมือความผันผวนในระยะสั้นได้ 2.ประเด็นด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบระยะยาว มีผลวิจัยระบุว่า การที่อังกฤษออกจากอียูจะเป็นผลลบให้เศรษฐกิจอังกฤษในปี พ.ศ. 2559 เติบโตลดลงประมาณ 1-2% ส่วนนี้จะส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าลดลง ซึ่งประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรลดลงต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2548 อยู่ที่ 2.5% มาอยู่ที่ 1.8% ในปี พ.ศ. 2558 ส่วนนี้หากวัดกลับมาเป็นผลกระทบการส่งออกสินค้าในประเทศไทย หากอังกฤษเติบโตลดลง 1-2% จริง และลดปริมาณนำเข้าสินค้า จะทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอีกประมาณ 0.45% ส่วนตัวประเมินว่า ปี 2559 การส่งออกจะติดลบ 1% หลังจากนี้จึงต้องปรับเป้าหมายอีกครั้ง
  • การออกจากอียูของอังกฤษยังต้องใช้เวลากว่า 2 ปี เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายของอังกฤษ รวมทั้งต้องเจรจากับทางอียูด้วย เบื้องต้นประเทศไทยจะกระทบในด้านจิตวิทยา และกระแสเงินทุนระยะสั้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ จะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจอียู และเศรษฐกิจของอังกฤษเช่นกัน กระทบต่อการดำเนินนโยบายธนาคารกลางต่าง ๆ ของโลก ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และ ธปท.ได้ระบุถึงปัจจัยอังกฤษในบทวิเคราะห์เศรษฐกิจแล้ว สำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการค้าขายระหว่างประเทศ
  • แนะนำว่าหลังจากนี้ไปจะเจอกับความเสี่ยงและความผันผวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อ้างอิง

[แก้ไข]