หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล

จาก วิกิคำคม

พลตรี หม่อมราชวงศ์ สังขดิศ ดิศกุล (พ.ศ. 2464 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมาเลเซีย สวิตเซอร์แลนด์ และสำนักวาติกัน เป็นโอรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมรสกับนางมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา) มีบุตร คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล

คำคม[แก้ไข]

“ ในหลวงทรงตรัสสอนปู่เสมอว่า "นักปกครองนั้น ความจริงใจสำคัญสูงสุด คือ ไม่หลอกลวง แต่ความโอ้อวดเช้าเย็นและคอยแต่วัดรอยเท้าผู้ใหญ่

ถึงขั้นยกตนเหนือกว่า ถือเป็นนักปกครองชั้นเลว

”
“ เสด็จในกรมประทานสอนแก่หลานชายใหญ่สืบตระกูล (ม.ร.ว. สังขดิศ ดิศกุล) เมื่อแรกเริ่มเข้ารับราชการ

การเลือกใช้คนให้เหมาะแก่ตำแหน่ง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เป็นนายคน การที่จะรู้ว่าถูกหรือผิดนั้น จะต้องขยันเอาใจใส่ดูอยู่เสมอว่า ผลงานที่เขาทำนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเขาทำได้ดี ต้องยอมให้ว่าเป็นความดีของเขาเอง เราจะรับไว้แต่เพียงว่าเลือกคนถูก แต่ถ้าเขาทำผิด เราต้องรับเสียเองว่า เพราะเราเลือกเขา ๆ จึงมีโอกาสทำผิด ทั้งนี้เพราะอำนาจอยู่ที่ไหน ความรับผิดชอบต้องอยู่ที่นั่นด้วย

มิตรแท้กับมิตรไม่แท้ต่างกันตรงว่า เราจริงใจต่อใครคนนั้นมาก เราเกรงใจเขามากยิ่งขึ้นตาม เก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดี แล้วอาจพบกันอีกก่อนตายจาก ส่วนมิตรอีก แบบหนึ่ง เพียงเจอไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอแล้ว

เรียกผู้ใดมาสั่งงานจะให้ไปรับตำแหน่งใหม่ ผู้นั้นตอบว่าได้โดยเร็ว และอ้ายโน่นก็ทำได้ อ้ายนี่ก็ง่ายละก็ เตรียมหาคนใหม่ไว้ได้ หากแต่คนใดหนักใจ ซักถามถี่ถ้วน เห็นความยากลำบาก เรานอนตาหลับได้

จะพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองได้ ต้องเริ่มจากให้คนไทยรักชาติเป็นเสียก่อน มีความจริงใจให้กันอีกทั้งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ถ้าไม่รู้ว่าตนเองเป็นใครแล้วจะรักชาติเป็น ได้อย่างไรกัน

ความนอบน้อมถ่อมตน ที่จะยิ่งทำให้ตนเองสูงในสายตาผู้อื่น นอกจากคนโง่เขลาเท่านั้นที่ดูไม่ออก

ทำให้มากกว่าพูด คือ พูดให้น้อยกว่าทำ สุขุม มีสติ ไม่ขี้โอ่ขี้คุยในภูมิปัญญา แล้วจะดีเอง

ผู้ใดไม่ถือเวลาเป็นสำคัญ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีหลัก เชื่อถือไม่ได้เพราะโลเล

ความมุ่งหมายของการปกครองทั้งอย่างเก่าอย่างใหม่ คือ ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกัน แต่ให้เข้าใจอธิบายคำที่ว่า อยู่เย็นเป็นสุขนั้น ผิดกับอย่างเก่าถือว่า ถ้าบ้านเมืองปราศจากภัยต่าง ๆ เช่น โจรผู้ร้าย เป็นต้น ก็เป็นสุข แต่ความคิดที่ว่าจะให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ต้องจัดการทำนุบำรุงในเวลาบ้านเมืองเป็นปกติด้วย เป็นคติที่เกิดขึ้นใหม่

”

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไข]