สามก๊กฉบับวณิพก
หน้าตา
- โจโฉ
- "ข้าพเจ้ายอมทรยศโลก ดีกว่าให้โลกทรยศข้าพเจ้า" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความเด็ดเดี่ยว มั่นคงและแน่วแน่ของโจโฉ[1]
- "ความหยิ่งด้วยความโง่ ไม่มีค่าเหมือนผู้ที่หยิ่งด้วยความฉลาด" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงวิสัยทัศน์ของโจโฉ ที่แสดงความเหนือชั้นกว่าอ้วนเสี้ยว[1]
- "ซึ่งจะฆ่าไก่และจะเอามีดฆ่าโคมาฆ่านั้นไม่ควร" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความประมาทข้าศึกของฮัวหยง[1]
- "ตัดต้นรานกิ่งแต่ไม่โก่นราก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงถึงความแพ้ภัยในความประมาทของตนเองของอ้องอุ้น [1]
- "ซึ่งจะมาถืออิศริยศในท่ามกลางศึกดังนี้ไม่ควร" เป็นวาทะสามก๊กที่โจโฉกล่าวห้ามปรามในความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างของอ้วนเสี้ยว[1]
- จูล่ง
- "ให้ทุกห้องเต็มไปด้วยมิตร ให้น้ำสุรามฤตจงเปี่ยมทุกถ้วยอยู่ตลอดเวลา" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความปกครองราษฏรด้วยความโอบอ้อมอารีของขงหยง[2]
- "จนยากแต่มิใช่เห็นเงินทองก็ตาลุก ชาวเสียงสานต้องการดื่มเกียรติ" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการปูนบำแหน็จรางวัลจากการออกศึกสงครามของจูล่ง[2]
- "ข้าพเจ้าทำศึกมาแต่หนุ่มจนอายุถึงเพียงนี้ ก็ยังไม่เพลี้ยงพล้ำเสียทีให้ข้าศึกดูหมิ่นได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่หวาดกลัวและย่อท้อในการทำศึกสงครามของจูล่ง [2]
- จิวยี่
- "ดุจแมลงหวี่อันจะต่อสู้ด้วยช้างสาร เหมือนแบกเอาฟางเข้าไปทุ่มที่กองเพลิง" เป็นวาทะสามก๊กของเตียวเจียว ที่ห้ามปรามไม่ให้ซุนกวนร่วมมือกับโลซก[3]
- "มาตรว่าชีวิตเราจะตายในท่ามกลางข้าศึก ก็ให้เอาอานม้าปิดศพไว้ เร่งทำการต่อไป" เป็นวาทะสามก๊กที่สั่งการให้ทหารทำหน้าที่ของตนต่อไป โดยไม่ต้องกังวลของอาการป่วยของตนเองของจิวยี่[3]
- "สำหรับชายที่หยิ่งด้วยเกียรติของชายนั้น ในโลกนี้อันใดเล่าจะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนกับที่ได้ยินข้อความล่วงเกินมาถึงหญิงอันเป็นสุดที่รักสุดเคารพของตน" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความโกรธแค้นโจโฉที่คิดจะพรากหญิงคนรักของตนไปเป็นนางบำเรอของจิวยี่ [3]
- "ตัวเราเกิดมาเป็นชาย ได้ลั่นวาจาออกมาแล้วก็ไม่คืนคำเลย" เป็นวาทะสามก๊กที่ยืนกรานแสดงความหนักแน่นในการนำทัพเข้าตีเมืองลำกุ๋นของจิวยี่ [3]
- กวนอู
- "ขึ้นชื่อว่าแก้วถึงจะแตกทำลายก็ไม่หายชื่อ เราจะขอทำศึกสงครามด้วยท่านกว่าจะสิ้นชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่ย่อท้อในการทำศึกสงครามของกวนอู [4]
- "บุตรของเรานี้เป็นชาติเชื้อเหล่าเสือ ไม่สมควรจะให้แก่สุนัข" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการยกลูกบุตรสาวให้แก่ลูกชายของซุนกวนของกวนอู [4]
- อ้วนเสี้ยว
- "ครั้นเราจะรุกก็ไม่แลเห็นชัยชนะ จะถอยเล่าก็รังแต่จะถูกเย้ยหยัน แต่เรายังไม่เสียเปรียบเลยในยุทธภูมินี้ ถอยเท่านั้นเป็นทางที่ดีที่สุด" เป็นวาทะสามก๊กในการตระเตรียมกำลังไพร่พลในการถอยทัพของอ้วนเสี้ยว[4]
- จูกัดเหลียง
- "ท่านอย่าทำการด้วยยโส จะคิดผ่อนปรนให้จงดี อันวู่วามตามความโกรธนั้น ภายหลังจะเสียการไป" เป็นวาทะสามก๊กที่แสร้งเตือนจิวยี่ด้วยความปรารถนาดีของจูกัดเหลียง [5]
- "เมื่อมิได้พิเคราะห์ให้ตระหนักก่อน ด่วนมาโกรธฉะนี้ก็จนใจ" เป็นวาทะสามก๊กที่ยั่วให้ซุนกวนเกิดความโมโหเพื่อเป็นการหยั่งดูความสุขุมรอบคอบของจูกัดเหลียง [5]
- "ทั้งกายจะหางามสักหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นและอากาศ" เป็นวาทะสามก๊กในการเลือกนางอุยซีเป็นคู่ครอง ที่เต็มไปด้วยความเฉลี่ยวฉลาดมากกว่าความสวยงามของรูปร่างหน้าตาของจูกัดเหลียง[5]
- ซุนฮูหยิน
- "เกิดมาเป็นหญิง จะให้มีชายต้องถึงสองคนก็ไม่ควรนัก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความมั่นคงต่อสามีและไม่อาจมีชายใดอื่นได้อีกของซุนฮูหยิน [6]
- เล่าปี่
- "ยากจะหาคนใดรู้โชคตน แต่ข้ามีกังวลเพราะเชื่อว่า ที่สุดวันวันหนึ่งคงจะมา ให้ข้าลาวิเวกสุขเข้าคลุกงาน" เป็นวาทะสามก๊กที่ร่ายกลอนโศลกพรรณาถึงความพ่ายแพ้ของตนเองของเล่าปี่[6]
- "ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้า ขาดแลหายแล้วก็จะหาได้ พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพี่น้องร่วมสาบาน ที่มีความสำคัญมากกว่าลูกเมียของเล่าปี่ [6]
- "คิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ทีได้ทีเสีย ยักย้ายถ่ายเทมิให้ผู้ใดล่วงรู้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของชายชาติทหารของโจโฉ[6]
- "ธรรมดาเกิดมาเป็นชาติทหารแล้ว ถ้าจะเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ ถึงจะได้ทีก็อย่ายินดี" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวปลอบใจทหารและให้เก็บอากัปกิริยาและควบคุมอารมณ์ในการแสดงความรู้สึกของเล่าปี่ [6]
- "การจะทำลายล้างคนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นจากตนดังนี้ ใช่วิสัยชายชาตรีที่พึงทำ" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแสดงความเห็นใจและให้โอกาสลิโป้ของเล่าปี่ [6]
- "ความโกรธความยินดี มิได้ปรากฏออกมาภายนอก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความสำรวมกายสำรวมใจและกิริยามารยาทของเล่าปี่ [6]
- ตั๋งโต๊ะ
- "จะหาสาวงามโลกก็เหลือหา สมเป็นนางพญาอันสูงสุด ไม่คู่ควรกับมนุษย์ผู้ใด ควรสมมุติแต่กษัตริย์ขัตติยา" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงความงามอันหาที่ติมิได้ของหญิงสาวของตั๋งโต๊ะ [7]
- เตียวเสี้ยน
- "อย่าว่าแต่จะเสียตัวเพียงนี้เลย ถึงจะตายก็ไม่เสียดายชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่ยอมพลีกายเพื่อกอบกู้แผ่นดินของนางเตียวเสี้ยน [7]
- "ทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็คิดว่า ถ้าท่านมีทุกข์สิ่งใด ข้าพเจ้าจะสนองคุณท่าน ถึงมาตรว่าชีวิตจะตายและกระดูกจะแหลกเป็นผงก็ดี" เป็นวาทะสามก๊กที่ยินดีสนองคุณอ้องอุ้นผู้เป็นบิดาบุญธรรมของนางเตียวเสี้ยน [7]
อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 โจโฉ ผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 2.0 2.1 2.2 จูล่ง สุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 จิวยี่ ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 4.0 4.1 4.2 กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 5.0 5.1 5.2 จูกัดเหลียง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 เล่าปี่ ผู้พนมมือแด่ชนทุกชั้น, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550
- ↑ 7.0 7.1 7.2 ตั๋งโต๊ะ ผู้ถูกแช่งทั้งสิบทิศ, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550