ข้ามไปเนื้อหา

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

จาก วิกิคำคม
ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2009)

ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย

คำกล่าวโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

[แก้ไข]
“ สิ่งแรกที่ผมอยากจะเรียนในนามพรรคประชาธิปัตย์ คือ เราขอน้อมรับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและขอขอบพระคุณคณะตุลาการที่ให้ความเป็นธรรมแก่พรรคประชาธิปัตย์ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พวกเรามีความกังวลกันพอสมควร

การทำงานที่ทำให้พวกเราผ่านพ้นทุกอย่างมาได้ในการยืนยันความบริสุทธิ์ของเรา ก็มาจากการทำงานที่หนักอย่างที่เรียกว่าผมไม่เคยเห็นมาก่อน ในการทำงานที่ประชุมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของคณะทำงานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณท่านหัวหน้าผู้ว่าคดี ท่านชวน หลีกภัย ผู้เตรียมคดีในช่วงต้น ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน และบุคคลซึ่งมาทำงานให้กับพวกเราโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ และเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง และมีฝีมือจากสำนักงานทนายความ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พี่บัณฑิต (นายบัณฑิต ศิริพันธ์) รวมทั้งพี่ทวีศักดิ์ (นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง) จากสำนักงานกฎหมายคนึง (คนึง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส) ครับ

ถ้าท่านได้ฟังคำวินิจฉัยในช่วงท้ายของคณะตุลาการฯ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา สิ่งนี้คือสิ่งที่พวกเราชาวประชาธิปัตย์จะต้องตระหนักและให้คำมั่นกับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำรงอยู่มาและดำรงต่อไป ได้นั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่และแบกความรับผิดชอบตามวิถีทางแนวทางอุดมการณ์ที่เราสืบทอดสืบสานกันมา คือการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และความซื่อสัตย์สุจริต

วันนี้เป็นวันที่พวกเราหลายคนรอคอย ผมอยากให้วันนี้เหมือนกับเป็นการปิดฉากเรื่องราวในอดีตที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความตึงเครียดในสังคมที่เกี่ยวกับคดียุบพรรค แต่จากพรุ่งนี้เป็นต้นไปเรามีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก นั่นก็คือการประคับประคองบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว เข้าสู่การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันให้เป็นประชาธิปไตยถึงที่สุด

เพราะความเชื่อพวกเรา อุดมการณ์ของเราเรื่องประชาธิปไตยมันอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ไม่มีใครแก้ปัญหาให้ประชาชนดีไปกว่าประชาชนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เรื่องเศรษฐกิจ ความไม่สงบ เป็นความเดือดร้อนที่ประชาชนทั้งประเทศเผชิญอยู่ และนับวันเราได้ยินเสียงทุกคนตั้งความหวังไว้ว่าเมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขให้เขาได้

นั่นคือภาระหน้าที่ของเราในฐานะพรรคการเมืองหนึ่งที่จะต้องนำพาประเทศไปข้างหน้าตั้งแต่วันนี้ และเราอยากจะให้ผู้มีอำนาจหลังจากคดียุบพรรคการเมืองต่าง ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองได้ทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ

ผมอยากจะบอกว่า พวกเราทุกคนจะทำให้ชัยชนะในคดี เป็นชัยชนะของประเทศไทยและคนไทยทุกคน

”
“ และการที่มีประชาชน จากหนึ่งคนหรือแสนคน ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาล แสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตนเอง พิจารณาตนเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีข้อสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดินรัฐบาลนั้น อาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือ เลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งคือ การทุจริตคอรัปชั่น จริงครับปัญหาเหล่านี้ มีกระบวนการทางกฎหมาย แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เขาไม่รอให้กฎหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า สำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมือง ที่เขาบอกว่า มันต้องสูงกว่าคนธรรมดา ”
“ คือถ้าคำว่า อีโง่ เป็นถ้อยคำ ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะให้พูด ว่าผมอย่างนี้ผมน้อมรับ และผมก็รู้แล้ว ต่อไปนี้ พจนานุกรม จะเล็กลงๆ เพราะหลายคำจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นคำว่า อีโง่ ไม่ว่าจะเป็นแรด หรือไม่ว่าจะเป็นกะหรี่ถ้าผมไปเรียกใครอย่างนั้นสิครับ ผมทำไม่ถูก แต่ผมไม่ได้ไปเรียก คุณก็จะยัดเยียดให้ผมเรียก แล้วเสร็จแล้ว สส. ผู้หญิงของผม ก็ถามคุณว่า แล้วคุณคิดว่าเป็นใคร คุณก็ยืนยันอยู่นั่นว่าต้องเป็นคนนั้น เพราะฉะนั้นต้องไปว่ากันเองครับ

แล้วผมยืนยันว่า ไม่มีหรอกครับพวกผม ที่จะไปดูหมิ่นสตรี และผมอยากจะเตือนว่า สิ่งที่พยายามจะมาเล่นงานผมนั่นแหละ กำลังไปตอกย้ำปัญหา หรือเรื่องสถานภาพสตรีในสังคม เพราะพยายามจะสร้างกระแสว่า ถ้าเป็นผู้หญิงตรวจสอบไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ นี่เป็นการทำลายสถานภาพสตรี ซึ่งวันนี้ต้องลุกไปมาบอกว่า เท่าเทียมกับผู้ชายทุกอย่าง

”
“ ใครได้ยินท่านนายกฯพูดสองสามวันก่อนไหมครับ "สี่ปีข้างหน้าถ้าเป็นนายกฯจะทำให้ประชาชนพึงพอใจ และจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสบายพระทัย " นายกฯทักษิณครับ คุณเป็นใครบังอาจพูดประโยคนี้ หรือคุณคิดว่าคุณบังอาจถวายบัตรทองได้ คุณพูดประโยคนี้ได้ พวกผมไม่ยอมรับ ”

คำปราศรัยหาเสียงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ที่สนามหญ้าหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช[1]


“ สิ่งแรกที่ผมอยากจะเรียนในนามพรรคประชาธิปัตย์ คือ เราขอน้อมรับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและขอขอบพระคุณคณะตุลาการที่ให้ความเป็นธรรมแก่พรรคประชาธิปัตย์ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พวกเรามีความกังวลกันพอสมควร

การทำงานที่ทำให้พวกเราผ่านพ้นทุกอย่างมาได้ในการยืนยันความบริสุทธิ์ของเรา ก็มาจากการทำงานที่หนักอย่างที่เรียกว่าผมไม่เคยเห็นมาก่อน ในการทำงานที่ประชุมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของคณะทำงานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณท่านหัวหน้าผู้ว่าคดี ท่านชวน หลีกภัย ผู้เตรียมคดีในช่วงต้น ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน และบุคคลซึ่งมาทำงานให้กับพวกเราโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ และเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง และมีฝีมือจากสำนักงานทนายความ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พี่บัณฑิต (นายบัณฑิต ศิริพันธ์) รวมทั้งพี่ทวีศักดิ์ (นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง) จากสำนักงานกฎหมายคนึง (คนึง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส) ครับ

ถ้าท่านได้ฟังคำวินิจฉัยในช่วงท้ายของคณะตุลาการฯ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา สิ่งนี้คือสิ่งที่พวกเราชาวประชาธิปัตย์จะต้องตระหนักและให้คำมั่นกับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำรงอยู่มาและดำรงต่อไป ได้นั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่และแบกความรับผิดชอบตามวิถีทางแนวทางอุดมการณ์ที่เราสืบทอดสืบสานกันมา คือการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และความซื่อสัตย์สุจริต

วันนี้เป็นวันที่พวกเราหลายคนรอคอย ผมอยากให้วันนี้เหมือนกับเป็นการปิดฉากเรื่องราวในอดีตที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความตึงเครียดในสังคมที่เกี่ยวกับคดียุบพรรค แต่จากพรุ่งนี้เป็นต้นไปเรามีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก นั่นก็คือการประคับประคองบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว เข้าสู่การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันให้เป็นประชาธิปไตยถึงที่สุด

เพราะความเชื่อพวกเรา อุดมการณ์ของเราเรื่องประชาธิปไตยมันอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ไม่มีใครแก้ปัญหาให้ประชาชนดีไปกว่าประชาชนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เรื่องเศรษฐกิจ ความไม่สงบ เป็นความเดือดร้อนที่ประชาชนทั้งประเทศเผชิญอยู่ และนับวันเราได้ยินเสียงทุกคนตั้งความหวังไว้ว่าเมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขให้เขาได้

นั่นคือภาระหน้าที่ของเราในฐานะพรรคการเมืองหนึ่งที่จะต้องนำพาประเทศไปข้างหน้าตั้งแต่วันนี้ และเราอยากจะให้ผู้มีอำนาจหลังจากคดียุบพรรคการเมืองต่าง ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองได้ทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ

ผมอยากจะบอกว่า พวกเราทุกคนจะทำให้ชัยชนะในคดี เป็นชัยชนะของประเทศไทยและคนไทยทุกคน

”

คำปราศรัยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ณ ที่ทำการพรรค หลังทราบผลพิพากษาคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[2]

“ และการที่จะมีประชาชนจะหนึ่งคนหรือจะแสนคน ลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเอง พิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีข้อสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนั้นอาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือการละเมิดสิทธิของประชาชน หรือเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งก็คือการทุจริตคอรับชัน จริงครับ ปัญหาเหล่านี้มีกระบวนการทางกฏหมาย แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เขาไม่รอให้กฏหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าสำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมือง ที่เขาบอกว่ามันต้องสูงกว่าคนธรรมดา มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง ท่านยกตัวอย่าง กรณีของเกาหลี นั่นแค่คิดนโยบายนะครับ ว่าจะต้องเปิดการค้าเสรี เอาเนื้อวัวจากอีกประเทศนึงเข้ามานะครับ คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เขาลาออกทั้งคณะ ผมว่าอายุรัฐบาลเขาสั้นกว่ารัฐบาลนี้นะครับ ตอนที่เขาตัดสินใจอย่างนั้น ใครเคยอยู่ในประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ในสหรัฐจะทราบครับ อย่าว่าแต่รัฐมนตรีเลยครับ ส.ส. ส.ว. บางทีมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว ลาออกครับ ”
“ ท่านนายกฯ (สมัคร สุนทรเวช) กลับไปตรองเถอะครับ สิ่งที่กระผมพูด ท่านเสียสละ ผมเสียสละ ผมเชื่อว่าผมอาจจะเจ็บกว่าท่าน โอกาสท่านกลับมามีมากกว่าผมครับ ทำเถอะครับ เพื่อบ้านเมืองสงบ สร้างบรรทัดฐานที่ดีครับ แล้วรัฐบาลที่กลับมาเนี่ย ไม่มีคนกลุ่มใดมาตั้งเงื่อนไขแล้วว่าต้องเป็นคนนั้นหรือไม่เป็นคนนี้ แต่รัฐบาลที่กลับมาต้องเก็บเกี่ยวบทเรียน 7 เดือนที่ผ่านมานี้ว่า ไม่ว่าจะมีเสียงข้างมากอย่างไร ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ต้องสร้างมาตรฐานให้สูงเข้าไว้ ประชาธิปไตยจะเดินไปข้างหน้า กระผมกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ แล้วนำข้อเสนอนี้ไปถึงท่านนายกฯ ท่านนายกฯอาจจะลุกขึ้นตอบผมปฏิเสธทันที ท่านก็ทำได้ครับ เป็นสิทธิ์ของท่าน พวกกระผมได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว แล้วบอกว่าพร้อมที่จะเสียสละตำแหน่งนี้ เพื่อมีโอกาสหาทางออกให้กับบ้านเมืองครับ กราบขอบพระคุณครับ ”

คำกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ พ.ศ. 2551

“ มันหมดเวลาโกหก มันถึงเวลาที่ต้องเปิดเผยความจริง เป็นความจริงที่ทุกฝ่ายต้องหันมาช่วยกันดูว่า แล้วเราจะหาคำตอบอย่างไร ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์เมื่อเช้า หรือเมื่อวาน บอกว่าควรจะยอมรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วก็ว่ากันไป ถามว่าฝ่ายผม หรือแม้กระทั่งผมไม่สามารถไปเดาใจท่านได้ จะเป็นผบ.ทบ. หรือเจ้าหน้าที่หลายคนที่เคยทำงานตอนนั้น หลายคนผมว่ามีหลายเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับ คอป. แต่เราก็ไม่ไปใช้วิธีบอกว่าเมื่อไม่ถูกใจเรา ก็แปลว่าเขาเลว ห้ามไปดู ห้ามไปสนใจ ความจริงแล้ว งาน คอป. นั้น ที่เสื้อแดงบอกห้ามเผยแพร่ไปยังชาวโลกนั้น ปรากฎว่า องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรของสหประชาชน องค์กรของสิทธิมนุษยชนระดับโลก เขาได้เห็นบทสรุปรายงานแล้ว และเขายังบอกด้วยว่า ควรที่จะผลักดันตามข้อเสนอแนะของ คอป. เพราะในช่วงที่ คอป. ทำงาน เขาเชิญบุคคลระดับโลกอย่างอดีตเลขาฯ สหประชาชาติ นายโคฟี่ อันนัน เขาเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศมาเป็นที่ปรึกษา มาช่วยทำงานด้วย ผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับ คอป. ทั้งหมดหรอกครับ แต่ผมบอกว่า ถ้ารัฐบาลจริงใจในการปรองดอง ต้องยอมรับเอารายงานฉบับนี้เป็นตัวตั้งแล้วมาคุยกันว่า จะเดินหน้าสู่ความปรองดองในประเทศนี้ได้อย่างไร ”
22 กันยายน พ.ศ. 2555 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี

[3]

“ จะให้ผมเดินเข้าไปแล้วออกเสียงว่าผมสนับสนุน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผมก็ทำไม่ได้ เพราะยิ่งใหญ่กว่ามติพรรคเสียอีก คือสัญญาประชาคมที่ผมให้ไว้กับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ”
5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ลาออกจากการเป็น สส. ก่อนลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

[4]

“ จากการพูดคุยเข้าใจตรงกันทุกอย่าง ได้เรียนรักษาการหัวหน้าพรรคจะขอถอนตัวจากการเป็นสมัครหัวหน้าพรรค ด้วยเหตุผลที่แจ้งให้ตนทราบ ผมขอลาออกจากสมาชิกพรรค ยืนยันกับทุกท่านที่นี่ผมไม่ไปพรรคอื่น กรีดเลือดมาก็เป็นสีฟ้าจนวันตาย เป็นลูกพระแม่ธรณี ที่จะเอาอุดมการณ์ประชาธิปัตย์ รับใช้บ้านเมือง วันข้างหน้า ถ้าในพรรคคิดว่าผมจะมีประโยชน์มาช่วยได้ ก็คงไม่ปฏิเสธ แต่วันนี้เพื่อให้ท่านที่มีสถานะ และจะมีอำนาจในการบริหารภาคต่อไปทำงานด้วยความสบายใจ ทำงานตามแนวทางอย่างเต็มที่ไม่ต้องหวาดระแวงเรื่องของผมหรือใครใดๆ ทั้งสิ้น ก็ขออนุญาตที่จะลาออก และถือโอกาสนี้ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนในห้องนี้และที่ไม่ได้อยู่ในห้องนี้ และเจ้าหน้าที่ของพรรคทุกคนที่ได้ทำงานให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ผมมีแต่ความปรารถนานะดีต่อพรรค และขอให้ผู้บริหารชุดใหม่ สามารถทำงานได้สำเร็จตามที่ท่านรักษาการหัวหน้าได้แจ้งผมเมื่อสักครู่ ขอบคุณมากครับ ”
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 อภิสิทธิ์ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ก่อนที่จะมีการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่

[5]

คำคมเกี่ยวับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

[แก้ไข]
  • คุณอภิสิทธิ์ เขาคิดทะลุกว่าผม ไกลกว่าผม เขามีจุดเด่นจากที่ผมรู้จัก คือมีความเป็นผู้นำที่ดีในแง่ของการเป็นนักคิดนักตัดสินใจที่เด็ดขาด เป็นนักฟังที่ดี รู้จักเลือกว่าฟังใครแล้วจะนำความคิดนั้นมาใช้หรือไม่ อย่างไร มองการณ์ไกลโดยไม่สนใจกระแสจนเกินไป ผมเองยังเอียงตามกระแสมากกว่าเขา
  • อย่างเช่นตอนที่พวกเราเสนอมาตรา 7 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ คุณอภิสิทธิ์เขามองว่าจำเป็นต้องทำขณะนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรัฐประหาร และมีอีกหลายครั้งที่เขามองเหตุการณ์ล่วงหน้า บอกกับผมและพวกเรา และมันก็เป็นตามนั้นจริงๆ
  • ส่วนจุดอ่อนที่มีภาพของ 'คนที่ไม่เคยทำงาน' เป็นภาพลบที่ไม่อาจแก้เป็นบวกได้ แต่แก้ให้ลบน้อยลงได้ เพราะความจริงก็คือคุณอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์ ผลงานหลายๆ อย่างในพรรคมาแล้ว ผมเชื่อว่าถ้าเขาได้เป็นนายกฯ การทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้น ครม.จะสำคัญมากขึ้น ซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะผมไม่เชื่อเลยว่านายกฯ ที่ดีจะต้องเก่งคนเดียว ทำคนเดียว[6]
    • กรณ์ จาติกวณิช
  • นายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่ฉลาดและน่าประทับใจมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมั่นใจว่านายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่กับทั้งอาเซียน[7]
    • คาริม รัสลัน
  • อภิสิทธิ์กลับมาเป็นรัฐบาลอีกจะมีประโยชน์อะไร ประชาชนโดนทอดทิ้ง ข้าวของยิ่งแพง คอร์รัปชั่นหนักกว่าสมัยทักษิณ
    • จิตตนาถ ลิ้มทองกุล
  • ผมเองก็รู้จักอาจารย์อภิสิทธิ์ในฐานะเพื่อนร่วมงาน ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้ ครั้งแรกที่เห็นอาจารย์อภิสิทธิ์ ก็เห็นในห้องประชุมวิชาการ ที่เรามีการ ถกเถียงปัญหาบ้านเมืองในแวดวงวิชาการ ปรากฏว่าผมเห็น เอ๊...เด็กหนุ่มคนนี้นะ คมคาย มีจุดยืนน่าสนใจ มีวิธีวิเคราะห์ มีความรู้ที่กว้าง
  • คน ๆ นี้ไม่ธรรมดา รู้สึกว่าไม่ธรรมดา ไม่ใช่ทั่ว ๆ ไป มานั่งในห้องประชุม พูดจาไม่ธรรมดา มันแหลมคม ลึก...แล้วก็กว้าง มีความรอบรู้ในตัวมาก แต่ที่ชอบที่สุดคือจุดยืน ฟังแล้วจุดยืนดี...ก็เริ่มไปกระซิบถามคนที่นั่งในห้องประชุม คน ๆ นี้เป็นใคร
  • ความโดดเด่น เป็นคนที่ปฏิภาณไว มีลำดับเหตุผลดีแล้วก็พูดเก่ง แล้วก็มีหลักการที่ไม่เอนไปเอนมาง่าย แต่ว่าไม่ปะทะซึ่งถ้าเป็นผม ผมชอบปะทะแต่เขาไม่ปะทะ ก็เป็นความเก่งความดี ผมคิดว่าถ้ามีนักการเมืองแบบนี้มาก ๆ ประเทศไทยคงดีขึ้น ก็แอบให้กำลังใจอยู่เท่านั้นเอง ถ้าหากมีนักการเมืองแบบนี้เต็มสภา ผมว่าประเทศไทยจะดีกว่านี้มาก ๆ
    • เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
  • “เมื่อคดีนี้ถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าคำสั่งปลดนายอภิสิทธิ์ถูกเพิกถอนไปแล้ว ที่ผ่านมาเป็นการออกคำสั่งที่รังแกกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ต่อจากนี้ก็ถือว่านายอภิสิทธิ์พ้นขวากหนามทางการเมืองไปแล้ว”
    • บัณฑิต ศิริพันธ์
  • เป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่ และเป็นพันธุ์ที่สังคมไทยต้องการ นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการจะต้องมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q. I.Q. (Intelligence Quotient) = มีพลังทางปัญญา E.Q. (Emotional Quotient) = มีพลัง หรือ วุฒิสภาวะทางอารมณ์ M.Q. (Moral Quotient) = มีพลังทางศีลธรรม
  • สังคมปัจจุบันมีความเชื่อมโยงและสลับซับซ้อนมาก คนที่จะทำงานการเมืองจะต้องมีปัญญาเข้าใจความซับซ้อนเหล่านี้ และต้องสามารถเรียนรู้ตลอดเวลา จึงจะทำงานได้ผล ผู้ใดจะมีปัญญาเท่าใดๆ แต่ถ้าขาดวุฒิสภาวะทางอารมณ์ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน คนที่ปราศจากศีลธรรม (M.Q.) ย่อมนำไปสู่ความล้มละลาย ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ตนเกี่ยวข้อง นักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่สังคมไทยต้องการ จึงควรจะมีทั้ง I.Q., E.Q. และ M.Q.[8]
    • ประเวศ วะสี
  • เราทำงานทุกอย่างไปตามกฎหมายไม่ใช่การเล่นการเมืองในเมื่อมีเรื่องร้องเข้ามาทางประธานวุฒิสภาก็ส่งมาที่ ป.ป.ช. และ ป.ป.ช. ก็ต้องดำเนินการไปตามหน้าที่ไม่ได้เลือกปฏิบัติหากป.ป.ช.ไม่ทำก็จะโดนละเว้น ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่ได้เลือกปฏิบัติไม่ใช่ทำแต่คดีของนักการเมืองข้างใดข้างหนึ่งพิจารณาทุกเรื่องที่มีการร้องเข้ามาอย่างกรณีที่ได้แจ้งข้อกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในเรื่องการสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ปี 2553 ก็ได้แจ้งข้อกล่าวหาไปแล้วเช่นกันอย่างไรก็ตามกรรมการป.ป.ช.ทุกคนไม่ได้รู้สึกท้อเพียงแต่เราต้องยืนยันว่าทำงานตามกฎหมายโดยไม่ได้เลือกปฏิบัติแล้วสังคมก็จะเห็นเอง
    • ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
  • ตกลงแล้ว ใครกันแน่ไม่ยอมลงสมัครรับเลือกตั้ง ใครไปชุมนุมสร้างกระแสสนับสนุนให้ทหารออกมายึดอำนาจ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ อย่ามาโทษว่าเป็นเพราะคนตระกูลชินวัตร ผมว่านายอภิสิทธิ์และพวกพ้องนั้นแหละ คือตัวสร้างเงื่อนไขทำลายประชาธิปไตยสนับสนุนให้มีการยึดอำนาจ ต้องเลิกดีแต่พูด เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นเสียที
    • วรชัย เหมะ
  • 20 ปีที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งมาตลอด ในขณะที่นายอภิสิทธิ์นำพรรคแพ้การเลือกตั้งมาตลอดเช่นกัน คนชนะจะไปลอกคนแพ้เพื่ออะไร นายอภิสิทธิ์ ไปเอาความมั่นใจมาจากไหน ถึงมากล่าวหาพรรคเพื่อไทยลอกนโยบาย ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ แข่งขันกันนำเสนอนโยบาย แล้วให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า ชอบนโยบายของพรรคไหนในวันเลือกตั้ง
    • อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
  • "ภาวะการนำของคุณอภิสิทธิ์เป็นแบบท้วงติง และตอบโต้(reactive) มากกว่าริเริ่มนำเสนออะไรใหม่ๆ (proactive) เพราะโดยพื้นฐานแล้ว คุณอภิสิทธิ์ ไม่ใช่คนชอบเสนออะไรที่ท้าทาย และแปลกใหม่ทางความคิด แต่ถ้ามีคนอื่นนำเสนอขึ้นมาก่อน คุณอภิสิทธิ์ จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบ"[9]
    • เอนก เหล่าธรรมทัศน์
  • ขอเชิญท่านทำความรู้จักกับนักอุดมการณ์ผู้อาจได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในตัวเก็งที่อาจชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม
  • กล่าวได้ว่าอภิสิทธิ์มีส่วนคล้ายคลึงกับ บิล คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ มากทีเดียว ข้อแตกต่างเพียงประการเดียวเห็นจะได้แก่ การที่อภิสิทธิ์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในประเทศที่นิยมใช้รถเทรลเลอร์กันอย่างแพร่หลายดังเช่นคลินตัน และแม้พรรคประชาธิปัตย์ จะได้รับการสนับสนุน จากชนชั้นกลางในเมืองหลวงรวมถึงชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศ แต่อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความพยายามอย่างสูง เพื่อชนะใจชาวชนบท แม้ว่าเขาจะเข้าใจถึงความยากลำบากของคนเหล่านั้นเป็นอย่างดีก็ตาม"[10]
    • ฮันนาห์ บีช

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. หนังสือ ประชาธิปัตย์ปราศรัย สำนักพิมพ์ politic press กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  2. หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 4-วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2550
  3. เวทีประชาชน "เดินหน้าผ่าความจริง หยุดคุกคามศาล หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดคิดล้มรัฐธรรมนูญ" ณ ลานโดม โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อ.เมือง จ.ลพบุรี (22 ก.ย. 55)
  4. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แถลงลาออกจากการเป็น ส.ส.
  5. “อภิสิทธิ์” ถอนตัวชิง หน.พรรค พร้อมลาออกสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
  6. กรณ์ จาติกวณิช มุมใหม่ประชาธิปัตย์
  7. Abhisit Vejjajiva - Karim Raslan, เรียกดูเมื่อ 7 พ.ย. 2550
  8. ๒ ปีกับรัฐมนตรี...อภิสิทธิ์
  9. อเนก เหล่าธรรมทัศน์, พิศการเมือง พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์ openbooks, พ.ศ. 2548.
  10. Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader? - นิตยสารไทม์