ข้ามไปเนื้อหา

สามก๊ก

จาก วิกิคำคม
ภาพลายเส้นวรรณกรรมสามก๊ก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา[1]และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน บทประพันธ์โดยหลอกว้านจง

ตัวอย่างคำคม

[แก้ไข]
“ ธรรมดานกก็ย่อมอาศัยป่าซึ่งมีผลไม้มากจึงเป็นสุข ประเพณีขุนนางทำราชการ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมแล้วก็มีความสุข ”
ลิซกกล่าวกับลิโป้


“ ตัวเรานี้อุปมาเหมือนทำนาตกกล้าลงแล้วฝนแล้งกล้านั้นใบแดงไป ซึ่งท่านมาหาเราบัดนี้เหมือนฝนตกลงห่าใหญ่ น้ำท่วมต้นกล้าชุ่มชื้นขึ้นใบนั้นเขียวสดขึ้น ”
ตั๋งโต๊ะกล่าวกับลิโป้


“ ท่านอุปมาดั่งนกน้อย เป็นไฉนจึงจะมาล่วงรู้พญาครุฑ ”
โจโฉกล่าวกับตันก๋ง


“ ตัวข้าอุปมาเหมือนหนึ่งกา จะมาเปรียบกับพญาหงส์ไม่ควร อนึ่งม้าอาชากำลังน้อย หรือจะมาเปรียบพญาราชสีห์ได้ ”
ชีซีกล่าวสรรเสริญขงเบ้งให้เล่าปี่ฟัง


“ อันตัวข้าพเจ้านี้ถึงตายก็จะเอาโลหิตทาแผ่นดินไว้ให้ปรากฏ จะขอสนองคุณท่าน ”
จูล่งกล่าวกับเล่าปี่


“ เล่าปี่ครั้งนี้อุปมาเหมือนปลาขังอยูาในถัง เสือตกอยู่ในหลุม ถ้าแลจะละเสียให้เล็ดลอดหนีไปได้บัดนี้ ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงมหาสมุทร ทหารทั้งปวงจะช่วยกันเขม้นขะมักจับตัวเล่าปี่ให้จงได้ ”
โจโฉสั่งให้ทหารโจมตีกองทัพเล่าปี่


“ ธรรมดาผู้มีปัญญาอันพิสดาร แม้จะคิดการสิ่งใดก็ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญาน้อยหาหยั่งรู้ถึงตลอดไม่ อุปมาเหมือนพญาครุฑ แม้จะไปทิศใดก็ย่อมบินโดยอากาศอันสูงสุดสายเมฆ มิได้บินต่ำเหมือนสกุณชาติซึ่งมีกำลังน้อย อันผู้มีสติปัญญาน้อยนั้นก็เหมือนนกทั้งปวงที่มีกำลังอันน้อย มิอาจบินสูงเสมอพญาครุฑได้ ”
ขงเบ้งกล่าวกับเตียวเจียว


“ แสวงหามิไช่เพราะรอคอย เชียวชาญมิไช่เพราะโอกาส สามารถมิไช่เพราะโชคช่วย ดังนี้เเล้วลิขิตฟ้ารึจะสู้มานะตนคำพูด ”
ขงเบ้ง


อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. การแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 20

ดูเพิ่ม

[แก้ไข]