เพลโต

จาก วิกิคำคม
เพลโต

เพลโต (Plato) มีชีวิตอยู่ราว 428-347 ปีก่อนคริสตกาล เพลโตเกิดในตระกูลชั้นสูงในกรุงเอเธนส์ บิดาสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเอเธนส์ ส่วยมารดามาจากตระกูลนักการเมืองที่มีอำนาจในเอเธนส์ ในวัยเยาว์ เพลโตได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดในสมัยนั้นเพื่อเข้ามีส่วนรวมบริหารประเทศ แต่เมื่อรู้จักกับโสกราตีสและฝากตัวเป็นศิษย์แล้วติดตามฟังโสกราตีสเรื่อยมาจนโสกราตีสถูกประหารชีวิต ความฝันของเพลโตที่จะเป็นนักการเมืองก็เปลี่ยนไป เพราะ เหตุผล2 ประการ คือ เขาเห็นความเสื่อมทางการเมืองในเอเธนส์ที่เต็มไปด้วยการทุจริต และยิ่งโสกราตีสถูกประหารชีวิตโดยคำสั่งของรัฐ จึงทำให้เพลโตมองการเมืองเป็นเรื่องสกปรกและไม่เข้าร่วมกิจกรรม

คำคม[แก้ไข]

  • [หลังจากตาย] สิ่งที่เป็นตัวตนจริง ๆ ของเราแต่ละคน ซึ่งเรียกกันว่าวิญญาณอมตะจะออกจากร่างไปอยู่ต่อหน้าเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ... เพื่อให้การตามการกระทำของตน หากทำดีก็จะเผชิญหน้าได้อย่างกล้าหาญ แต่หากทำชั่วก็ต้องหวาดกลัวอย่างสุดแสน[1]
  • ข้าพเจ้าไปหาบุคคลหนึ่งซึ่งมีชื่อในทางภูมิปัญญา นึกว่าอย่างน้อยข้าพเจ้าก็ต้องพิสูจน์ ได้ว่าเทพดำรัสผิดและอาจตอบเทวพยากรณ์ว่า “นี่อย่างไรละ คนที่ฉลาดกว่าข้าพเจ้า ไหนว่าข้าพเจ้า ฉลาดที่สุดอย่างไรล่ะ” อย่าให้ข้าพเจ้าเอ่ยชื่อบุคคลนั้นเลย บอกได้แต่ว่าเขาเป็นประชาชนคนหนึ่งซึ่ง ข้าพเจ้าไปติดต่อด้วย จากการสนทนาก็ทราบได้ว่า คนอื่นๆ ส่วนมากย่อมเห็นว่าเขาฉลาด ยิ่งตัว เค้าเองด้วยแล้วย่อมเห็นว่าตนฉลาดอย่างยิ่ง แต่เขาหาใช่คนฉลาดไม่ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงแสดง ให้เขาทราบว่า ที่เขานึกว่าเขาฉลาดนั้นความจริงเขาหาได้ฉลาดไม่ ผลคือข้าพเจ้าถูกเขาเกลียด คนอื่น ๆ ที่อยู่ด้วยก็พลอยเกลียดข้าพเจ้า ฉะนั้น ขณะที่ข้าพเจ้าลุกออกไป ข้าพเจ้าคิดในใจ ว่า ”เราฉลาดกว่าเจ้าหมอนั่น เพราะเราต่างคนก็ไม่รู้อะไรจริงเกี่ยวกับความงามความดี แต่ เขาคนนั้นนึกว่าตนเองรู้ในขณะที่ไม่รู้ส่วนเราไม่รู้อะไร และเราก็รู้ว่าเราไม่รู้” ละจากบุคคลผู้ นั้นไปแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปหาอีกคนหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อว่าฉลาดยิ่งไปกว่านั้นอีก และก็เกิดผลดังนั้น และ ข้าพเจ้าก็กลายเป็นที่เกลียดชังของบุคคลทั้งสองและคนอื่น ๆ อีกมาก หลังจากนั้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ไป หาผู้อื่นอีกทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าถูกเกลียด ทั้งเสียใจและกลัวแต่ก็เห็นว่าเรื่องของเทพเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ข้าพเจ้าจึงจำต้องหาความจริงเกี่ยวกับเทวพยากรณ์ ด้วยการไปสู่สำนักแห่งท่านผู้ซึ่งได้ชื่อว่ามี ความรู้[2]

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. หนังสือ Plato—Laws เล่ม 12
  2. เปลโต, "อโปโลเกีย," ใน โสกราตีส ส.ศิวรักษ์แปลและเรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2010), หน้า 114- 15.; Plato, "Apology," in Euthuphro, Apology, Crito, Phaedo, Phaedrus (Cambridge: Havard University Press, 2005), pp. 81-83