โคลงโลกนิติ

จาก วิกิคำคม

โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก

เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป

โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ , ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

คำสอน[แก้ไข]

 
170.
ปฐพฺยา มธุรา ติณี อุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ
อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติ น ตปปติ สุภาสิตํ
ไม่ปรากฏที่มา
 
 รสหวานในโลกนี้ มีสาม
หญิงรูปบริสุทธิ์งาม อีกอ้อย
สมเสพรสกลกาม เยาวโยค
หวานไป่ปานรสถ้อย กล่าวเกลี้ยงไมตรี
สำนวนเก่า
 
 หวานใดในโลกนี้ มีสาม สิ่งนา
หวานหนึ่งคือรสกาม อีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทราม สารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อย กล่าวเกลี้ยงคำหวาน
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไข]

w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ